Krukaroon: พฤษภาคม 2012

!!!การุณย์ สุวรรณรักษา สังคมศึกษาฯ วรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา!!

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ส่วนที่ ๑๐ สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน

                          ภาพจาก http://data5.blog.de/media/584/3176584_0d50f8f4dc_l.jpg
 

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

มาตรา ๕๖ (สิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ)

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบ ครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชนหรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๕๗ (สิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐ)

บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการ พิจารณาในเรื่องดังกล่าว
การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนิน การ

มาตรา ๕๘ (สิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐ)

บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการ ปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน

มาตรา ๕๙ (สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์)

บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันรวดเร็ว

มาตรา ๖๐ (สิทธิที่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐ)

ข้อมูลจาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

 

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปล่อยสัญญาณ wireless ให้ครูใช้แล้วจ้า



         ดีใจกับเพื่อนครูทุกท่านครับ เรื่องสัญญาณ wireless ของโรงเรียนที่เปิดให้ครูได้ใช้กันอย่างสะดวก ไม่ปิดกั้นหรือล็อคสัญญาณ โดยครูไม่รู้ password ของ wireless ตามอาคารต่าง ๆ เมื่อครูเคลื่อนย้ายห้องสอน จากห้องกลุ่มสาระวิชา ไปสอนอีกอาคารเรียนหนึ่งก็จะเกิดปัญหาเข้าใช้อินเตอร์เน็ตไม่ได้ทันที ทำให้มีความรู้สึกอึดอัดกันมานานพอสมควร  โดยเฉพาะคุณครูที่ใช้ระบบการสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ต้องไปลงทุนซื้อ aircard มาใช้เองช่างน่าเห็นใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเรื่องนี้กระผมได้พยายามเรียกร้องมานานแล้ว เพื่อประโยชน์แห่งการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนและคุณครูชาวเราทุกคน  แต่ไม่ได้รับการสนองตอบแต่ประการใด
         ต้องขอขอบคุณคณะหัวหน้ากลุ่มสาระ โดยเฉพาะหัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ ที่รับตำแหน่งใหม่
และนำข้อเสนอแนะของกระผมเรื่องสัญญาณ wireless ไปร้องขอในที่ประชุมคณะกรรมการวิชาการ  จนนำมา
ซึ่งการปล่อยสัญญาณให้ครูได้ใช้ในการเรียนการสอน และสืบค้น ในการผลิตสื่อการสอนกันอย่างสะดวก
นี้แหละคือหนทางสู่การสร้างให้ผู้เรียน มีสมรรถนะด้านที่ 5 คือด้านการใช้เทคโนโลยี หมาะสมกับการก้าวสู่
โรงเรียนมาตรฐานสากล และเตรียมความพร้อมสู่อาเซียน กันอย่างจริง ๆ และสอดคล้อง
        ขอขอบคุณที่ปล่อยสัญญาณ wireless ในครั้งนี้แม้จะล่าช้าไปพอสมควร กว่าจะเปิดโอกาสให้ครูได้ใช้
กัน  แต่ยังดีกว่าไม่เปิดโอกาสให้ครูได้ใช้กันเลย นั่นหมายถึงการพัฒนาความรู้เกิดอุปสรรคอย่างแน่นอน
ข้อเสนอแนะที่กระผมเสนอแนะมาตั้งแต่ต้นนั้น ตั้งอยู่บนหลักของเหตุผลที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาวเรา
ทั้งหลายพร้อมหน้ากัน มิได้เสนอแนะเพื่อประโยชน์ของตนเองแต่ประการใด



                                                                                ขอได้รับความขอบคุณ

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ข้อปฏิบัตินักเรียน ม.4/6-4/14 ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2555




สวัสดีครับนักเรียน
เนื่องจากปัจจุบันนี้มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก จนเกิด social network ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกันระบบการศึกษาก็มีการปฏิรูปยกระดับให้นักเรียนก้าว สู่ความเป็นพลโลก ตามแนวโรงเรียนมาตรฐานสากล เน้นในการพัฒนาพลเมืองให้มีคุณภาพรองรับการแข่งขันกันอย่างจริงจังในปี พ.ศ.2558 ในกลุ่มเพื่อนประเทศอาเซียนด้วยกัน
การใช้ facebook เข้ามาเป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ผู้สอนมีความเชื่อว่าสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนใช้ social network โดยเฉพาะ facebook ให้เกิดประโยชน์เปลี่ยนทรรศนะคติของผู้ที่มองแต่ผลเสียของ facebook แต่เพียงด้านเดียว
1. ขอบข่ายวิชา
2. วิธีการเรียน
  • เรียนในห้องเรียนปกติเรียนรู้ด้วยตนเองจากบล็อคประจำวิชา http://karoonpolitical.blogspot.com
  • สมัครอีเมล์ของ gmail ที่ www.gmail.com
  • สมัครเป็นสมาชิกของ facebook ที่ www.facebook.com ใช้เพื่อการเรียนวิชานี้
  • สร้างบล็อคจาก www.blogger.com คนละ 1 บล็อค
  • ทำแบบทดสอบออนไลน์แบบไม่บันทึกคะแนน
  • ทำแบบทดสอบออนไลน์แบบบันทึกคะแนน โดยให้สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์นี้ทุกคนwww.exam.in.th เสียก่อน จึงเข้าทำแบบทดสอบได้
  • การทำรายงานนำส่งทางบล็อคส่งโดยคลิกส่งจากบล็อค http://karoonpolitical.blogspot.com หัวข้อนักเรียนส่งงาน

3. กติกา
ใน social network ของนักเรียนทุกชนิด ห้ามใช้คำหยาบหรือคำที่ไม่สุภาพ คำที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย โดดเด็ดขาด

4. โดยสรุปนักเรียน 1 คน ต้องมีอุปกรณ์ Socialmedia ดังนี้

4.1 อีเมล์ 1 account แนะนำให้ใช้ gmail
4.2 facebook 1 account
4.3 Blog หรือเว็บล็อค คนละ 1 บล็อค แนะนำให้ใช้ Blogger (ควรใช้ username และpassword เดียวกันกับ facebook)
4.4 สมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ www.exam.in.th(ควรใช้ username และpassword เดียวกันกับ facebook)
4.5 อัพโหลดภาพถ่ายเฉพาะส่วนหน้าอกขึ้นไปในชุดเครื่องแบบนักเรียน ให้เป็นรูปประจำตัว (หากใช้ภาพอื่นจะไม่อนุญาตให้เข้ากลุ่มเด็ดขาด)
***ชื่อของนักเรียนตอนสมัคร Socialmedia แต่ละอย่างให้ใช้ดังนี้ ตรงชื่อให้ต่อท้ายด้วยตัวเลขห้องเรียน เช่น ชื่อวินัย เขียวจีน ม.4/7 เวลากรอกตอนสมัครให้ใช้วินัย47 ครูจะได้ทราบว่าวินัย อยู่ห้อง 4/7 ครูจะจัดเข้ากลุ่ม 4/7 ได้ง่ายยิ่งขึ้นครับ

คำถามที่พบบ่อย

1. แล้วนักเรียน ม.4 ห้องไหนบ้าง ที่ต้องทำตามข้อ 4.1-4.5 ตอบคือนักเรียนที่เรียนกับครูการุณย์ สุวรรณรักษา ได้แก่ ม.4/6-4/14 ครับ
2. จะเริ่มทำจากข้อ 4.1-4.5 ตั้งแต่เมื่อไหร่ ตอบเริ่มทำตั้งแต่ 16 พ.ค 55 -16 มิ.ย 2555
3. รูปถ่ายไม่ใส่เครื่องแบบนักเรียนได้ไหม  ตอบ ไม่ได้ค่ะ
4. ไม่ใส่ภาพถ่ายได้ไหม  ตอบ ไม่ได้ค่ะ 
5. ถ้าทำไม่เป็นจะทำยังไง  ตอบ ไปพบครูที่ห้องกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ(ห้อง 421) โดยโทรนัดหมายก่อนตามเบอร์นี้ 081-9690238


วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


     มีขั้นตอนโดยสรุปดังนี้

1. สมัครอีเมล์ แนะนำ Gmail.com (อีเมล์อื่นก็ใช้ได้ครับ) วิธีการสมัครคลิกที่นี่ 

2. สมัคร facebook วิธีการสมัคร คลิกที่นี่ 
3. ให้รับเพื่อนไว้ในขั้นต้นอย่างน้อย 1 คนก่อน
4. เข้าที่เว็บ Docs.com วิธีการทำโดย krusak  คลิกที่นี่ครับ(ให้ดูในส่วนอัพเดทเพิ่มเติม)
5. สมัครเป็นสมาชิก Docs.com

6. ขั้นต่อไปสร้างกลุ่มนักเรียน เข้าเว็บ www.facebook.com/group  ดูวิธีการด้านล่างหรือ
    คลิกที่นี่ 

7. ตั้งชื่อกลุ่มเช่น ม.4/1  แล้วเพิ่มสมาชิกเข้ากลุ่มเอาไว้อย่างน้อย 1 คน จึงคลิกสร้าง
8. ตรงแถบด้านซ้ายมือ ให้มองหากลุ่มที่เราสร้าง คือ ม.4/1 ให้เราคลิกตรงนี้แหละ
9. แล้วดูตรงด้านบนจะมีคำว่า Docs หรือ คำว่า "เอกสาร" ปรากฎอยู่
10. ให้คลิกตรงคำ
ว่า Docs หรือ คำว่า "เอกสาร"
11. ใส่ไตเติ้ลหรือหัวข้อเรื่อง แล้วพิมพ์ หรือคัดลอกบทความ ใส่รูปภาพลงในกรอบด้านล่าง
12. คลิกที่ create docs  เป็นอันได้บทความที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว เผยแพร่ใน ม.4/1
13. หากต้องการแก้ไข เพิ่มเติมข้อความ ให้คลิกตรงไตเติ้ล แล้วแก้ไขเพิ่มเติม
14. แก้ไขเสร็จแล้ว ให้คลิกที่คำว่าา Save เป็นอันเรียบร้อยครับ
ด้านล่างนี้อธิบายการสร้างกลุ่มหรือ Group 
       
การใช้ Facebook เพื่อการเรียนการสอน คลิกเลย


                       การสร้าง Group นักเรียนใน facebook

   กรณีต้องการนำเอา social network โดยเฉพาะ Facebook มาใช้ในการใด ๆ ภายในกรุ๊ปหรือกลุ่มนักเรียนที่เราเป็นผู้สอน  เช่น
     -เอกสารการสอน ที่ต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ (ไม่ต้องพริ้นซีทอีกต่อไป) โดยผ่าน Docs ของ Facebook 
     -แจ้งข่าว สั่งงาน ภายในกรุ๊ป โดยมองเห็นเฉพาะคนที่เราอนุญาตและรับเข้าเป็นสมาชิกเท่านั้น
คนทั่ว ๆ ไปมองไม่เห็น (แต่ถ้าต้องการให้คนทั่วไปมองเห็นด้วยก็สามารถทำได้)
     -เป็นห้องสนทนาของสมาชิกในกรุ๊ปเดียวกัน โดยไม่มีคนภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่พูดคุยหรือ
Chat กันได้เมื่อสมาชิกออนไลน์และเข้าห้องของกรุ๊ปในวัน เวลาเดียวกันครับ 
  -เป็นกระดานข่าว หรือเว็บบอร์ดของสมาชิกภายในกรุ๊ป
 วิธีการทำเข้าลิงก์นี้เลยครับ http://ninkungz.exteen.com/20101101/facebook

              ตรงนี้เท่าที่กระผมได้ทำแล้ว คิดว่าสามารถใช้ facebook ให้เกิดประโยชน์เพื่อพัฒนาคุณภาพด้านผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนได้ส่วนหนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เฉพาะในห้องเรียนแต่เพียงอย่างเดียว  อีกอย่างจะได้เสริมสร้างให้นักเรียนได้ใช้ Facebook ในทางสร้างสรรค์ การใช้คำพูดหรือภาษาให้ถูกหลักภาษาไทย
             เราสามารถสร้างกรุ๊ปเป็นแบบปิด หรือแบบลับ โดยที่บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้ามาในกรุ๊ปของเราได้ เพราะผู้สอนเป็นคนอนุญาตและตรวจสอบว่าจะอนุญาตให้ใครเป็นสมาชิกกรุ๊ป หรือสามารถ
สล้ดหรือเตะโด่งสมาชิกให้ออกจากกรุ๊ป กรณีที่สมาชิกคนนั้นพูดภาษาหยาบคายหรือทำให้กรุ๊ปวุ่นวาย
             อีกทั้งสมาชิกในกรุ๊ปสามารถสนทนาในรูปแบบห้องสนทนา หรือ Chat กันภายในกรุ๊ปได้
             เรา(ผู้สอน) อาจจะสร้างกรุ๊ปเป็นรายห้องตามที่เราสอน แล้วให้นักเรียนในห้องเป็นสมาชิก
และอาจจะสร้างกรุ๊ปรวมของลูกศิษย์ของเราทั้งหมดทุกห้องที่สอนครับ
             โดยสรุปผู้เขียนเห็นว่าใช้ได้ดี โดยเฉพาะขณะนี้มี Docs  Facebook สามารถสร้างเอกสารต่าง ๆ ใน facebook ได้ เหมือนเราพิมพ์ด้วยเวิร์ดทุกประการ และเอกสารของเรา(ผู้สอน)เผยแพร่เฉพาะในกรุ๊ปของเราเท่านั้น คนทั่วไปมองไม่เห็นครับ(แต่ถ้าต้องการให้คนทั่วไปมองเห็นด้วยก็สามารถทำได้
             เป็นทางเลือกที่ดีอีกทางเลือกหนึ่ง ที่คุณครูของเราต้องก้าวให้ทัน และนำ Social Network
มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อระบบการศึกษาของเรา  อย่ามองด้านลบด้านเดียวแล้วปิดกั้น ทำให้โลกทรรศน์ของเราคับแคบและนำพาลูกศิษย์ของพวกเราให้ได้รับคุณประโยชน์อย่างคับแคบเช่นเดียวกัน  อยากให้มอง Social Network ในเชิงบวก แล้วนำมาประยุกต์ใช้นะครับคุณครู สู้ ๆ ๆนะครับ

แนวปฏิบัติสำหรับนักเรียน

1. ให้สมัคร gmail
2. ให้สมัคร facebook (โดยใช้ชื่อ-สกุล หลังชื่อมีหมายเลขห้องด้วย เช่น ธงชัย46  ไหวดี)
       **46 ครูแยกกลุ่ม เป็นนักเรียน 4/6  ถ้าไม่ใส่จะทำให้เกิดยุ่งยาก

       **รูปประจำตัวสวมเสื้อนักเรียนเท่านั้น
3.  ให้ขอเป็นเพื่อนกับครูผู้สอน (ครูผู้สอนตรวจเช็ครับเป็นเพื่อน  โดยแยกกลุ่มตามห้องได้ถูกต้อง)
4. เข้าที่เว็บ Docs.com วิธีการทำโดย krusak  คลิกที่นี่ครับ(ให้ดูในส่วนอัพเดทเพิ่มเติม)
5. สมัครเป็นสมาชิก Docs.com

6. นักเรียนพิมพ์เอกสารหรือรายงาน สำหรับส่งครูผู้สอน 
7. ให้สร้างบล็อค จาก blogger.com  โดยใช้ชื่อ username และ password เดียวกันกับ facebook  วิธีการสร้่างบล็อค คลิกที่นี่


   สรุปนักเรียน 1 คนต้องมีอุปกรณ์การเรียนดังนี้

   1. อีเมล์ 1 Account

   2. facebook  1 Account
   3. Blog 1 บล็อก
   4. ภาพถ่ายเครื่องแบบนักเรียนอัพโหลดไว้ในรูปประจำตัว
                                               
          
      

นักเรียนทุกคน ช่วยตอบแบบสอบถามนี้ด้วยค่ะ

ดูทีวีครูเรียนรู้วิทยายุทธ

Subscribe Now: Feed Icon