Krukaroon: การปกครองสมัยรัชกาลที่ 5-7

!!!การุณย์ สุวรรณรักษา สังคมศึกษาฯ วรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา!!

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยรัชกาลที่ 5-7

รัชกาลที่ 5

รัชกาลที่ 5 มีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ” เป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ 4 กับสมเด็จพระเทพ ศิรินทราบรมราชินี (พระองค์เจ้ารำเพยภมาภิรมย์)ในระยะแรก พระองค์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยงวศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และได้สถาปนาโอรสองค์ใหญ่ ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล นามว่า กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ

พระราชลัญจกร เป็นรูป พระจุลมงกุฎเปล่งรัศมี บนพานแว่นฟ้า
เป็นสัญลักษณ์ของ พระบรมนามาภิไธย    "จุฬาลงกรณ์"
มีฉัตรตั้งขนาบข้าง ริมขอบสองข้าง มีแว่นสุริยกานต์ข้างหนึ่ง กับสมุด
ตำราข้างหนึ่งวางอยู่บนพานแว่นฟ้า


-วัดราชบพิธสถิตมหา สีมาราม ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5



ด้านการปกครองตั้งสภาแผ่นดิน 2 สภาได้แก่
1. รัฐมนตรีสภา Council of State ประกอบด้วยขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยาทั้งหมด 12 คน มีพระองค์ท่านเป็นประธาน รัฐมนตรีสภามีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน รวมทั้งพิจารณาพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ ด้วย เหมือนสภานิติบัญญัติในปัจจุบัน
2. องคมนตรีสภา Privy Council ประกอบด้วยสมาชิก 49 คน มีเชื้อพระวงศ 13 พระองค์ ทำหน้าที่เป็นสภา ที่ปรึกษา ราชการในพระองค์และมีหน้าที่ปฏิบัติราชการแผ่นดินตามแต่จะมีพระราชดำรัส
    ปฏิรูปองค์การบริหารในส่วนกลางใหม่ดังนี้
เดิมมีอยู่ 6 กรม ได้แก่ กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมเมือง กรมวัง กรมท่า และกรมนา
ตั้งขึ้นใหม่ 6 กรม ได้แก่ กรมพระคลัง กรมยุติธรรม กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ กรมยุทธนาธิการ และ กรมมุรธาธร รวมเป็น 12 กรม ต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง

      การปกครองส่วนภูมิภาค
       ให้ยกเลิกเมืองพระยามหานคร ชั้นเอก โท ตรี จัตวา และหัวเมืองประเทศราช โดยจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียว ปรากฎว่าในปี พ.ศ. 2449 ได้จัดแบ่งพระราชอาณาจักรออกเป็น 18 มณฑล

       ในปี พ.ศ. 2440 ทรงตราพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ขึ้น สำหรับจัดการปกครองในเขตอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ตามแผนภูมิดังนี้
 องค์กร  ผู้บังคับบัญชา
กระทรวงมหาดไทย
มณฑลเทศาภิบาล
เมือง    
แขวง (อำเภอ)  
ตำบล   
หมู่บ้าน
เสนาบดี
ข้าหลางเทศาภิบาลหรือสมุหเทศาภิบาล
ผู้ว่าราชการเมือง
หมื่น (นายอำเภอ)
พัน (กำนัน)
ทนาย (ผู้ใหญ่บ้าน)

 ด้านการศาล
      โปรดฯให้ตราพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ขึ้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2451 โดยแบ่งศาลออกเป็น 3 แผนก คือ
3.1 ศาลฎีกา
3.2 ศาลสถิตย์ยุติธรรมกรุงเทพฯ
3.3 ศาลหัวเมือง

      -ยกเลิกกฎหมายตราสามดวง
      -ยกเลิกตำแหน่ง พระมหาอุปราช หรือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เสีย แล้วตั้งตำแหน่ง มกุฎราชกุมาร ขึ้นแทน ผู้ได้รับการสถาปนาให้เป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกคือ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (สิ้นพระชนม์ เมื่อพระชันษาได้เพียง 17 ปี) ต่อมาจึงโปรดให้สถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 6)

      ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวง ยุติธรรมเป็นผู้อำนวยการ ด้วยเหตุนี้ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ จึงได้รับการว่าเป็น พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย

      พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จบจากอังกฤษ เป็นนักเรียน นายเรือพระองค์แรก ของไทยและเป็นพระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย




      ด้านวรรณกรรม
  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน ไกลบ้าน พระราชวิจารณ์ทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ลิลิตนิทราชาคริต บทละครเรื่องเงาะป่า กวีนิพนธ์เบ็ดเตล็ด กลอนไดอารีซึมทราบกับตามเสด็จไทรโยค โคลงรามเกียรติ์ พระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำ พระราชวิจารณ์เทียบลัทธิพุทธศาสนาฝ่ายหินยานกับมหายาน พระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน และพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสตามที่ต่าง ๆ ตลอดจนพระราชหัตถเลขาที่ทรงมีถึงเจ้านายและบุคคลสำคัญต่าง ๆ อีกมากมาย



ประวัติการเสียดินแดน 14 ครั้งของประเทศไทย คลิกที่นี่


รัชกาลที่ 6
 มีพระนามเดิมว่า “เจ้า ฟ้ามหาวชิราวุธ” เป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ 5 กับ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี)

   เรียกว่าพระราชกัญจกรพระวชิระ เป็นรูป วชิราวุธ ยอดมีรัศมีประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ตั้งอยู่เหนือดั่ง มีฉัตรกลีบบัวตั้งอยู่สองข้าง เป็นสัญลักษณ์ของ พระบรมนามาภิไธยว่า "วชิราวุธ" ซึ่งหมายถึงศาสตราวุธของพระอินทร์.



- เปลี่ยนชื่อกระทรวง ธรรมการเป็น กระทรวง ศึกษาธิการ
-สร้างสนาม บินดอนเมือง 

การปรับปรุงการระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
   -โปรดให้รวมมณฑลที่อยู่ใกล้กันจัดตั้งเป็น
ภาค



   การสร้างเมืองจำลอง
จัดสร้างนครจำลองขึ้นเพื่อฝึกฝนให้ข้าราชบริพารของ พระองค์ ให้ได้รู้จักและเข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในวันข้างหน้า นครจำลองนี้ได้พระราชทานนามว่า ดุสิตธานี เพราะเดิมตั้งอยู่ในเขตพระราชวังดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่ พระราชวัง พญาไท (โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า) ภายในดุสิตธานี จะจำลองสถานที่สำคัญต่าง ๆ ไว้ อาทิ ที่ทำการรัฐบาล วัดวาอาราม บ้านเรือนราษฎร ที่ทำการไปรษณีย์ การไฟ้า ประปาและมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานครบทั้งหมด ในนครจำลองนี้จัดให้มีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีประชาชนที่อาศัยอยู่ในนครดุสิตธานี เรียกว่า ทวยนาคร โดยทวยนาคร จะทำหน้าที่เลือกตั้ง ผู้แทนราษฎร เข้าไปเป็นกรรมการในคณะนคราภิบาล เรียกว่า เชษฐบุรุษ ซึ่ง เชษฐบุรุษ จะเลือกตั้งคณะรัฐบาลบริหารนครนี้ เรียกว่า คณะนคราภิบาล มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ทวยนาครในดุสิตธานี ซึ่งเรียกว่า ธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาล พระพุทธศักราช 2461 และมีการประกาศใช้ กฎธานิโยปการ ในนครนี้ด้วย กฎธานิโย ปการเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการเก็บภาษีอากร ภาษีที่ดิน ค่าน้ำประปา ค่าไฟ ฯลฯ เพื่อนำไปทำนุบำรุงนครดุสิตธานี

-เกิดกบฎ ร.ศ.130

   เหตุการณ์ ร.ศ. 130
เมื่อรัชกาลที่ 6 ขึ้นครองราชย์ มีคณะบุคคลกลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย โดยมี
ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ (นายแพทย์ เหล็ง ศรีจันทร์ ) เป็นหัวหน้า คณะปฏิวัติรุ่นนี้มีชื่อเรียกกันในเวลาต่อมาว่า คณะปฏิวัติ ร.ศ. 130
คณะปฏิวัติได้กำหนดจะทำการปฏิวัติใน
พระ ราชพิธีสัจปานกาลถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตาม ธรรมเนียม ที่เคยปฏิบัติมาทุกปี แต่ทำไม่สำเร็จเพราะมีสมาชิกในคณะปฏิวัตินำข่าวมาบอกแก่รัฐบาล ทำให้ คณะปฏิวัติ ถูกจับกุม เหตุการณ์ครั้งนี้จึงเรียกว่า กบฎ ร.ศ. 130 ผู้นำข่าวมาแจ้งรัชกาลที่ 6 คือ ร.อ. หลวงสินาดโยธารักษ์ (ยุทธ หรือ แต้ม คงอยู่) ภายหลังได้เลื่อนขึ้นเป็น พ.อ. พระยากำแพงรามภัคดี ต่อมาภายหลังผูกคอตายในห้องขังเมื่อคราวถูกจับกุมในคดีกบฏบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2476 ผู้นำในคณะปฏิวัติ ร.ศ. 130 ถูกศาลตัดสินให้ประหารชีวิต รวม 3 คน แต่รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานอภัยโทษ และถูกปล่อยตัวทั้งหมดภายหลัง


รัชกาลที่ 7



เป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ 5 กับ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ( พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ) มีพระนามเดิมว่า “เจ้า ฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา” ทรงเป็นพระ อนุชาร่วมพระราชบิดาและพระมารดาเดียวกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว

เป็นรูปพระแสงศร ๓ องค์ คือ พระแสงศรพรหมมาสตร์ พระแสงศร ประลัยวาตและ พระแสงศรอัคนีวาต บนราวพาดพระแสง เหนือขึ้นไปเป็น ดวงตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ ภายใต้ พระมหาพิชัยมงกุฎ ด้านซ้ายและขวา ตั้งบังแทรก มีลายกนกแทรกอยู่ บนพื้นตอนบนของ ดวงตรา พระแสงศร ๓ องค์ นี้เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม นามาภิไธย
"ประชาธิปกศักดิเดชน์" "เดชน์" แปลว่า ลูกศร



มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการ ได้แก่
อภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการทั้งปวงในพระองค์ สมาชิกของสภานี้ล้วนเป็นพระบรมวงศา นุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ สภานี้กำหนดให้มีการประชุมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในวันศุกร์ โดยมี รัชกาลที่ 7 เป็นประธาน


องคมนตรีสภา จัดตั้ง เมื่อ 2 กันยายน 2470 มีคณะกรรมการจำนวน 40 คนเรียกว่า สภากรรมการองคมนตรี เปิดประชุมสภาครั้งแรกเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2470 โดยมี กรมหมื่น พิทยาลงกรณ์เป็นประธานสภา องคมนตรีสภานี้กล่าวกันว่าจะโปรดให้ทำหน้าที่เป็น รัฐสภา เพื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา

เสนาบดีสภา สภานี้เดิมเคยมีอยู่แล้ว ประกอบด้วยสมาชิกผู้เป็นเสนาบดีบังคับบัญชาราชการกระทรวงต่าง ๆ มีหน้าที่สำหรับทรงปรึกษาหารือราชการ อันกำหนดไว้ให้ เป็นหน้าที่ในกระทรวงนั้น ๆ ในการประชุม รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นประธาน 

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 24 มิถุนายน 2475
มูลเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอ ประชาธิปไตย
        1. ความไม่พร้อมในการเป็นพระมหากษัตริย์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์ไม่ได้เตรียมตัวมาเพื่อเป็นพระมหากษัตริย์ จึงไม่กล้าตัดสินใจ ทั้งที่มีอำนาจสิทธิ์ขาด โดยสมบูรณ์แบบในการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่อำนาจต่าง ๆ ตกอยู่กับคณะอภิรัฐมนตรีสภา อาทิ การยับยั้งการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ประชาชน แล้วเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย เนื่องในโอกาสกรุงเทพมหานคร มีอายุครบ 150 ปี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475
        2. ราษฎรมีการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ได้รับข่าวสาร ความรู้ แนวคิดจากชาติตะวันตก ที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ในรูปแบบประชาธิปไตย โดยเฉพาะผู้ที่ไปศึกษามาจากทวีปยุโรป อาทิ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารจากประเทศเยอรมัน หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตะสังคะ) สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารปืนใหญ่จากประเทศฝรั่งเศส หลวงสินธุ์สงคราม (ร.ท. สินธุ์ กมลนาวิน) สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือจากประเทศเดนมาร์ก หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ( ปรีดี พนมยงค์ ) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมายจากประเทศฝรั่งเศส หลวงโกวิท อภัยวงศ์ ( ควง อภัยวงศ์ ) สำเร็จการศึกษาวิชาวิศวกรรมจากประเทศฝรั่งเศส นายประยูร ภมรมนตรี สำเร็จการศึกษาวิชาการเมืองจากประเทศฝรั่งเศส
        3. ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อการบริหารประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สาเหตุภายในประเทศสืบเนื่องมาจากมีการใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 6 รัฐบาลหารายได้ไม่พอกับการใช้จ่ายทำให้ขาดดุลงบประมาณ ถึงแม้ว่าพระองค์จะตัดทอนรายจ่ายของรัฐที่เป็นเงินเดือนของพระองค์ ลดจำนวนมหาดเล็ก ยุบมณฑล ยุบจังหวัด เพื่อลดจำนวนข้าราชการลง ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ การแก้ปัญหาต่าง ๆ แบบนี้ทำให้ฐานะการเงินดีขึ้นบ้าง แต่ก็มีผู้ไม่พอใจโดยเฉพาะข้าราชการที่ถูกปลด หรือแม้แต่ข้าราชการที่ไม่ถูกปลด แต่ก็มีการเก็บภาษีเงินเดือนข้าราชการ จากมูลเหตุดังกล่าวทีนำไปสู่เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบ ประชาธิปไตย โดย คณะราษฎร์
ขณะที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปรพระราชฐาน ณ พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
“คณะ ราษฎร์” ทำการปฏิวัติประกาศยึดอำนาจ โดยนำกำลังทหารและพลเรือน เข้ายึดสถานที่สำคัญของทางราชการและควบคุม บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ เจ้านายชั้นสูงและข้าราชการฝ่ายรัฐบาล ไปไว้ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อเป็นตัวประกัน

มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่หนีไปได้คือ พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน โดยหนีขึ้นรถไฟไปแจ้งให้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ เหตุการณ์การปฏิวัติ
เมื่อคณะราษฎร์ยึดอำนาจได้แล้ว จึงประกาศใช้หลัก 6 ประการบริหารประเทศได้แก่ หลักเอกราช หลักความปลอดภัย หลักเศรษฐกิจ หลักเสมอภาค หลักเสรีภาพ หลักการศึกษา
        1. จะต้องรักษาความเป็น
เอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชทางการเมือง ทางการศาล ทางเศรษฐกิจของประเทศ ไว้ให้มั่นคง
        2. จะต้องรักษาความ
ปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันให้น้อยลงมาก
        3. จะต้องบำรุงความสุขสบายของราษฎรในทาง
เศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะจัดหางานให้ราษฎรทำและจัดวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
        4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิ
เสมอภาคกัน
        5. จะต้องให้ราษฎรมี
เสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อมีเสรีภาพไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
        6. จะต้องให้
การศึกษาแก่ราษฎรอย่างเต็มที่

บุคคลสำคัญของคณะราษฎร์ฝ่ายทหารบกประกอบด้วย
   พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา ( พจน์ พหลโยธิน ) เป็นหัวหน้าใหญ่
 
 อำมาตย์ตรี หลวง ประดิษฐ์มนูธรรม ( นายปรีดี พนมยงค์ ) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นมันสมองของ คณะราษฎร์ ผู้คิดการปฏิวัติในครั้งนี้ เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของเมืองไทย    

พระราชทาน พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ในวันที่ 27 มิถุนายน 2475

-สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวจำนวน 70 นาย โดยมีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร์คนแรก และพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็น ประธานกรรมการราษฎร ( นายกรัฐมนตรี ) และเลือกคณะกรรมการราษฎร ( คณะรัฐมนตรี ) 14 นาย ทำหน้าที่บริหารประเทศ และ เลือกสมาชิกในคณะราษฎร์อีก 9 นาย ทำหน้าที่ร่าง รัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อร่างเสร็จแล้วรัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานคืนมาให้เมื่อ 10 ธันวาคม 2475



หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้วได้มีการตั้งคณะรัฐบาลบริหารประเทศ โดยมีมหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (
นายก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรี มีคณะรัฐมนตรี จำนวน 20 นาย  
-ได้เกิดการขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาล กับรัฐสภา อันเนื่องมาจากเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวง ประดิษฐ์มนูธรรม ได้เขียนไว้ในสมุดปกเหลืองซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นเค้าโครงเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ของรัสเซีย ซึ่งตรงกับพระราชวินิจฉัย ในสมุดปก ขาวของรัชกาลที่ 7 รัฐบาลจึงสั่งปิดสภา พระยามโนปกรณ์ฯ ได้ขอร้อง ให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเดินทางออกไปอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศส 

-20 มิถุนายน 2476 พระยาพหลพลพยุหเสนา ทำการปฏิวัติแล้วแต่งตั้งตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีพร้อมกับเชิญหลวงประดิษฐ์มนู ธรรม กลับมาช่วยกันบริหารประเทศ ต่อมาสมาชิกของคณะราษฎร์บางคนละทิ้งสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน รัฐบาลปล่อยให้ประชาชนฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
     21 ตุลาคม 2476
“คณะกู้บ้านเมือง” ภายใต้การนำของพลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช กฤดากร ได้นำกำลังทหารจากนครราชสีมา สระบุรี อยุธยา เข้ามาทำการปฏิวัติเพื่อให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขอย่างแท้จริง กองทหารของคณะกู้บ้านเมืองได้ต่อสู้กับทหารของ รัฐบาลบริเวณดอนเมือง ผลปรากฏว่าทหารของฝ่ายรัฐบาลชนะ พระองค์เจ้าบวรเดชต้องลี้ภัย ไปอยู่ที่ อินโด จีน เหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า “กบฏบวรเดช”
     12 มกราคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษ ขณะที่ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษมีเรื่องไม่สบพระราชหฤทัยบางประการ จึงประกาศสละราชสมบัติ เมื่อ
2 มีนาคม 2477 รัฐบาลจึงได้อัญเชิญ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็น รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี  

ทำแบบทดสอบคลิกวิชาประวัติศาสตร์ที่นี่ 

ขอขอบคุณ Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th

2 ความคิดเห็น:

  1. ครู รุณคะส่งงานไงคะ

    หนูชื่อ ธันยธรณ์ จิตจันทร์

    ม.5/2 เลขที่ 29

    ตอบลบ
  2. ธันยธรณ์ จิตจันทร์ 5/2เลขที่ 29
    ส่งงานค่ะ

    ตอบลบ

นักเรียนทุกคน ช่วยตอบแบบสอบถามนี้ด้วยค่ะ

ดูทีวีครูเรียนรู้วิทยายุทธ

Subscribe Now: Feed Icon