Krukaroon: สรุปเนื้อหาวิชาก้าวทันโลกศึกษา 1 รหัส ส 31221 ครั้งที่ 1

!!!การุณย์ สุวรรณรักษา สังคมศึกษาฯ วรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา!!

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สรุปเนื้อหาวิชาก้าวทันโลกศึกษา 1 รหัส ส 31221 ครั้งที่ 1

  เพื่อเป็นการสรุปประเด็นอันเป็นสาระสำคัญ สำหรับเนื้อสาระของบทเรียนวิชาก้าวทันโลกศึกษา 1 รหัส ส 31221 หรือ รายวิชาการปกครองของไทยเดิม นั่นเอง  ผู้สอนขอสรุปสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. การปกครองสมัยกรุงสุโขทัย  
    -ระบบการปกครองราชาธิปไตย แบบพิเศษเรียกว่า ระบบพ่อปกครองของ (Paternalism Goverment)
    - ปัจจัยเอื้ออำนวยให้ปกครองระบบนี้ได้ เพราะพลเมืองมีน้อยนั่นเอง
    - สุโขทัยมีกษัตริย์ปกครองรวม 8  พระองค์
    - พ่อขุนรามฯ ประดิษฐ์อักษรไทย  รับพุทธศาสนาหินยานมาประจำอาณาจักรเป็นครั้งแรก
      ประเทศไทยย่างก้าวเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในสมัยนี้ เพราะมีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก
     - พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) แต่งเรื่อง
ไตรภูมิพระร่วงหรือเตภูมิกถา และบวชในขณะครองราชย์เป็นพระองค์แรกของไทย
     - ตั้งแต่สมัยนี้เป็นต้นไป กษัตริย์จะได้สมญานามว่า "ธรรมราชา"  มีที่ 1-4





                                   จากhttp://upload.wikimedia.org2. กรุงศรีอยุธยา
     -ปกครองด้วยระบบราชาธิปไตย แบบสมบูรณาญาสิทธิราช ที่มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า
ระบบ"ข้ากับเจ้า"หรือ "บ่าวกับนาย" (Autocratic Government)
     - รับลัทธิเทวราชามาจากอินเดีย (ผ่านทางเขมร) ทำให้ฐานะของกษัตริย์ เปรียบเสมือน
เทพเจ้าโดยสมมติหรือสมมติเทพ  เรียกกษัตริย์ว่า พระเจ้า  มีคำราชาศัพท์เกิดขึ้น มี่ระบบศักดินา  มีระบบมูลนาย เกิดขึ้นในสังคมไทยเป็นครั้งแรก
     - กฎหมายที่ใช้ตลอดสมัยนี้คือ พระราชศาสตร์ กับ พระธรรมศาสตร์ (รับจากอินเดีย)
พระราชศาสตร์ คือพระราชวินิจฉัยของกษัตริย์ของเราพระองค์ก่อน ๆหรือองค์ปัจจุบัน
     - รับหลักการปกครองแบบ "จตุสดมภ์"มาจากขอม
     - สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี คือสมุหนายก ฝ่ายซ้าย
สมุหกลาโหมฝ่ายขวา   ทรงเปลี่ยนชื่อจตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา เป็น นครบาล ธรรมาธิกร
โกษาธิบดีและเกษตราธิการ
     -เสียกรุงฯครั้งแรกสมัยพระมหินทราธิราช  ทำสงครามแพ้แก่กษัตริย์บุเรงนองของพม่า(สาเหตุสำคัญเพราะไทยเราแตกสามัคคี พระมหาจักรพรรดิ กับพระมหาธรรมราชาแตกแยกัน พระมหาธรรมราชาฝักใฝ่ฝ่ายพม่า) พระนเรศวรฯทรงกู้เอกราชกลับคืนมา ซึ่งเราตกเป็นเมืองขึ้นอยู่ 15 ปี
     -เสียกรุงฯครั้งที่ 2 สมัยพระเจ้าเอกทัศน์ เพราะเกิดความไม่ลงรอยกันระหว่าง "ทวิราชา
" คือพระเจ้าเอกทัศน์ กับพระเจ้าอุทุมพร ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าบรมโกศ ต่างมารดากัน
เอกทัศน์เป็นพี่ อุทุมพรเป็นน้อง แก่งแย่งบัลลังก์กัน อุทุมพรต้องไปบวช จนได้ชื่อว่า "ขุนหลวงหาวัด"
       กษัตริย์ที่ยกทัพมาตีกรุงศรีฯแตกครั้งที่สองคือ พระเจ้ามังระ  และพระเจ้าตากสิน
ได้กู้เอกราชกลับคืนมา  อยุูธยาเป็นเมืองหลวง 417 ปี มีกษัตริย์ 34 องค์  5 ราชวงศ์ ได้แก่
1. ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
3. ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
4. ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 องค์

3. กรุงธนบุรี เป็นราชธานี 15 ปี มีกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวได้แก่ พระเจ้าตากสิน
การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ยืดถือแบบการแบบกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
การ ปกครองส่วนกลาง
กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง " เจ้าพระยา " จำนวน 2 ท่าน ได้แก่
  • สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" หรือที่เรียกว่า "ออกญาจักรี"
  • สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี "เจ้าพระยามหาเสนา" หรือที่เรียกว่า "ออกญากลาโหม"
ส่วนจตุสดมภ์นั้นยังมีไว้ เหมือนเดิม มีเสนาบดีตำแหน่ง " พระยา " จำนวน 4 ท่าน ได้แก่

การ ปกครองส่วนภูมิภาค

  • หัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบๆไม่ไกลจากราชธานี
  • เมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง
การศาลสมัย กรุงศรีอยุธยาตอนต้น
เกี่ยวกับการพิจารณาคดีในสมัยพระจ้าอู่ทองนั้น ได้อยู่ในอำนาจของเสนาบดีจตุสดมภ์ดังนี้
1. เสนาบดีกรมเมือง พิจารณาพิพากษาคดีอุกฉกรรจ์ที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นภายในแผ่นดิน
2. เสนาบดีกรมวัง พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทของราษฎร
3. เสนาบดีกรมคลัง พิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับพระราชทรัพย์
4. เสนาบดีกรมนา พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับ ที่นา โคกระบือ เพื่อระงับข้อพิพากของชาวนา

    4. รัตนโกสินทร์ตอนต้น ร.1-ร.4
                                      วัดประจำรัชกาลที่ 1 (วัดโพธิ์ )
    รูปภาพจาก   http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit4/chapter4/chapter4_1/Ram1_7_history.htm
     
    เหตุผล ในการย้ายราชธานี
           1. ราชวังเดิมไม่เหมาะสมในแง่ยุทธศาสตร์ เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ยาก แก่การป้องกันรักษา 
           2. ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีชัยภูมิดีกว่า เพราะเป็นด้านหัวแหลม มีลำน้ำเป็นพรมแดนกว่าครึ่ง
           3. เขตพระราชวังเดิมขยายไม่ได้ เพราะมีวัดกระหนาบอยู่ทั้งสองข้าง ได้แก่วัดแจ้งและวัดท้ายตลาด เพิ่มเติม วัดอรุณราชวราราม ( วัดแจ้ง ) และ วัดโมฬีโลกยาราม ( วัดท้ายตลาด )
    -วันจักรี 6 เมษายน 2325   เวลาในการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ 2325-2328 รวม 3 ปี
    -รับเลี้ยงดูองค์เชียงสือ (ญวน)และนักองค์เอง(เขมร)ภายหลังกลับไปครองราชย์ทั้ง 2 องค์
    -จัดทำกฎหมายใหม่ เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง คือ ตราราชสีห์ ตราประจำตำแหน่ง
    สมุหนายก  ตราคชสีห์ ตราประจำตำแหน่ง สมุหกลาโหม และตราบัวแก้ว ตราประำจำตำแหน่งของโกษาธิบดี กฎหมายนี้ได้ยกเลิกเมื่อมีประมวลกฎหมายเล่มแรกของไทยใน พ.ศ. 2451 สมัยรัชกาลที่ 5

    รูปภาพจาก    http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit4/chapter4/chapter4_1/Ram1_3_history.htm รายละเอียดเพิ่มเติมด้านกฎหมายและการศาล ไทย
    กฎหมายไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียที่เรียกว่า คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ หรือคัมภีร์ธรรมสัตถัมของอินเดีย ซึ่งไทยได้รับการถ่ายทอดมาจากมอญอีกต่อหนึ่ง ในการตัดสินคดีความนั้นจะมีพราหมณ์ ที่เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง จำนวน 12 คนไปผู้ชี้ตัวบทกฎหมายว่าใครผิดใครถูก จากนั้นจึงส่งเรื่องไปให้ตุลาการบังคับคดี หรือ ลงโทษผู้กระทำผิดตามที่ลูกขุนตัดสิน
    พระธรรมศาสตร์ เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิหน้าที่ของบุคคลทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งเทียบได้กับกฎหมายแม่บทของไทยในปัจจุบันคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์จะตราพระราชกำหนดกฎหมายใด ๆ ต้องคำนึงถึงพระธรรมศาสตร์ จะทรงตรากฎหมายให้ขัดกับพระธรรมศาสตร์ไม่ได้ กฎหมายที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศอีกประเภทหนึ่งคือ พระราชศาสตร์ เป็นพระราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ เป็นบทบัญญัติปลีกย่อย จากพระธรรมศาสตร์ เรียกว่า สาขาคดี
    ในการไต่สวนพิจารณาคดีในสมัยโบราณ เนื่องจากยังขาดความรู้ในเรื่องการสอบสวน จึงนิยมใช้วิธีการแบบจารีตนครบาล โดยการทรมานผู้ต้องหาให้รับสารภาพ เช่น ตอกเล็บ เฆี่ยนตี ลุยเพลิง เสี่ยงเทียน บีบขมับ
    การแก้ไขกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ชำระกฎหมาย อันเนื่องมาจาก อำแดงป้อมฟ้องหย่า นายบุญศรีผู้เป็นสามี มีอาชีพเป็นช่างเหล็กหลวง ซึ่งอำแดงป้อมมีชู้ แต่กลับมาฟ้องหย่าสามี ในสมัยนั้นถ้าภรรยาฟ้องหย่าตามกฎหมายภรรยาจะได้ทรัพย์สินก่อนแต่งงานเป็นของ ตน รัชกาลที่ 1 เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงโปรดให้ชำระกฎหมายใหม่ โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดข้าทูลละอองธุลีพระบาท ประกอบด้วยอาลักษณ์ 4 นาย ฝ่ายลูกขุน 3 นาย ฝ่ายราชบัณฑิต 4 นาย รวม 11 นาย ร่วมกันชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการในแผ่นดิน ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์ลงมา โดยจัดเป็นหมวดหมู่และปรับปรุงให้ยุติธรรมยิ่งขึ้น เมื่อชำระเสร็จ เรียบร้อยแล้ว ได้โปรดให้อาลักษณ์คัดลอกไว้รวม 3 ชุด โดยเก็บรักษาไว้ที่ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง ศาลหลวงชุดหนึ่ง โดยให้ประทับตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และตราบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญทุกเล่ม ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง หรือ ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1


    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีผลงานที่พระราชนิพนธ์
    คำกลอนบทละครเรื่องรามเกียรติ์
    คำกลอนบทละครเรื่องอิเหนา มีทั้งอิเหนาใหญ่ ( ดาหลัง ) และอิเหนาเล็ก ( อิเหนา )
    คำกลอนบทละครเรื่องอุณรุท
    กลอนเพลงยาวนิราศเรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดงหรือที่เรียกว่า นิราศท่าดินแดง
    พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม )



    -รัชกาลที่ 2


    เป็นโอรสองค์ที่ 4 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับสมเด็จพระอมรินทรา
    บรมราชินี
    พระราชลัญจกร เป็นรูปครุฑยุดนาค เป็นพระราชสัญลักษณ์ ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ฉิม" อันหมายถึงพญาครุฑ ในวรรณคดีไทย ซึ่งอยู่ที่วิมานชื่อ "ฉิมพลี"
     
    ทรงฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชา มาจนถึงปััจจุบันนี้
    วัดอรุณราชวราราม ซึ่งถือว่าเป็นวันประจำรัชกาลที่ 2 เดิมชื่อ วัดบางมะกอก

    ด้านกวีและวรรณกรรม
    ในสมัยรัชการที่ 2 นี้จัดว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรม จนกล่าวได้ว่า “ถ้าใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด”
    กวีที่สำคัญ ได้แก่
    1 . รัชการที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์ อิเหนา รามเกียรติ์ บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ไกรทอง คาวี มณีพิชัย สังข์ทอง
    2 . สุนทรภู่ หรือพระสุนทรโวหาร แต่งเรื่อง พระอภัยมณี ลักษณะวงศ์ สิงหไตรภพ โคบุตร พระไชยสุริยา นอกจากนี้ ยังมีนิราศ เช่น นิราศเมืองแกลง นิราศเมืองสุพรรณ นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา
    นิราศเมืองเพชรบุรี นิราศพระประธม นิราศทั้งหมดล้วนเป็นคำกลอน ยกเว้นนิราศเมืองสุพรรณเป็นโคลงสี่สุภาพ
    3 . พระยาตรัง แต่ง โคลงนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย
    4 . นายนรินทร์ธิเบศร์ (อินทร์) แต่งโคลงนิราศนรินทร์
     

    รัชกาลที่ 3



    รัชกาลที่ 3 มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าทับ” เป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ 2 กับเจ้าจอมมารดาเรียม ( กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย )


    พระราชลัญจกรเป็นรูปปราสาท เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย ว่า "ทับ" อันหมายถึง ที่อยู่ หรือ เรือน

                              วัดราชโอรสาราม ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3
     

    การทำสัญญาทางการค้าของตะวันตก


    -ไทยกับอังกฤษตกลงกันได้จึงทำสัญญาต่อกันนับ เป็นสัญญาโดยสมบูรณ์ฉบับแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อเรียกว่า “สัญญา เบอร์นี่”
    -ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาได้ มีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2376 โดยประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจ๊คสัน ได้ส่ง เอ็ดมันด์ โรเบอร์ต Edmund Roberts คนไทยเรียก “เอมินราบัด” เป็นทูตเข้ามาทำสัญญาการค้ากับไทย


    ด้านวรรณกรรมพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้สนพระทัยในด้านการประพันธ์มากนัก ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระองค์ได้พระราชนิพนธ์ วรรณคดีไว้ ที่สำคัญ ได้แก่ บทละครนอกเรื่องสังข์ศิลป์ชัย เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างตามนางวันทอง โคลงปราบดาภิเษก เมื่อขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ก็ทรงสนับสนุนวรรณคดีที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่เป็นผลงานของ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส  

    รัชกาลที่ 4
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้ามงกุฎ” เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

    พระราชลัญจกร
    ป็นรูปพระ มหาพิชัยมงกุฎ ในกรอบรูปกลมรี เป็นพระราชสัญลักษณ์์ ของพระบรมนามาภิไธยว่า "มงกุฎ" มีฉัตรตั้งขนาบพระมหาพิชัยมงกุฎทั้งสองข้างมีพานทองสองชั้นวางแว่นสุริยกาล หรือเพชรข้างหนึ่งวางสมุดตำราข้างหนึ่ง พระแว่นสุริยกาลหรือเพชร มาจาก ฉายา เมื่อทรงผนวช ว่า "วชิรญาณ" ส่วนสมุดตำรามาจากการที่ได้ทรง ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญในด้าน อักษรศาสตร์และดาราศาสตร์


    -โปรดให้ ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังนามว่า โรง อักษรพิมพการ เพื่อใช้พิมพ์เอกสารต่าง ๆ ของทางราชการ โดยพิมพ์ออกมาในรูปหนังสือพิมพ์แถลงข่าวของทางราชการ โดยพระราชทานนามว่า “ราชกิจจานุเบกษา
    -มีการ จัดตั้งศาลกงสุลขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจัดตั้งขึ้นอันเนื่องมาจากการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตก เมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างคนไทยกับคนในบังคับของชาวต่างชาติหรือชาวต่างชาติ แล้ว ถ้าเป็นความอาญาและคนในบังคับของชาวต่างชาติหรือชาวต่างชาติเป็นผู้กระทำผิด กงสุลประเทศนั้น ๆ จะเป็นผู้พิจารณาพิพากษาโทษ ตามกฎหมายของเขาเอง ลักษณะอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยไม่มีเอกราชในทางศาลหรือที่เรียกกัน ว่า ไทยเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต


    วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2407 พระราชทานถวายเป็นพระอารามสำหรับพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย ซึ่งวัดนี้ เป็นพระอารามประจำ รัชกาล 4 
                                       วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

    สนธิสัญญาเบาว์ริง
    พระราชินีวิคตอเรียของอังกฤษได้ส่ง เซอร์ยอห์น เบาว์ริง Sir John Bowring ซึ่งเป็นผู้ตรวจการค้าของอังกฤษจากฮ่องกง เป็นทูตเข้ามาเจรจาทำการค้ากับไทย

     
    ส่งคณะทูตสยาม ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส โดยมีพระยาศรีพิพัฒน์ ( แพ บุนนาค ) เป็นราชทูต เจ้าหมื่นไวยวรนาถ เป็นอุปทูต พระณรงค์วิชิตเป็นตรีทูต เชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ในปี พ.ศ. 2404 โดยขบวนเรือของกองทัพฝรั่งเศส
            ทำแบบทดสอบสาระประวัติศาสตร์คลิกที่นี่                  http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/work/work.html

                     ขอขอบคุณ Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
    186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
    e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
    Tel; 089-200-7752 mobile

    2 ความคิดเห็น:

    1. ตู๊ดดดดดดดดด

      เยอะไปครับบบ

      ไม่ผ่านเลย 5 5

      แต่ผมจะตั้งใจอ่านละกันครับ

      ^^ เอาลอกลงบลอคได้มั้ยครับ

      ตอบลบ
    2. ชอบนะค่ะ

      ตอบลบ

    นักเรียนทุกคน ช่วยตอบแบบสอบถามนี้ด้วยค่ะ

    ดูทีวีครูเรียนรู้วิทยายุทธ

    Subscribe Now: Feed Icon