Krukaroon: โรงเรียนมาตรฐานสากล ผจญ TOK ถ้าครูรู้ไม่จริง สิ่งที่ได้ คือ TOK-TAK หรืออาจก้าวพ้นจนเป็น SOK-SAK

!!!การุณย์ สุวรรณรักษา สังคมศึกษาฯ วรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา!!

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โรงเรียนมาตรฐานสากล ผจญ TOK ถ้าครูรู้ไม่จริง สิ่งที่ได้ คือ TOK-TAK หรืออาจก้าวพ้นจนเป็น SOK-SAK

             เท่าที่คุณครูของพวกเรา ได้รับภาระกิจเรื่องการต้อนรับนักเรียนในวันแรกของการก้าวย่างสู่รั้วกรมท่าขาว   ครูน่าจะได้รับคำชี้แจงเป็นประเด็นที่นำไปสู่การปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นขั้น ๆ  โดยฝ่ายวิชาการที่รับผิดชอบเรื่องนี้ เริ่มตั้งแต่เมื่อนักเรียนเลิกแถวแยกย้ายกันเข้า ห้องเรียนที่กำหนดเพื่อพบกับครูที่ปรึกษาแล้ว
    ขั้นตอนที่ 1. ครูเริ่มให้นักเรียนเขียนแผนการหรือลำดับกิจกรรมที่นักเรียนต้องทำใน 1 ภาคเรียน
                     ตรงจุดนี้ มีปัญหา
                      - โรงเรียนไม่เตรียมเอกสารที่เป็นตาราง/หรือกระดาษสำหรับให้นักเรียนเขียนเอาไว้
                      -  ปฏิทินโรงเรียน  นักเรียนไม่รู้ว่า เริ่มต้นเขียนวันใด และไปสิ้นสุดวันใด ต้องอาศัย
                          ปฏิทินโรงเรียนเป็นแนวทางการกำหนดกิจกรรม  แต่โรงเรียนไม่ได้เตรียมเอกสาร
                          ปฏิทินดังกล่าวเอาไว้ให้นักเรียนเลย ทุกชั้นทุกห้องเรียน 
   ครูที่ปรึกษาและนักเรียนแก้ไขปัญหากันวุ่นวาย โดย
                      - นักเรียนเก็บเงินกันไปถ่ายเอกสารของเอกชนที่มาบริการในโรงเรียน คนละ 3 แผ่น
  ประกอบด้วย ปฏิทินโรงเรียน/ตารางที่ 1/ตารางที่ 2 แล้วมาเริ่มดำเนินการ แต่ตารางแผ่นเดียวไม่สามารถเขียนได้ทั้งภาคเรียนเกิดปัญหากันต่อไป ครูที่ปรึกษาต้องวิ่งหากระดาษที่ใช้แล้วที่พอใช้ได้
มาให้นักเรียน ท่ามกลางความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
                      ผลการดำเนินกิจกรรมในช่วงเช้า  จึงเกิดความสับสนวุ่นวาย/ในแนวปฏิบัติกันไปทุกห้อง
เรียน
         ขั้นตอนที่ 2  เริ่มในช่วงบ่าย 12.30 ใน. เป็นการแนะนำหรือให้ความรู้เกี่ยวกับ TOK
ให้นักเรียนได้รับทราบว่า TOK คืออะไร ทำไมจึงต้องมี TOK ตรงจุดนี้เอกสารอยู่ที่ครูที่ปรึกษาชุดเดียว
ครูแต่ละคนก็คงจะแนะนำกันไปตามที่ตนเองพอจะรู้  ใครไม่รู้ก็ไปเยี่ยมห้องข้างเคียงปรึกษาหารือกัน
แล้วกลับไปแนะนำนักเรียนต่อ  จุดนี้ค่อยข้างสำคัญยิ่ง ครูควรได้รับความรู้นี้ก่อน ไม่เช่นนั้น TOK จะกลายเป็น TAK ไป
                    พอมาถึงตอนยกตัวอย่างการกำหนดหัวข้อ เพื่อให้นักเรียนเลือกหรือใช้เป็นแนวทางในการกำหนดหัวข้อที่ตนเองต้องรับผิดชอบ  เอกสารก็มีอยู่ที่ครูชุดเดียวอีกนั่นแหละครูก็อาจจะอ่านให้นักเรียนฟัง เพื่อเป็นแนวทาง  ผู้เขียนใช้วิธีพิมพ์และฉายสู่จอให้นักเรียนได้อ่านพร้อมกัน
                    ขั้นต่อไปก็คือการกระจายให้นักเรียนได้กำหนดหัวข้อและรับผิดชอบให้ครอบคลุมทั้ง
8 สาระ เมื่อกระจายครบทั้ง 8 กลุ่มสาระแล้ว  นักเรียนก็ลงทะเบียนโดยการเขียนชื่อ-สกุล  หัวข้อที่
แต่ละคนรับผิดชอบ  แล้วนักเรียนก็เซ็นต์ชื่อ  และครูที่ปรึกษาลงชื่อในฐานะครูผู้สอน  และครูผู้สอน
เก็บรวบรวมเรียงเลขที่นำส่งฝ่ายวิชาการ
                    ในหนึ่งวันที่ผ่านมานี้ มีข้อคิดที่ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างมากที่สุด ก็คือ
1. ครูต้องมีความรู้เรื่องโรงเรียนมาตรฐานสากล
2. ครูต้องมีความรู้จ่ริงเกี่ยวกับ TOK
3. ฝ่ายที่รับผิดชอบ ต้องมีความรู้และชี้แจงให้ครูที่ปรึกษาทุกคนรับทราบอย่างชัดเจน
4. ฝ่ายที่รับผิดชอบ ต้องกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติเป็นข้อ ๆ เริ่มต้นทำอะไร ขั้นต่อไปทำอะไร
    จนเสร็จสิ้น จนครูที่ปรึกษารู้และเข้าใจในขั้นตอนทุก ๆ ขั้นตอนเป็นอย่างดีแล้ว
5. ฝ่ายที่รับผิดชอบ ต้องเตรียมเอกสาร ตาราง และกระดาษเปล่า เตรียมเอาไว้ให้นักเรียนเป็นรายบุคคล
    จะไม่ต้องไปรอเข้าคิวถ่ายเอกสารกันวุ่นวาย  เพราะการใช้จ่ายค่ากระดาษและเอกสารเหล่านี้ลงถึงตัว
    นักเรียนถือว่าเป็นการใช้จ่ายที่ถูกต้อง คุ้มค่า เพราะนักเรียนเป็นสำคัญตามที่เรากล่าวกันจนติดปาก
    มาจนทุกวันนี้
            การเขียนเรื่องนี้ ก็เพื่อจะได้ร่วมด้วยช่วยกัน ในการปฏิบัติหน้าที่ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อเกียรติและศักดิ์ศรีของพวกเราทุก ๆ คนอันเป็นชาวกรมท่าขาว ไม่ใช่เกียรติ์ศักดิ์ศรีของใครคนใดคนหนึ่ง เพราะ
พวกเราคือชาวกรมท่าขาว ควรที่จะมีสิทธิ์ในการคิด การเสนอแนะ เพื่อก่อให้เกิดสิ่งที่ดีงามแก่กรมท่าขาว
ของพวกเราทุกคนตามลำดับต่อไป

คู่มือ การพัฒนาหลักสูตรและการสอนโรงเรียนมาตรฐานสากล คลิกที่นี่  
คู่มือ การเขียนความเรียงขั้นสูง สำหรับครูผู้สอน/ครูที่ปรึกษา/นักเรียน คลิกที่นี่

     กิจกรรมวันที่ 11  พฤษภาคม  2554 
- เข้าแถวทำพิธีกรรมหน้าเสาธง ทุกระดับชั้น
- แยกกันเข้าห้องตามที่กำหนด
- ม.4/3 เข้าห้อง 322  (ครูนำnotebookและเครื่องโปรเจคเตอร์ พร้อมเครื่องเสียงมาติดตั้ง  5  นาที)
- ครูที่ปรึกษาบรรยายประกอบใบความรู้ จากไฟล์ pdf เรื่องคู่มือการเขียนความเรียงขั้นสูง ประมาณ
  40 นาที เพื่อปูทางและทบทวนความรู้ ขั้นตอนในการเขียนความเรียง
- ครูที่ปรึกษาไปขอความอนุเคราะห์กระดาษหน้าเดียวจากกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (โรงเรียนไม่ได้
  เตรียมเอาไว้ให้อีกแล้วครับ)
- ครแจกกระดาษหน้าเดียวให้นักเรียนคนละ 1 แผ่น
- นักเรียนทดลองเขียนความเรียง ตามหัวข้อเรื่องที่แต่ละคนได้ลงทะเบียนเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานนี้
- นักเรียนเขียนเสร็จ โดยเน้นให้มี 3 ส่วน คือบทนำ  เนื้อเรื่อง และบทสรุป  เสร็จแล้วนำส่ง ผอ.ห้องเรียน
- ผอ.ห้องเรียนรวบรวม เรียงลำดับเลขที่ นำส่งครูที่ปรึกษา ตรวจสอบ และนำส่งฝ่ายวิชาการ
- ครูให้นักเรียนพักเที่ยง  นัดหมายอีกครั้ง 12.30 น. เพื่อดำเนินการกิจกรรมในภาคบ่ายต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นักเรียนทุกคน ช่วยตอบแบบสอบถามนี้ด้วยค่ะ

ดูทีวีครูเรียนรู้วิทยายุทธ

Subscribe Now: Feed Icon