ว.ฉ.เก่า กับ ว.ฉ.ใหม่สมัยปัจจุบัน
การเปรียบเทียบความพร้อมของอาคารสถานที่ของวรนารีเฉลิมแต่เดิม กับอาคารสถานที่ในสมัยปัจุบัน
เป้าหมายของผู้เปรียบเทียบมีความต้องการอะไรเป็นพิเศษ นอกเหนือจากการบ่งบอกให้เห็นอย่างชัดเจน
ว่า"ได้มีการทุ่มเทงบประมาณ"ส่วนใหญ่ไปในด้านอาคาร ด้านที่พุทธศาสนาเรียกว่า "วัตถุ" นั่นเอง
สมัยก่อนการบริหารงบประมาณ ได้มีการกระจายงบประมาณไปยังฝ่าย งาน กลุ่มสาระฯ อย่างทั่วถึง
เน้นกลุ่มสาระวิชาเป็นสำคัญ หรือเน้นด้านวิชาการนั่นเอง ฝ่ายอาคารก็มีงบประมาณส่วนหนึ่งที่ได้จาก
การประชุมจัดสรรงบประมาณ เหมือนกับฝ่ายอื่น ๆ
การเปลี่ยแปลงด้านกายภาพ(ด้านวัตถุ)เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ให้สอดรับกับการส่งเสริมด้านคุณภาพด้านวิชาการ หรือคุณภาพด้านผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน และด้านพฤติกรรมที่ดีของนักเรียน ของฝ่ายปกครอง
กลุ่มสาระวิชามีงบประมาณ แต่เดิมในสมัยที่มีการขายหนังสือแบบเรียน ร้านหนังสือก็ให้เปอร์เซ็นต์
เล็ก ๆ น้อย ๆ กับกลุ่มสาระวิชาเอาไว้ จับจ่ายใช้สอย เช่น หมึกพริ้นเตอร์หมด ก็อาจจะนำเงินส่วนนี้
ไปจัดซื้อมา เป็นต้น ถือเป็นกำลังให้กลุ่มสาระเพราะแต่เดิมกลุ่มสาระมีการจัดกิจกรรมด้านส่งเสริมวิชาการมากเช่นสัปดาห์วิชาการ มีการตอบปัญหา แข่งขันกันเป็นระดับชั้น เป็นต้น
ซึ่งถ้าเรามองให้ทะลุปรุโปร่งแล้ว ก็จะเห็นว่า ว.ฉ.เก่า กับ ว.ฉ.ปัจจุบัน มันมีปัจจัยต่างกันลิบลับ
ด้วยประการฉะนี้
17 พย 2554
ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่บรรดาศิษย์เก่าของพวกเรา ได้เดินทางมาเยี่ยมเยียน ซึ่งเกิดจากการประจวบเหมาะ
กับภาวะน้ำท่วมกรุงเทพฯ ทำให้มหาวิทยาลัยปิดยาว นิสิตหนีน้ำเดินทางกลับบ้านกันเป็นส่วนใหญ่ อาศัยโอกาสนี้ นัดหมายกันมาเยี่ยมเยียนสถาบันอันเป็นโรงเรียนเก่าของพวกเขา
อีกประการหนึ่งได้มีโอกาสร่วมถวายบังคมพระรูป และร่วมแสดงความปิติยินดีในโอกาสที่ "สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า"ได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกโดยองค์การยูเนสโก ในฐานะที่ทรงเป็นบุคคลสำคัญที่มีผลงานด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (สาธารณสุข) วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
นับเป็นบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทยลำดับที่ 21 ด้านกระทรวงวัฒนธรรมพร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมเสนอรัฐบาลจัดงานเฉลิมฉลองวาระ 150 ปี ทั้งระดับชาติและนานาชาติ ในฐานะที่ได้ทรงงานอันเป็นคุณูปการแก่สังคมไทย และเป็นแบบอย่างที่ได้รับการยกย่องในระดับนานาชาติ
ศิษย์เก่าเดินเยี่ยมเยียนคณาจารย์ไปตามกลุ่มสาระวิชาต่าง ๆ ก่อนแยกย้ายกันกลับไป ก่อนกลับก็เข้าพบผู้บริหารโรงเรียน เพื่อเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการบางเรื่องบางราว เพื่อให้โรงเรียนมีบรรยายกาศ เรียนดี มีความสุข ตามหลักนักเรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับวิถีการปกครองประชาธิปไตย
เพราะพวกเขาคือศิษย์เก่าของโรงเรียนของเรา พวกเขาไม่ใช่ "คนนอก" แต่ประการใด สำหรับศิษย์เก่า
เสนอแนะเรื่องอะไรบ้าง พวกเราในฐานะส่วนหนึ่งของโรงเรียน ก็ย่อมมีสิทธิได้รับทราบข่าวสารข้อมูลของ
องค์กรของพวกเราอยู่แล้ว (ใครรู้บ้างเอ่ย)
18 พย 2554
วันนี้โรงเรียนหยุดเป็นการภายในหนึ่งวัน เพราะได้ประกาศเอาไว้แล้วในช่วงเช้าของวันที่ 17 พย 2554
สาเหตุการหยุดนั้นเท่าที่ผู้เขียนทราบ ก็คือให้ครูทั้งหมดได้เข้ารับการอบรมคอมพิวเตอร์ ส่วนจะอบรมหลักสูตรอะไรผู้เขียนก็ยังไม่รู้แจ้ง แต่กะว่าน่าจะเป็นการอบรมให้ครูเรามี Username และ password สำหรับการใช้ห้องสื่อ 131 เป็นหลัก ช่วงบ่ายได้ทราบข่าวจากผู้่เข้ารับการอบรมอีกห้องหนึ่งว่าให้ครูสมัครอีเมล์
สมัคร Facebook และเห็นว่ากะให้ครูเล่น Skype ได้
อันนี้ผู้เขียนมีความเห็นโดยสุจริตใจว่า สื่อที่เรียนว่า Social Network เหล่านี้ เราควรจะสนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรของเราทำได้น่าจะสักสามปีที่ผ่านมาโน้นแหละ แต่ก็เพราะเรามีการมองสื่อ Social Network ในทางลบ จึงปิดกั้นไม่ให้บุคลากรเข้าถึงเช่น Facebook และ Youtube แต่ปิดกั้นอย่างไร ก็ยังมีช่องทางให้ผู้ใช้เข้าใช้จนได้ เพราะ Youtube มีคุณประโยชน์เป็นอย่างมากในการที่จะหาสื่อโดยเฉพาะสื่อการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ยกตัวอย่างอยากจะผลิตสื่อเรื่องประวัติอาเซียน
บางครั้งเราไม่จำเป็นต้องจัดทำ หรือสร้างด้วยตนเอง แต่สื่อพวกนี้มันมีอยู่แล้วใน Youtube แค่เราคีย์คำว่า
"คลิป ASEAN" ลงใน Google เท่านั้น ก็จะมีคลิปที่จัดทำเอาไว้แล้วให้เราเลือกมากมาย เช่นการ์ตูนอาเซียน ของกระทรวงการต่างประเทศเป็นต้น ซึ่งทำไว้ได้ดีที่สุด สมบูรณ์แบบ และนักเรียนชื่นชอบเพราะ
นำเสนอในรูปแบบของการ์ตูน
คราวนี้พอบุคลากรของพวกเราต้องการจะดาวน์โหลดคลิปเหล่านี้ เก็บไว้ในโน๊ตบุ๊ตของตนเอง จะทำอย่างไร เราก็น่าที่จะมีการแนะนำ Trick เล็ก ๆน้อย ๆ เหล่านี้ให้บุคลากรของเรารับทราบ หรือมีซอฟท์แวร์
ที่ใช้ดาวน์โหลดคลิปจาก Youtube แต่เดี๋ยวนี้หากซื้อคอมฯใหม่ ๆ ร้านเขาจะติดตั้งมาให้เราแล้วครับ
เราเรียกว่า "IDM" (Internet Download maneger) แต่ถ้าไม่มีเราก็น่าจะมีบริการซอฟท์แวร์นี้ให้นะครับ
เพราะครูสามารถดาวน์โหลดคลิปที่เป็นสื่อการสอนได้อย่างสะดวกง่ายดายและเกิดคุณประโยชน์แก่นักเรียน อย่างจริงจัง สมกับคำว่า "นักเรียนเป็นสำคัญ"จริงไหมค๊ะ
อยากเสนอแนะอีกประการหนึ่งนะครับ ว่าทำอย่างไรให้บุคลากรได้มีการผลิตสื่อกันเยอะ ๆ แล้วนำไป
ขึ้น Server โรงเรียน เว็บไซต์โรงเรียนเมื่อมีบุคลากรกลุ่มสาระวิชาแล้ว มีสื่อการสอนของบุคลากรเอาไว้ด้วย เพราะขณะนี้การพัฒนาด้าน Social Network เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีการแข่งขันกันให้บริการผู้ใช้ฟรี ๆ ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น Blogger,wordpress เป็นต้น เมื่อสร้างได้แล้วเราแค่นำ URL ไปพ่วงเอาไว้กับเว็บไซต์ของโรงเรียน แค่นี้ก็ทำให้เว็บไซต์ของโรงเรียนมีสื่อการสอนของบุคลากรผู้สอน
เรียบร้อยแล้วล่ะค่ะ
นั่นหมายความว่า หากบุคลากรของเรามีเว็บประจำวิชา เป็นของตนเอง มีแบบทดสอบออนไลน์ มีใบความรู้เอาไว้เว็บของตนเอง นักเรียนติดต่อครูได้ทางโทรศัพท์ ทาง Chat ทาง Facebook หรือทาง Skype ก็จะทำให้บุคลากรและนักเรียนได้ก้าวหน้าพัฒนาเพิ่มขึ้นได้อีกทางหนึ่งด้วย เพื่อก้าวย่างไปสู่การเรียนรู้ในยุค worldclassได้ไม่มากก็น้อย
หวังดีค่ะ
!!!การุณย์ สุวรรณรักษา สังคมศึกษาฯ วรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา!!
- หน้าแรก
- รายการสั่งงานวิชาก้าวทันโลกศึกษา 1 ส 31221 (การปกครองของไทย)
- รายการสั่งงานวิชาประวัติศาสตร์ ส 32104
- เนื้อหาวิชาวิชาประวัติศาสตร์ไทย ส 32104 ชั้น ม.5
- นักเรียน ม.5 ส่งงานที่นี่(ไม่ใช้ในภาคเรียนที่ 1/2555)
- นักเรียน ม.4 ส่งงานที่นี่ (ไม่ใช้ในภาคเรียน 1/2555)
- รวมบทความ คำกลอน ข้อคิดสอนใจ
- คลิปคุณธรรมกับบทกลอนสอนใจ
- เนื้อหาวิชาก้าวทันโลกศึกษา 1 ส 31221
- เนื้อหาสาระวิชาก้าวทันโลกศึกษา 2 (กฎหมายที่ประชาชนควรรู้)
- เว็บบอร์ด
- เล่าสู่กันฟัง
- รายการสั่งงานวิชาก้าวทันโลกศึกษา 2 ภาคเรียนที่ 2/2554 ชั้น ม.4
- software
- Trick สำหรับคุณครูคลิกที่นี่จ้า
- บุคคลสำคัญของชาติไทย
- รหัสข้อสอบชั้น ม.4 และ ม.5
- นักเรียนทำข้อสอบที่นี่
- คลิปความรู้เกี่ยวกับ ASEAN
- แผนที่เวลาโลก
- รวมข่าวชาวครู...นานาสาระที่ครูควรรู้
- นักเรียนชั้น ม.4 เข้าศึกษาเนื้อหาวิชาการปกครองของไทย ที่นี่
- รวมแบบทดสอบ 8 กลุ่มสาระ คลิกที่นี่
- krutube
- คลิกเข้าทำแบบทดสอบออนไลน์ที่นี่
- ม.4 คลิกเรียนวิชาวิถีไทยศึกษา 2 ที่นี่
นักเรียนทุกคน ช่วยตอบแบบสอบถามนี้ด้วยค่ะ
ดูทีวีครูเรียนรู้วิทยายุทธ
Subscribe Now: Feed Icon
ปฏิทินบทความรายเดือนของครูการุณย์
- ตุลาคม (1)
- กันยายน (1)
- สิงหาคม (1)
- กรกฎาคม (1)
- มิถุนายน (3)
- พฤษภาคม (5)
- เมษายน (1)
- มีนาคม (3)
- กุมภาพันธ์ (1)
- มกราคม (6)
- ธันวาคม (2)
- พฤศจิกายน (2)
- ตุลาคม (4)
- กันยายน (1)
- สิงหาคม (6)
- กรกฎาคม (3)
- มิถุนายน (10)
- พฤษภาคม (5)
- เมษายน (8)
- มีนาคม (5)
- กุมภาพันธ์ (10)
- มกราคม (2)
- ธันวาคม (4)
- พฤศจิกายน (6)
- ตุลาคม (3)
- กันยายน (5)
- สิงหาคม (2)
- กรกฎาคม (12)
- มิถุนายน (12)
- พฤษภาคม (17)
- เมษายน (1)
- มีนาคม (19)
- กุมภาพันธ์ (5)
- มกราคม (6)
- ธันวาคม (8)
- พฤศจิกายน (12)
- ตุลาคม (27)
- กันยายน (8)
- สิงหาคม (5)
- กรกฎาคม (9)
- มิถุนายน (5)
- พฤษภาคม (50)
- เมษายน (3)
- มีนาคม (8)
- พฤศจิกายน (4)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น