Krukaroon

!!!การุณย์ สุวรรณรักษา สังคมศึกษาฯ วรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา!!

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554



                         กฎหมายทำแท้งกับปัญหาเด็กท้องในช่วงวัยเรียน(1)
                       (บทความเป็นบทความแรก มีทั้งหมด2บทความนะครับ)
                ความผิดฐาน “ทำให้แท้งลูก”(abortion) หมายถึง การที่ทำให้เด็กในครรภ์คลอดออกมาอย่างไม่มีชีวิต ปัญหาอยู่ที่การเริ่มต้นกระทำผิดว่าจะเริ่มเมื่อไหร่ ณ จุดใด หากใช้ข้อความว่า “ยุติการตั้งครรภ์โดยชอบด้วยกฎหมาย”(I’ interruption illegal de grossesse หรือ The termination of pregnancy) น่าจะให้ความหมายที่ชัดเจนกว่า เพราะจะทำให้เห็นว่า ความผิดฐานนี้เริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์ไปจนถึงเวลาก่อนคลอดสำเร็จ คือ นับแต่อสุจิผสมกับไข่แล้วเดินทางไปฝังตัวในผนังมดลูกมิใช่นับแต่เมื่อมีการ ปฏิสนธิ เพราะการผสมกันระหว่างอสุจิกับไข่แม้จะเกิดการปฏิสนธิแล้ว แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการฝังตัวในผนังมดลูกตราบนั้นก็ยังไม่มีการตั้งครรภ์ เมื่อไม่มีการตั้งครรภ์ การยุติการตั้งครรภ์หรือการทำแท้งย่อมมีไม่ได้ ดังนั้นถ้าเด็กในครรภ์คลอดออกมาอย่างไม่มีชีวิตก็เป็นการทำแท้ง หากคลอดออกมาอย่างมีชีวิตแล้วตายลงภายหลังก็ไม่ใช่การแท้งลูก[1]
การทำแท้งและการฆ่าผู้อื่นตามกฎหมายไทย เป็นความผิดที่มีขอบเขตต่อเนื่องกัน เมื่อขอบเขตของความผิดฐานทำให้แท้งลูกสิ้นสุดลง ความผิดฐานฆ่าคนก็จะเริ่มต้นขึ้น ดังนั้น การแท้งลูกจึงหมายถึง การที่ทำให้ทารกในครรภ์คลอดออกมาอย่างไม่มีชีวิต ถ้าคลอดออกมาอย่างมีชีวิต ก็เป็นเพียงพยายามทำแท้ง ซึ่งกฎหมายไทยไม่เอาความผิด(ในต่างประเทศอย่าง ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ อินเดียก็ลงโทษฐานพยายามทำแท้งแต่กฎหมายไทยกลับยกเว้นโทษให้) แม้ว่าจะมาตายภายหลังก็ตาม[2]
ประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติความผิดเกี่ยวกับการทำแท้งไว้ในมาตรา 301-305[3] ในกรณีที่หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้คนอื่นทำให้แท้งลูก หญิงนั้นมีความผิดฐานทำให้แท้งลูกหรือผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้น ยินยอมหรือโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ผู้นั้นมีความผิดฐานทำให้แท้งลูก และหากการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงนั้นได้รับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ต้องระวางโทษหนักขึ้น สำหรับการทำแท้งที่กฎหมายยอบรับให้ทำได้โดยชอบนั้น บัญญัติอยู่ในมาตรา 305 ที่ว่า “ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวไว้ในมาตรา301และมาตรา302 นั้น เป็นการกระทำของนายแพทย์ และ
(1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิงนั้น หรือ
(2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา277 มาตรา282มาตรา283และมาตรา234
ผู้กระทำไม่มีความผิด”
                เมื่อพิจารณาจากมาตรา 305 จะเห็นว่าวัตถุประสงค์ของการให้อำนาจแพทย์ในการทำแท้งหญิงได้นั้นก็เพื่อให้ หญิงสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้โดยปลอดภัย จึงกำหนดบังคับให้แพทย์เท่านั้นที่มีอำนาจทำให้ได้ จะเห็นได้ว่ากรณีการทำแท้งเป็นกรณีการขัดแย้งกันของสิทธิในการมีชีวิตรอดของ เด็กในครรภ์มารดากับสิทธิส่วนบุคคลของมารดา ซึ่งจะต้องเลือกว่าจะให้ใครรอดระหว่างชีวิตเด็กหรือชีวิตมารดา เป็นการชั่งระหว่างการทำแท้งกับสุขภาพของหญิง ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่ากฎหมายอาญาเลือกชีวิตของมารดา กฎหมายยอมให้มีการทำแท้งโดยชอบได้ ต้อง
1. เป็นการกระทำความผิดที่หญิงทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้คนอื่นทำให้แท้ง ลูก(ม.301) และเป็นกรณีที่ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอม(ม.302)เท่านั้น ไม่หมายความรวมถึงกรณีความผิดที่ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นไม่ยินยอม ในมาตรา 303 แต่อย่างใด
2. เป็นการกระทำของแพทย์ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ในการประกอบโรคศิลป์ตามกฎหมาย ไม่หมายความรวมถึงพยาบาลหรือผดุงครรภ์และหากผู้ที่กระทำเป็นแพทย์ด้วยก็ทำ ได้ แต่ต้องเข้าเหตุตาม(1)หรือ(2)ด้วย หากแพทย์สำคัญผิดว่าหญิงนั้นถูกข่มขืนหรือเข้าใจว่าหากหญิงนั้นตั้งครรภ์ต่อ ไปแล้วจะเกิดอันตรายต่อสุขภาพของหญิง แพทย์ก็ไม่ต้องรับผิดโดยอ้างความสำคัญว่ามีอำนาจกระทำได้ตามมาตรา 62
3. ต้องเข้าเหตุตาม(1)หรือ(2) กล่าวคือ
3.1 มีความจำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของหญิง ผู้กระทำต้องมีความจำเป็นต้องกระทำเนื่องจากกระทบต่อสุขภาพของหญิง ซึ่งหากตั้งครรภ์ไปแล้วจะเป็นอันตรายแก่ตนเองไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายหรือจิต ใจ แต่อย่างไรก็ตาม การทำแท้งเพราะความพิการของเด็กที่อยู่ในครรภ์ ยังเป็นปัญหาที่มีความเห็นต่างกันอยู่ว่าสามารถทำได้หรือไม่ ในแง่กฎหมายแล้ว ไม่ตีความรวมถึงสุขภาพของเด็กที่อยู่ในครรภ์แต่ในทางการแพทย์โดยข้อกำหนดของ แพทยสภาเห็นว่าสามารถทำได้ ก็คงเป็นปัญหาที่ต้องรอคอยการตกผลึกทางความคิดกันต่อไป
3.2 หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญา กล่าวคือ ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา(ม. 276และม.277) ความผิดฐานเป็นธุระจัดหาบุคคลไปเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น(ม.282และม.283) และความผิดฐานพาบุคคลไปเพื่อการอนาจาร(ม.284) เท่านั้น ไม่หมายความรวมถึงความผิดฐานอื่นแต่อย่างใด หากหญิงตั้งครรภ์จากการกระทำความผิดอาญาที่ได้กล่าวมา แพทย์ทำแท้งให้ได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะกระทบต่อสุขภาพของหญิงหรือไม่ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องได้รับความยินยอมจากหญิงผู้จะขอให้ทำแท้ง ต้องเป็นความยินยอมที่บริสุทธิ์ อิสระ ปราศจากความกดดันใดๆ
                การทำแท้งเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันมากในปัจจุบัน ฝ่ายหนึ่งยอมให้มีการทำแท้งได้ง่าย ฝ่ายนี้มองว่า การปล่อยให้ตั้งครรภ์ต่อไป หากกระทบต่อสุขภาพของหญิงแล้วย่อมทำได้หรือการตั้งครรภ์ที่เกิดจากความไม่ เต็มใจของมารดา พิจารณาในหลายๆแง่มุมแล้วเห็นควรให้ทำแท้ง ก็ให้ทำแท้งได้ อีกฝ่ายหนึ่งยอมให้มีการทำแท้งได้ยาก ฝ่ายนี้มองว่า เมื่อตั้งครรภ์แล้วก็ควรให้เด็กคลอดออมา เด็กไม่มีความผิดอะไรไม่ควรฆ่าเขา เด็กไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรไม่ควรเอาความผิดของพ่อแม่ไปยัดเยียดให้แก่เด็ก อีกและที่สำคัญยังขัดกับศีลธรรมด้วย หากไม่มีความจำเป็นจริงจริงก็ไม่ยอมให้มีการทำแท้ง ความเห็นของฝ่ายนี้พิจารณาถึงชีวิตของเด็กมากกว่า(เนื่องจากบทความนี้ยาว เกินไปเพื่อให้อ่านง่ายขึ้นผมจึงขอแยกเป็น2บทความ ความเห็นเกี่ยวกับปัญหาเด็กท้องในช่วงวัยเรียน จะขอกล่าวในบทความต่อไป)

ข้ิิอมูลจาก http://learners.in.th/blog/nattawat-thammasat/366258

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นักเรียนทุกคน ช่วยตอบแบบสอบถามนี้ด้วยค่ะ

ดูทีวีครูเรียนรู้วิทยายุทธ

Subscribe Now: Feed Icon