การศึกษา 5 ทางเลือกเพื่อให้นักเรียนมีงานทำและเรียนตามความสามารถ
1.เกษตรกรรม 2. อุตสาหกรรม 3.พาณิชยกรรม 4. วิชาการ 5.ความคิดสร้างสรรค์
สพฐ. สนองแนวคิด รมว.ศธ.เตรียมทำหลักสูตรสำเร็จรูป แบ่งเป็น 5 ออปชันให้โรงเรียนเลือกใช้ โดยแบ่งสัดส่วนการเรียนภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติแตกต่างกัน เพื่อให้สอดคล้องกับการปั้นเด็กแต่ละกลุ่ม ซึ่งในต่างจังหวัดที่มีอัตราเรียนต่อน้อยอาจกำหนดสัดส่วนเรียนวิชาการแค่ ร้อยละ 30
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ขณะนี้ สพฐ.เตรียมปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนในสังกัดให้ตอบสนองต่อ นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ที่ต้องการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ และให้การจัดการศึกษาตอบสนองบริบทของแต่ละพื้นที่ ซึ่ง สพฐ. เห็นว่า สิ่งที่จะพอดำเนินการได้ทันทีภายใต้โครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐานฉบับปัจจุบันโดยไม่ต้องไปเสียเวลาเป็นปีเพื่อปรับรื้อหลักสูตร คือ การปรับโครงสร้างเวลาเรียนใหม่ออกมาเป็น 5 รูปแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ อย่างไรก็ตาม
โครงสร้างหลักสูตรฉบับปัจจุบันกำหนดสัดส่วนเวลาเรียนโดยแบ่งเป็นการเรียนภาค ทฤษฎีในห้องเรียน ร้อยละ 70 และการฝึกปฏิบัตินอกห้องเรียน ร้อยละ 30 ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับโรงเรียนในชนบท นักเรียนตามชนบทเมื่อเรียนจบชั้นมัธยมแล้วไม่ได้มุ่งเข้าสู่มหาวิทยาลัยทุก คนเหมือนนักเรียนของโรงเรียนในเมือง ไม่จำเป็นต้องเรียนวิชาการมากเกินจำเป็น แต่ควรเน้นฝึกปฏิบัติเพื่อให้เขามีทักษะความรู้ติดตัวสามารถใช้ประกอบอาชีพ เลี้ยงตัวเองได้หลังจบการศึกษา
เพราะฉะนั้น
สพฐ.จึงเตรียมที่จะ
แตก หลักสูตรแกนกลางออกมาเป็น 5 ออปชัน ซึ่งมีสัดส่วนเวลาเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียนและภาคปฏิบัตินอกห้องเรียนลด หลั่นกันไป เริ่มตั้งแต่ 70-30 และจะทยอยลดสัดส่วนการเรียนวิชาการลงจนเหลือ 30-70 ในออปชันสุดท้าย วางการลดเวลาเรียนวิชาการลงก็เพื่อเพิ่มเวลาให้กับการฝึกปฏิบัตินอกห้องเรียน อย่างไรก็ตาม
เมื่อ มีการลดเวลาเรียนวิชาการลง อาจต้องบูรณาการการเรียน 8 กลุ่มสาระวิชาไว้ด้วยกันเพื่อประหยัดชั่วโมงเรียน จาก 8 กลุ่มสาระวิชาอาจเหลือบูรณาการเหลือแค่ 5 กลุ่มในบางออปชัน ทั้งนี้
โรงเรียนจะเป็นผู้พิจารณาเลือกเองว่าจะจัดการเรียนการสอนตามออปชันใด
เพื่อให้เหมาะกับบริบทของพื้นที่นั้นๆ แต่ เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่โรงเรียน ครู มากขึ้นไป สพฐ.ได้มอบให้สำนักวิชาการและมารตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สวก.) ไปจัดทำตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนของแต่ละออฟชั่นออกมาเป็นแนวทางให้ โรงเรียนนำไปประยุกต์ใช้ โดยจะทำเป็นคู่มือแจกไปตามสถานศึกษา และ
เตรียมดำเนินการตามนโยบายนี้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2555
“
ต่อไปโรงเรียนแต่ละแห่งจะจัดการสอนไม่เหมือนกัน แตกต่างไปตามเป้าหมายของนักเรียนในแต่ละพื้นที่ แต่จริงๆ แล้ว ความคาดหวังของ ศธ.นั้น ไม่ได้ต้องการให้นักเรียนที่จบมัธยม มุ่งเข้าสู่มหาวิทยาลัย ทุกคน แต่
ต้องการให้สามารถนำเอาความรู้ไปประกอบอาชีพเลี้ยงตัวได้ซึ่งจะ
เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้น รูปแบบการจัดการศึกษาต้องมีความหลากหลาย เรา
ไม่ต้องการให้เด็กเรียนอยู่ในบล็อกเดียวกัน คือ เน้นเรียนวิชาการเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย อย่างนี้ไม่เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและเป็นการลงทุนทางการศึกษาที่ไม่คุ้มค่า
เด็กต้องเรียนไปเพื่อทำงานไม่ใช่เรียนจบไปรองาน” นายชินภัทร กล่าว
ข่าวล่าสุด 16 กันยายน 2554
นาย วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รมว.ศธ. กล่าวในการเปิดการประชุมปฏิบัติการยกระดับคุณภาพการจัดการมัธยมศึกษา พร้อมมอบนโยบายการศึกษาแก่ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่ จ.แพร่ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ต้องการให้จังหวัดรู้จักตัวเองโดยดูจากศักยภาพ 5 ด้าน คือ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ประเพณีวัฒนธรรม และบุคลากร จะต้องวิเคราะห์แต่ละด้านอย่างละเอียดเพื่อที่จะได้เป็นข้อมูลในการพัฒนา จังหวัด เพื่อพัฒนาต่อยอดจุดแข็ง โดยเชื่อมโยง กับระบบการศึกษา ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา รวมทั้ง กศน. และชุมชน
"ที่ผ่านมาระบบการศึกษาจัดเพียงหลักสูตรเดียว แต่ใช้กับนักเรียนทั้งประเทศ จึงไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ การเรียน 12 ปี เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยเท่านั้น ไม่ได้เรียนตามความถนัด ปิดกั้นโอกาสในการพัฒนาศักยภาพอย่างมาก ดังนั้น การเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษา จะต้องแบ่งเป็น 3 สาย คือ
1.มัธยมที่มุ่งสู่การเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
2.มัธยมเชิงปฏิบัติ เน้นประกอบอาชีพสาขาต่างๆ และ
3.มัธยมกลุ่มความคิดสร้างสรรค์
ด้าน นายอภิชาติ จีระวุฒิ ปลัดศธ. กล่าวว่า การ ออกแบบหลักสูตรใหม่ จะมีครู อาจารย์ ผู้บริหาร มหาวิทยาลัย และท้องถิ่นร่วมกันสนองความต้องการ และเหมาะสมแต่ละพื้นที่ โดยส่วนกลางจะต้องลดบทบาทลง หากจัดทำหลักสูตรได้ตั้งแต่เดือนต.ค.นี้ ก็ใช้ได้ทันปีการศึกษาที่ 1/2555 ที่ประชุมยังเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนและหลักสูตรการพัฒนาการศึกษาตาม ศักยภาพของพื้นที่ โดย 5 มหาวิทยาลัย จะมาร่วมกับโรงเรียนมัธยม จัดการศึกษาเชิงบูรณาการตามศักยภาพของพื้นที่ จัดหลักสูตรตามความถนัด อาจส่งอาจารย์ช่วยสอน หรือสนับสนุนเทคโนโลยี
อย่างนี้ โรงเรียนของผู้เขียน ก็คงเลือก เกษตรกรรมกับอุตสาหกรรมน่ะซิ เพราะค่า O-net ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน นักเรียนจบไปก็ไม่ได้เรียนต่อเป็นส่วนมาก
เฮ้อ!
ความคิดเห็นจากอุดมศึกษา
หัวข้อข่าว :: เตือนหลักสูตร30/70 ได้แค่แรงงานไร้กึ๋น
รายละเอียดข่าว :: “สุขุม” เตือน สพฐ.ควรระมัดระวังหลักสูตร 30/70 จบแล้วมีงานทำ เรียนวิชาการน้อยแค่ 30% อาจทำให้เด็กมีปัญหา ไม่มีความรู้พื้นฐานสำคัญติดตัว ต่อไปจะกลายเป็นแรงงานไร้ฝีมือ "ด้านสมพงษ์ จิตระดับ" ชี้ สพฐ.ไม่ควรบ้าจี้ ตาม รมว.ศธ.ใหม่ ห่วงรื้อหลักสูตรใหม่ เรียนทฤษฎีแค่ 30% จะทำให้คุณภาพการศึกษาแย่ลง แนะให้คงอัตราไว้ที่เดิม แต่เพิ่มความเข้มข้นจะดีกว่า ชี้เรื่องการศึกษาตอบโจทย์ตลาดแรงงานอย่างเดียวไม่ได้ เพราะยังมีความเป็นพลเมือง และลักษณะความเป็นมนุษย์ด้วย พร้อมเสนอหลักสูตร 30:40:30 กลับไปให้ สพฐ.ด้วย
รศ.ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ในฐานะหนึ่งในกรรมการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวถึง การเตรียมปรับโครงสร้างเวลาเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 โดยทำเป็น 5 รูปแบบ มีสัดส่วนเวลาเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียนและภาคปฏิบัตินอกห้องเรียนลดหลั่นกัน ไป เริ่มตั้งแต่สัดส่วน ร้อยละ 70:30, 60:40, 50:50 และจะทยอยลงจนเหลือ 30:70 ในรูปแบบสุดท้าย เพราะต้องการลดการเรียนวิชาการลงเพิ่มการฝึกปฏิบัตินอกห้องโดยให้โรงเรียน เป็นผู้พิจารณาเลือกใช้รูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่ที่โรงเรียนตั้งอยู่ว่า ตนมองว่าหาก สพฐ.จะทำรูปแบบให้เลือกนั้น ควรให้พ่อแม่และนักเรียนเป็นผู้เลือกจะเหมาะสมกว่า นั่นเพราะพ่อแม่แต่ละคนมีจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน เพราะบางคนต้องการให้ลูกมีพี้นฐานความรู้ทางวิชาการมากเพื่อต่อยอดในการ ศึกษาต่อในระดับปริญญา ขณะที่บางคนก็ไม่ได้มุ่งเน้นวิชาการแต่อยากเน้นเรื่องการนำความรู้ไปสู่การ มีงานทำได้เลย แต่หาก สพฐ.จะให้โรงเรียนเป็นผู้เลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่นั้น ตนเห็นว่าโรงเรียนก็ควรจะต้องทำหลายรูปแบบเพื่อให้เด็กได้เลือกตามที่ต้อง การมากกว่าจะเลือกให้เอง และ สพฐ.ต้องไม่ลืมว่าโรงเรียนมีจำนวนมาก และในแต่ละพื้นที่ก็มีหลายโรงเรียนเช่นเดียวกัน ดังนั้นควรจะกำหนดทิศทางให้ชัดเจน
อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.สุขุมได้กล่าวเตือนถึง การลดวิชาการในหลักสูตรรูปแบบสุดท้ายเหลือเพียงร้อยละ 30 นั้น สพฐ.ต้องให้ความระมัดระวัง ต้องเอาจริงเอาจังในเรื่องวิชาการในส่วนนี้ อะไรที่เป็นวิชาการที่สำคัญ เด็กจำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ติดตัวเพื่อนำไปใช้ต่อยอดการประกอบอาชีพก็ ต้องทำอย่างเข้มข้น ไม่ใช่กำหนดแนวทางไปแล้ว ก็ปล่อยให้ลื่นไหลไปคนละทางไม่เช่นนั้นเด็กที่จบออกไปจะกลายเป็นแรงงานที่ ไม่มีคุณภาพ ที่สำคัญคือการต้องสร้างความเข้าใจต่อครูผู้สอน และพ่อแม่ของนักเรียนให้ดีด้วยถึงแนวทางดังกล่าว
นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยกับหลักการดังกล่าวที่จะวิชาภาคปฏิบัติมีสัดส่วนถึงร้อยละ 70 และเหลือวิชาภาคทฤษฎีร้อยละ 30 เพราะเด็กในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานควรจะได้เรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระวิชาเป็นหลัก เพื่อจะได้รู้ศักยภาพของตัวเองในการเลือกเรียนในระดับที่สูงกว่า และทำงานต่อไป อีกทั้งการสอนภาคปฏิบัติของไทยจากเดิมกำหนดร้อยละ 30 ครูก็ยังทำไม่เป็นเลย ทั้งนี้ หากจะมีการรื้อปรับหลักสูตรเพื่อให้มีงานทำควรจะเริ่มที่ระดับอาชีวศึกษาและ อุดมศึกษาจะดีกว่า
“สพฐ.จะต้องไม่บ้าจี้ไปกับนักการเมืองที่ต้องการจะให้ปฏิรูปการศึกษาเพื่อ ตอบโจทย์ตลาดแรงงานอย่างเดียว เพราะการศึกษายังมีเรื่องของความเป็นมนุษย์ คุณลักษณะของพลเมืองที่ดีด้วย ดังนั้น ควรจะกลับไปดูว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญที่เด็กควรจะได้เรียนใน ทุกกลุ่มสาระ ทั้งนี้ ผมก็เห็นด้วยหาก รมว.ศึกษาธิการต้องการจะปฏิรูปหลักสูตร เพราะมันถึงเวลาต้องเปลี่ยนแล้ว แต่ไม่ใช่มาเปลี่ยนอย่างนี้” อ.จุฬาฯ กล่าว และว่า นอกจากนี้ตนก็มีข้อเสนอการกำหนดอัตราส่วนหลักสูตรกลับไปให้ สพฐ.ด้วย โดยให้แบ่งเป็น 30:40:30 ได้แก่ เรียนจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างแท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ที่มีเนื้อหาเรื่องอาเซียน สถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ทันยุคทันสมัยในร้อยละ 30 เรียนรู้จากภาคทฤษฎีตาม 8 กลุ่มสาระเหมือนเดิมร้อยละ 40 และเรียนรู้จากภาคปฏิบัติอย่างเข้มข้นร้อยละ 30 เหมือนเดิม.
ที่มา :
http://www.manager.co.th/QOL/default.html
ไทยรัฐ วันที่ 9 กันยายน 2554
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554
http://www.sahavicha.com/