Krukaroon: มกราคม 2011

!!!การุณย์ สุวรรณรักษา สังคมศึกษาฯ วรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา!!

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

เมื่อการสอบปลายภาคจะมาเยือน


   เรื่องการสอบปลายภาคเรียนในสมัยปัจจุบัน ดูเหมือนจะมีความศักดิ์สิทธิ์ น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการสอบไล่ปลายปีของนักเรียนในสมัยก่อน อะไรทำให้นักเรียนสมัยปัจจุบันมองไม่เห็นความสำคัญของการสอบปลายภาคเรียน  ถ้ามองกันให้รอบคอบแล้ว ก็จะมีสิ่งสนับสนุนดังนี้
   1. ครูได้มอบหมายชิ้นงานให้นักเรียนทำ  คะแนนจึงอยู่ที่ชิ้นงานส่วนหนึ่ง
   2. ครูจะจัดสอบรายหน่วยย่อยและเก็บคะแนนนักเรียนเอาไว้อีกส่วนหนึ่ง
   3. การสอบปลายภาคเรียน จึงเป็นคะแนนส่วนน้อย บางคนยังไม่สอบปลายภาคเรียน
       เมื่อรวมคะแนนเก็บทั้งหมดได้เกรด 2.0 แล้ว
   4. หากนักเรียนสอบไม่ผ่าน นักเรียนก็สามารถสอบแก้ตัวได้ ในประเด็นนี้ถือว่าเป็นสิ่งบ่อนทำลายความวิริยะอุตสาหะของนักเรียนในสมัยนี้เป็นอย่างมาก ส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนไม่ค่อยรับผิดชอบในการศึกษาเล่าเรียน ทั้งนี้เพราะนักเรียนสามารถสอบแ้ก้ตัวได้นั่นเอง สอบไม่ผ่านครั้งที่ 1 ก็สอบแก้ครั้งที่ 2 หากยังไม่ผ่านผู้สอนบางท่านมอบหมายชิ้นงานให้นักเรียนไปทำเสริม แทนคะแนนการสอบก็มีไม่น้อย
       ดังนั้นถ้าจะพูดว่า ระบบการศึกษาสมัยนี้เป็นสิ่งที่บ่อนทำลายความเป็นนักเรียนที่มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย ใฝ่รู้่ใฝ่เรียน มีความขยันหมั่นเพียรไปสิ้น ดังนั้นในสถาบัน
การศึกษาต่าง ๆ จึงมีนักเรียนที่มีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ทวีคูณขึ้นเรื่อย ๆ สังเกตจากจำนวนนักเรียนที่ไม่ผ่านการประเมินคุณลักษณะในแต่ละภาคเรียนจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
       ต่างกับสมัยก่อนหากนักเรียนไม่รับผิดชอบหรือไม่สนใจในการศึกษาเล่าเรียน นักเรียนสอบไม่ผ่าน 50 % นักเรียนคนนั้น จะสอบตกและจะต้องเรียนซ้ำชั้นเดิมอีก 1 ปี
ในกรณีเรียนซ้ำสมัยนี้ โรงเรียนเอื้ออำนวยให้จิตวิญญาณความรับผิดชอบของนักเรียนที่มีอยู่น้อยเต็มที ยิ่งริบหรี่ลงไปอีกมากมาย คือจัดเรียนซ้ำ เรียนเสริม เรียนเพิ่มเติม กันไป
ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย แล้วให้ทำการสอบ ซึ่งส่วนใหญ่ครูผู้สอนก็ให้นักเรียนสอบผ่านไปได้อย่างง่ายดาย  จากจุดนี้จะส่งผลต่อนักเรียนในการเรียนภาคเรียนต่อไป เพราะนักเรียนจะรู้แนวทางว่าอย่างไรเสีย ตนเองก็สอบผ่านอยู่ดี ทำให้ความกระตือรือร้น ความรับผิดชอบจางหายไป
       คราวนี้ถ้าเป็นสมัยก่อนนักเรียนเรียนซ้ำในเวลา 1 ปี ก็ถือว่าเป็นการลงโทษการไม่รับผิดชอบ และไม่ตั้งใจเรียนของนักเรียน นักเรียนจะปรับปรุงตนหรือพยายามขยันหมั่นเพียร เพราะหากเรียนซ้ำแล้วสิ้นปีสอบไม่ผ่านอีก ก็ต้องเรียนซ้ำชั้นเรียนเดิมอีก 1 ปี โอกาสที่นักเรียนจะเกเรเกตุง หยุ่งเหยิงอีลุงตุงนังเหมือนสมัยนี้ ก็มีน้อยเต็มที
       ที่น่ากลัวมากที่สุดก็คือครูผู้สอนคนหนึ่งเป็นผู้สอนแล้วประเมินให้นักเรียนตกตอนปลายภาคเรียน ให้นักเรียนสอบแก้ตัวนักเรียนก็สอบไม่ผ่าน เมื่อนักเรียนเรียนซ้ำโดยแต่งตั้งครูคนใหม่เข้าไปสอนแทนและดำเนินการวัดผลประเมินผลนักเรียนแทนครูคนก่อน
ตรงนี้ยิ่งเป็นปมปัญหา เข้าไปใหญ่สมมตินักเรียนเรียนซ้ำและสอบผ่านไปได้โดยง่ายนี้
ภาพลักษณ์ที่นักเรียนมองครูประจำวิชาคนเดิม จะติดลบ ภาพบวกก็จะไปอยู่ที่ครูสอนเรียนซ้ำ ที่ทำการสอนเพียงไม่กี่คาบ ที่สำคัญคือมาตรฐานการสอนและการวัดผลประเมินผล จะเทียบเท่าเสมอเหมือนกันหรือไม่  นักเรียนที่เรียนผ่านมีคุณภาพจริงหรือ เป็นสิ่งที่ครูเราควรนำมาขบคิดเป็นอย่างยิ่ง
      ในด้านนักเรียน ควรจะคิดคำนึงถึงอนาคตของตนเองให้มากยิ่งขึ้น ยิ่งตอนนี้เวลาในการสอบปลายภาคเรียน กำลังจะมาถึง นักเรียนควรจะสะสางงานที่ครูมอบหมายให้เสร็จสิ้นโดยเร็วไว อย่าให้มีพันธะติดไปตอนสอบปลายภาคเรียน เพราะจะทำให้กังวลใจ
ขยันอ่านและจดย่อ ๆ ประเด็นสำคัญเอาไว้อ่านเตรียมตัวสอบ เพียงเท่านี้ผลการเรียนของนักเรียนก็จะไม่ตกต่ำอีกแล้วครับ
      ครูขอให้ลูกศิษย์ทุกคน จงเป็นเด็กดี มีความตั้งอกตั้งใจเรียนและสอบปลายภาคเรียนนี้ได้คะแนนดี ๆ ทุกคนนะครับ



                                                              สวัสดี

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554



                         กฎหมายทำแท้งกับปัญหาเด็กท้องในช่วงวัยเรียน(1)
                       (บทความเป็นบทความแรก มีทั้งหมด2บทความนะครับ)
                ความผิดฐาน “ทำให้แท้งลูก”(abortion) หมายถึง การที่ทำให้เด็กในครรภ์คลอดออกมาอย่างไม่มีชีวิต ปัญหาอยู่ที่การเริ่มต้นกระทำผิดว่าจะเริ่มเมื่อไหร่ ณ จุดใด หากใช้ข้อความว่า “ยุติการตั้งครรภ์โดยชอบด้วยกฎหมาย”(I’ interruption illegal de grossesse หรือ The termination of pregnancy) น่าจะให้ความหมายที่ชัดเจนกว่า เพราะจะทำให้เห็นว่า ความผิดฐานนี้เริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์ไปจนถึงเวลาก่อนคลอดสำเร็จ คือ นับแต่อสุจิผสมกับไข่แล้วเดินทางไปฝังตัวในผนังมดลูกมิใช่นับแต่เมื่อมีการ ปฏิสนธิ เพราะการผสมกันระหว่างอสุจิกับไข่แม้จะเกิดการปฏิสนธิแล้ว แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการฝังตัวในผนังมดลูกตราบนั้นก็ยังไม่มีการตั้งครรภ์ เมื่อไม่มีการตั้งครรภ์ การยุติการตั้งครรภ์หรือการทำแท้งย่อมมีไม่ได้ ดังนั้นถ้าเด็กในครรภ์คลอดออกมาอย่างไม่มีชีวิตก็เป็นการทำแท้ง หากคลอดออกมาอย่างมีชีวิตแล้วตายลงภายหลังก็ไม่ใช่การแท้งลูก[1]
การทำแท้งและการฆ่าผู้อื่นตามกฎหมายไทย เป็นความผิดที่มีขอบเขตต่อเนื่องกัน เมื่อขอบเขตของความผิดฐานทำให้แท้งลูกสิ้นสุดลง ความผิดฐานฆ่าคนก็จะเริ่มต้นขึ้น ดังนั้น การแท้งลูกจึงหมายถึง การที่ทำให้ทารกในครรภ์คลอดออกมาอย่างไม่มีชีวิต ถ้าคลอดออกมาอย่างมีชีวิต ก็เป็นเพียงพยายามทำแท้ง ซึ่งกฎหมายไทยไม่เอาความผิด(ในต่างประเทศอย่าง ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ อินเดียก็ลงโทษฐานพยายามทำแท้งแต่กฎหมายไทยกลับยกเว้นโทษให้) แม้ว่าจะมาตายภายหลังก็ตาม[2]
ประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติความผิดเกี่ยวกับการทำแท้งไว้ในมาตรา 301-305[3] ในกรณีที่หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้คนอื่นทำให้แท้งลูก หญิงนั้นมีความผิดฐานทำให้แท้งลูกหรือผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้น ยินยอมหรือโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ผู้นั้นมีความผิดฐานทำให้แท้งลูก และหากการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงนั้นได้รับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ต้องระวางโทษหนักขึ้น สำหรับการทำแท้งที่กฎหมายยอบรับให้ทำได้โดยชอบนั้น บัญญัติอยู่ในมาตรา 305 ที่ว่า “ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวไว้ในมาตรา301และมาตรา302 นั้น เป็นการกระทำของนายแพทย์ และ
(1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ
(2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา277 มาตรา282มาตรา283และมาตรา234
ผู้กระทำไม่มีความผิด”
                เมื่อพิจารณาจากมาตรา 305 จะเห็นว่าวัตถุประสงค์ของการให้อำนาจแพทย์ในการทำแท้งหญิงได้นั้นก็เพื่อให้ หญิงสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยปลอดภัย จึงกำหนดบังคับให้แพทย์เท่านั้นที่มีอำนาจทำให้ได้ จะเห็นได้ว่ากรณีการทำแท้งเป็นกรณีการขัดแย้งกันของสิทธิในการมีชีวิตรอดของ เด็กในครรภ์มารดากับสิทธิส่วนบุคคลของมารดา ซึ่งจะต้องเลือกว่าจะให้ใครรอดระหว่างชีวิตเด็กหรือชีวิตมารดา เป็นการชั่งระหว่างการทำแท้งกับสุขภาพของหญิง ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่ากฎหมายอาญาเลือกชีวิตของมารดา กฎหมายยอมให้มีการทำแท้งโดยชอบได้ ต้อง
1. เป็นการกระทำความผิดที่หญิงทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้คนอื่นทำให้แท้ง ลูก(ม.301) และเป็นกรณีที่ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม(ม.302)เท่านั้น ไม่หมายความรวมถึงกรณีความผิดที่ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ในมาตรา 303 แต่อย่างใด
2. เป็นการกระทำของแพทย์ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ในการประกอบโรคศิลป์ตามกฎหมาย ไม่หมายความรวมถึงพยาบาลหรือผดุงครรภ์และหากผู้ที่กระทำเป็นแพทย์ด้วยก็ทำ ได้ แต่ต้องเข้าเหตุตาม(1)หรือ(2)ด้วย หากแพทย์สำคัญผิดว่าหญิงนั้นถูกข่มขืนหรือเข้าใจว่าหากหญิงนั้นตั้งครรภ์ต่อ ไปแล้วจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพของหญิง แพทย์ก็ไม่ต้องรับผิดโดยอ้างความสำคัญว่ามีอำนาจกระทำได้ตามมาตรา 62
3. ต้องเข้าเหตุตาม(1)หรือ(2) กล่าวคือ
3.1 มีความจำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิง ผู้กระทำต้องมีความจำเป็นต้องกระทำเนื่องจากกระทบต่อสุขภาพของหญิง ซึ่งหากตั้งครรภ์ไปแล้วจะเป็นอันตรายแก่ตนเองไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายหรือจิต ใจ แต่อย่างไรก็ตาม การทำแท้งเพราะความพิการของเด็กที่อยู่ในครรภ์ ยังเป็นปัญหาที่มีความเห็นต่างกันอยู่ว่าสามารถทำได้หรือไม่ ในแง่กฎหมายแล้ว ไม่ตีความรวมถึงสุขภาพของเด็กที่อยู่ในครรภ์แต่ในทางการแพทย์โดยข้อกำหนดของ แพทยสภาเห็นว่าสามารถทำได้ ก็คงเป็นปัญหาที่ต้องรอคอยการตกผลึกทางความคิดกันต่อไป
3.2 หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา กล่าวคือ ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา(ม. 276และม.277) ความผิดฐานเป็นธุระจัดหาบุคคลไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น(ม.282และม.283) และความผิดฐานพาบุคคลไปเพื่อการอนาจาร(ม.284) เท่านั้น ไม่หมายความรวมถึงความผิดฐานอื่นแต่อย่างใด หากหญิงตั้งครรภ์จากการกระทำความผิดอาญาที่ได้กล่าวมา แพทย์ทำแท้งให้ได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะกระทบต่อสุขภาพของหญิงหรือไม่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องได้รับความยินยอมจากหญิงผู้จะขอให้ทำแท้ง ต้องเป็นความยินยอมที่บริสุทธิ์ อิสระ ปราศจากความกดดันใดๆ
                การทำแท้งเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันมากในปัจจุบัน ฝ่ายหนึ่งยอมให้มีการทำแท้งได้ง่าย ฝ่ายนี้มองว่า การปล่อยให้ตั้งครรภ์ต่อไป หากกระทบต่อสุขภาพของหญิงแล้วย่อมทำได้หรือการตั้งครรภ์ที่เกิดจากความไม่ เต็มใจของมารดา พิจารณาในหลายๆแง่มุมแล้วเห็นควรให้ทำแท้ง ก็ให้ทำแท้งได้ อีกฝ่ายหนึ่งยอมให้มีการทำแท้งได้ยาก ฝ่ายนี้มองว่า เมื่อตั้งครรภ์แล้วก็ควรให้เด็กคลอดออมา เด็กไม่มีความผิดอะไรไม่ควรฆ่าเขา เด็กไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรไม่ควรเอาความผิดของพ่อแม่ไปยัดเยียดให้แก่เด็ก อีกและที่สำคัญยังขัดกับศีลธรรมด้วย หากไม่มีความจำเป็นจริงจริงก็ไม่ยอมให้มีการทำแท้ง ความเห็นของฝ่ายนี้พิจารณาถึงชีวิตของเด็กมากกว่า(เนื่องจากบทความนี้ยาว เกินไปเพื่อให้อ่านง่ายขึ้นผมจึงขอแยกเป็น2บทความ ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาเด็กท้องในช่วงวัยเรียน จะขอกล่าวในบทความต่อไป)

ข้ิิอมูลจาก http://learners.in.th/blog/nattawat-thammasat/366258

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554


          พระคุณครู
คำว่า " ครู "เปรียบไว้ได้หลายอย่าง
เปรียบ"เรือจ้าง"รับส่งผู้โดยสาร
ให้พ้นห้วงมหาชลาธาร
ได้ข้ามผ่านถึงฝั่งสมตั้งใจ

เปรียบ"แม่พิมพ์"กล่อมเกลาเฝ้าหล่อหลอม
ทั้งโอบอ้อมการุณย์หนุนนำให้
ปลูกฝังซึ่งคุณธรรมผ่องอำไพ
ให้ก้าวไปตามครรลองของชีวา

เปรียบ"แสงเทียน"ส่องสว่างทางมืดมิด
เพื่อให้ศิษย์แจ่มกระจ่างทางศึกษา
จากไม่รู้ทั้งเขลาเบาปัญญา
กลับเก่งกล้าเลิศล้ำเพราะพร่ำเรียน

คือ"ปูชนียบุคคล"เปี่ยมล้นค่า
ควรบูชาเคารพนบนอบเศียร
ทั้งกายใจจิตวิญญาณท่านเฝ้าเพียร
เพื่อนักเรียนเติบใหญ่นั้นได้ดี

ขอทดแทนบุญคุณที่หนุนเนื่อง
ชาติรุ่งเรืองเพราะคุณครูกู้ศักดิ์ศรี
พร้อมอุทิศใจกายหมายมอบพลี
เป็นคนดีที่น่ายลชนชื่นชม

ร่วมเชิดชูครูไทยด้วยใจมั่น
ที่สร้างสรรค์บ่มเพาะความเหมาะสม
ในวันครูที่สิบหกมกราคม
ขอกราบก้มไหว้ครูดีศรีแผ่นดิน



ขอขอบคุณ กลอนวันครู โดยคุณ jkrolling จาก dreampoem.com

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

แนะนำโปรแกรมสำหรับการสร้างสื่อการสอนที่ดีที่สุดสำหรับมือใหม่

     สวัสดีงาม ๆ อีกคำรบหนึ่งครับ วันนี้นั่งสืบค้นโปรแกรมใหม่ ๆ ที่ใช้สำหรับการสร้างสื่อการเรียนการสอน บังเอิญไปเจอโปรแกรม Lecture Maker ลองดาวน์โหลดมาดู ปรากฎว่า  โอ๊ะโอ๊ะโอ๋...พระคุณท่าน มันดีมาก ๆ เลยครับผม  เหมาะสำหรับมือใหม่หัดขับครับ อันที่จริง หากท่านผู้ใดเคยรังสรรค์สื่อการสอนด้วยโปรแกรม PowerPoint มาก่อน ก็พอดีเลยครับ ฉลุยเลย ก็เพราะเจ้าโปรแกรม Lecture Maker ก็คือ PowerPoint ทรงเครื่องนั่นเอง
    โอ๊ะโอ๊ะ อยากรู้ล่ะซิว่าหน้าตามันเป็นอย่างไร เอาล่ะให้ดูเป็นการชวนชิมไว้ก่อนนะครับ ดูเมนูและความสามารถของโปรแกรม

                                              เมนู Home


                                               เมนู Insert

                                        
                                            เมนู Control
                                            เมนู Design


                                                     เมนู View


                                               เมนู Format


                             เมนู Equation (สัญญลักษณ์คณิตศาสตร์)


                                                  เมนูแต่งภาพ


                                                      เมนูกราฟ


                                    สร้างแบบทดสอบแบบ 4 ตัวเลือก


                               สามารถสร้างแบบทดสอบแบบเติมคำ


               ความสามารถของโปรแกรมถือว่าสุดยอดครับ ใครสนใจลองดาวน์โหลดมาทดลองใช้ดูครับ รับรองว่าเยี่ยมครับ ครูคณิตศาสตร์เหมาะมาก ๆ ครับ ไม่ต้องลำบากใจ
เรื่องสัญญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์อีกต่อไป  ยังมีความสามารถหรือลูกเล่นอื่น ๆอีกมากมายครับ ขออนุญาตเข้ามาคุยครั้งหน้านะครับ

ดาวน์โหลดโปรแกรม
ถ้าด้านบนดาวน์โหลดไม่ได้ เอานี่เลยครับ คลิกเลย
คู่มือการสร้างแบบทดสอบ 4 ตัวเลือก
คู่มือการสร้างแบบทดสอบแบบเขียนตอบสั้น ๆ

Powerpoint อธิบายรายละเอียดการใช้โปรแกรม lecture maker
             
   

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

เด็กดี

 เด็กดี มี  มงคลชีวิต และ มีความคิดบวก เอามงคลชีวิตไป และ การคิดบวกด้วย
     (ใช่ หลวงพยอม หรือเปล่าไม่แน่ใจ และคิดบวกของท่าน ว.วัชรเมธี)

                                มงคลชีวิต
                  อย่านอนตื่นสาย        อย่าอายทำกิน  
                  อย่าหมิ่นเงินน้อย       อย่าคอยวาสนา  
                  อย่าเสวนาคนชั่ว        อย่ามั่วอบายมุข  
                  อย่าสุกก่อนห่าม         อย่าพล่ามก่อนทำ  
                  อย่ารำก่อนเพลง         อย่าข่มเหงผู้น้อย  
                  อย่าคอยแต่ประจบ      อย่าคบแต่เศรษฐี  
                  อย่าดีแต่ตัว               อย่าชั่วแต่คนอื่น  
                  อย่าฝ่าฝืนกฎระเบียบ   อย่าเอาเปรียบสังคม  
                  อย่าชมคนผิด            อย่าคิดเอาแต่ได้  
                  อย่าใส่ร้ายคนดี          อย่ากล่าววจีมุสา  
                  อย่านินทาพระเจ้า       อย่าขลาดเขลาเมื่อมีทุกข์  
                  อย่าสุขจนลืมตัว         อย่าเกรงกลัวงานหนัก  
                  อย่าพิทักษ์พาลชน      อย่าลืมตนเมื่อมั่งมี

                           คิดบวก ชีวิตบวก
                  เวลาเจองานหนัก ให้บอกตัวเองว่า
          นี่คือโอกาสในการเตรียมพร้อมสู่ความเป็นมืออาชีพ

                 เวลาเจอปัญหาซับซ้อน ให้บอกตัวเองว่า
          นี่คือบทเรียนที่จะสร้างปัญญาได้อย่างวิเศษ

                 เวลาเจอความทุกข์หนัก ให้บอกตัวเองว่า
          นี่คือแบบฝึกหัดที่จะช่วยให้เกิดทักษะในการดำเนินชีวิต

                 เวลาเจอนายจอมละเมียด ให้บอกตัวเองว่า
         นี่คือการฝึกตนให้เป็นคนสมบูรณ์แบบ (Perfectionist)

                 เวลาเจอคำตำหนิ ให้บอกตัวเองว่า
         นี่คือการชี้ขุมทรัพย์มหาสมบัติ

                เวลาเจอคำนินทา ให้บอกตัวเองว่า
         นี่คือการสะท้อนว่าเรายังคงเป็นคนที่มีความหมาย

                เวลาเจอความผิดหวัง ให้บอกตัวเองว่า
         นี่คือวิธีที่ธรรมชาติกำลังสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิต

                เวลาเจอความป่วยไข้ ให้บอกตัวเองว่า
         นี่คือการเตือนให้เห็นคุณค่าของการรักษาสุขภาพให้ดี

                เวลาเจอความพลัดพราก ให้บอกตัวเองว่า
          นี่คือบทเรียนของการรู้จักหยัดยืนด้วยขาตัวเอง

                 เวลาเจอลูกหัวดื้อ ให้บอกตัวเองว่า
          นี่คือโอกาสทองของการพิสูจน์ความเป็นพ่อแม่ที่แท้จริง


เด็กเอ๋ย เด็กดี ต้องมีหน้าที่ 10 อย่างด้วยกัน
1. นับถือศาสนา
2. รักษาธรรมเนียมมั่น
3. เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์
4. วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
5. ยึดมั่นกตัญญู
6. เป็นผู้รู้รักการงาน
7. ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ ต้องมานะบากบั่นไม่เกียจไม่คร้าน
8. รู้จักออมประหยัด
9. ซื่อสัตย์ตลอดกาล น้ำใจนักกีฬากล้าหาญให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา
10. ทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา เด็กสมัยชาติพัฒนาเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ

สำหรับพ่อแม่ น่าจะหมายถึง เชื่อฟังท่าน ไม่เกเร ดื้อรั้น ทำตัวดี แก่ตนเองและสังคมครับ

สุขสันต์วันเด็กครับ

                                เด็กดี
เด็กดีคิดดี  เด็กดีทำดี  เด็กดีคบคนดี   เด็กดีพูดดี  เด็กดีไปสถานที่ดี

การทำวิทยฐานะเชิงประจักษ์ ทำเอกสารไม่เกิน 50 หน้า

  ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ ประจำวันที่ 6 มกราคม 2554

นักเรียนทุกคน ช่วยตอบแบบสอบถามนี้ด้วยค่ะ

ดูทีวีครูเรียนรู้วิทยายุทธ

Subscribe Now: Feed Icon