พอดีกระแสของเครื่อง Tablet มาแรงในขณะนี้ จึงอยากให้พวกเราได้รู้และเข้าใจถึงความแตกต่าง
กันอย่างมากมายระหว่างเจ้าTablet กับ Notebook เมื่อเรามีความเข้าใจแล้ว เราจะได้พูดภาษาเดียวกันได้ แต่เมื่อไหร่ที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับเจ้าตัวนี้ เราจะพูดได้อย่างไรว่า "มันดี มันเหมาะสม กับการสร้างเอกสาร หรือผลิตสื่อการสอนของครูอย่างพวกเรา" แต่ถ้าเมื่อไหร่เราเข้าใจ เราจะรู้ทันทีว่าอย่างไหน
เหมาะกับครูอย่างพวกเรา ลองคลิกอ่านบทความนี้นะครับนี่คือบทสรุปคร่าว ๆนะครับ ต้องการรายละเอียดต้องคลิกเข้าไปอ่านด้านในครับ
สรุปก็คือ ถ้า Tablet มันต่อเน็ตไม่ได้ มันก็เหมือนกระดานธรรมดา ๆ ใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ คุณสมบัติอื่น ๆ ที่มีอย่างพวกโทรศัพท์มือถือก็แทบจะใช้งานได้ทั้งหมดอยู่แล้ว กลายเป็นว่าซื้อมาแล้วก็ใช้ได้แต่ในบ้าน เขียนมาซะยืดยาวจะเห็นได้ว่า Tablet เองก็เป็นเครื่องที่ทำออกมาสำหรับการใช้งานทั่ว ๆ ไป อย่างเช่น เล่นเว็บ ดูหนัง ฟังเพลง โดยเราสามารถพกพามันออกไปได้โดยง่าย แต่ขนาดเดียวกันมันก็ต้องการอินเทอร์เน็ต เพื่อจะให้มันใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพจริง ๆ ซึ่งบ้านเราขาดแคลนอย่างแรง Tablet จึงเหมาะสำหรับเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับคนที่มีพวกคอมพิวเตอร์หรือเน็ตบุ๊กไว้ ใช้ทำงานอยู่แล้ว เพราะทั้งสองอย่างก็มีเอกลักษณ์ไม่เหมาะกัน ถ้าคุณคิดจะซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งานเป็นอย่างแรก แนะนำให้ซื้อเน็ตบุ๊กเลยครับ
คลิกดูราคาของ Tablet sumsung galaxy tab 10.1 wifi no 3g
จะซื้อ tablet มาทำอะไร?
- ใช้พิมพ์งาน เวิร์ด เอ็กซ์เซลล์ powerpoint ประมาณว่าต้องพิมพ์เวิร์ดเป็นสิบๆ หน้า สูตรเอ็กซ์เซลล์ยาวเป็นกิโล หรือ ใช้ powerpoint เพื่อนำเสนองานทั้งสัปดาห์
คำแนะนำคือ tablet ไม่เหมาะกับงานที่คุณทำอยู่อย่างแน่นอน จริงอยู่ที่ tablet สามารถที่จะเปิดอ่านเอกสารได้ ทั้ง เวิร์ด เอ็กซ์เซลล์ powerpoint แต่ต้องบอกเลยว่า ณ ตอนนี้ ยังไม่มีโปรแกรมไหนที่ใช้งานได้อย่างเต็มความสามารถ ที่สำคัญ ระบบคีย์บอร์ดแบบ ทัชสกรีนมันไม่เมาะเอาซะเลยกับการพิมพ์งานหนักๆ
ข้อมูลจาก http://share.psu.ac.th/blog/teddy-share/21326
คิดก่อนซื้อนะจ๊ะ (Tablet)
อะไรเหมาะ อะไรดี รู้ดีก่อน อย่ารีบร้อน ตัดสินใจ ใฝ่ฝันหา
เปรียบเทียบกัน ให้แน่นอน ก่อนซื้อมา คุ้มราคา เหมาะกับงาน สักปานใด
หากไม่เหมาะ หรือไม่คุ้ม กับงานเรา ซื้อเปลืองเปล่า น่าเสียดาย จริงใช่ไหม
หากมีตังค์ ซื้อได้หนา ไม่ว่าไร สะกิดใจ มาให้คิด นะมิตรครู
เขียนมาหยอก ๆ พรรคพวกที่ใฝ่ฝันหาเจ้า Tablet อยู่ในขณะนี้
Notebook เหมาะสมที่สุดแล้วสำหรับครูอย่างพวกเรานะครับ แต่ถ้ามีกะตังค์ก็น่าซื้อเหมือนกัน
มือขวาหิ้วกระเป๋า Notebook มือซ้ายถือซอง Tabelet ที่ลำคอคล้องไว้ด้วยมือถือดี ๆ สักเครื่อง
แล้วหนุกหนานเพื่อนเหอ
แต่ถ้าครูเราจะซื้อ tabelet มาเพื่อการผลิตสื่อการสอน ก็ดูจะไม่เหมาะไม่คุ้มกับเงินที่เสียไป เพราะมีขนาดของเนื้อที่ในการบรรจุข้อมูลเพียง 16,32 หรือ 64 GB เท่านั้น จะติดตั้งโปรแกรม word
เพียงโปรแกรมเดียวก็แย่แล้ว แถมการใช้คีย์บอร์ดอยู่บนหน้าจอ หรือทัชสกรีนเข้าไปอีก ก็ยิ่งเป็นอุปสรรค
เข้าไปอีก ผู้เขียนมีความเห็นว่าสิ่งที่เหมาะกับงานครูอย่างพวกเราก็คือ Notebook นั่นแหละครับดีที่สุด
อย่าไปเห่อตามกระแสโฆษณาเลย บางทีบางคนไม่เข้าใจและยังไม่ได้ศึกษาด้วยซ้ำไปว่า tabelet เป็นอย่างไร แล้วพูดต่อ ๆ กัน เช่น "ต่อไปเราสบายแล้วใช้ tabelet ตัวเดียวยกเข้าห้องสอน เบาสบาย"
เรียกว่ายังไม่รู้คุณสมบัติของมันด้วยซ้ำ การใช้ tabelet เพื่อการสอนนั่น เราต้องสร้างสื่อการสอนของเรา
เอาไว้เรียบร้อยแล้ว เช่นสร้างเป็น E-book หรือสร้างเป็นเว็บไซต์้ รายวิชาเอาไว้บนเน็ตแล้ว แล้วเราใช้
Tabelet สื่อเข้าไปยังชุดการสอนเหล่านั้น แต่ไม่ใช่เราใช้ Tabelet มาผลิตสื่อพาวเว่อร์พอยต์ หรือพิมพ์เอกสารการสอนด้วยเวิร์ด มันไม่ใช่ ไม่ใช่นะจ๊ะ
อ่าวแล้วเราซื้อมาทำไม ตอนนี้ใช้อะไรไม่ได้ก็นำมันไปเป็นกล้องถ่ายรูป เช็คอีเมล์
หรือเล่น facebook ให้มันกว่านั้น ก็เล่นเกมซิครับ เล่นมันดีจอใหญ่กว่ามือถือหนุกหนานกันแหละพี่น้อง
แต่อีกนั่นแหละถ้าเล่นเกมออนไลน์พร้อมกันหลายเครื่อง ก็ไปกระทบกับคุณครูท่านอื่นที่ใช้เน็ตในการสืบค้นผลิตสื่อการสอน ทำให้เน็ตอืดช้า ยิ่งนักเรียนเป็นอันไม่ได้ใช้สืบค้นดีเท่าที่ควร คุณครูบางท่านใช้บทเรียนออนไลน์ ก็เป็นอันใช้การไม่ได้เพราะเน็ตมันช้า
ที่เขียนมานี้ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า tabelet มันไม่ค่อยเหมาะกับการสร้างสื่อการสอนของครู
และจะเหมาะที่สุด หากนักเรียนเป็นผู้ใช้ แต่ครูเราต้องผลิตสื่อกันให้เยอะ ๆ แล้วนำขึ้นอินเตอร์เน็ต
นักเรียนสามารถสืบค้นหรือเรียนรู้วิชาของคุณครูได้สะดวก แค่ใช้ tabelet นำทาง รัฐบาลจึงมีนโยบาย
ส่งเสริมให้นักเรียนมี tabelet และมีโครงการแจก tabelet ให้กับนักเรียน
เอาล่ะครับ บ่นมาก็เยอะแล้ว ก็จบเรื่อง อภินิหาร tabelet เสียที เดี๋ยวจะไปผลิตสื่อการสอน
วิชาประวัติศาสตร์ชั้น ม.5 ต่อ สนองนโยบาย 30:70 ไปล่ะบ๊ายบาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น