คุณภาพเด็ก...ขวัญกำลังใจครู...เป็นของคู่กัน
จากนโยบายลดกำลังบุคลากรภาครัฐ
ด้วยการให้ข้าราชการที่มีคุณสมบัติอยู่ในเกณฑ์กำหนด
สามารถขอเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดที่จะมีอายุครบ 60 ปีได้นั้น
เหมือนจะได้ผลเอามาก ๆ
เพราะนับตั้งแต่โครงการนี้ถูกจัดขึ้นมามีข้าราชการใช้สิทธิกันเต็มโควตา
โดยเฉพาะวงการครูได้ขอเออร์ลี่รีไทร์กันเกินจำนวนทุกครั้งจนถึงขั้นต้องมี
การจัดอันดับกันใหม่
ส่วนนี้หากมองถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็น่าจะมีมากหากเป็นหน่วยงานราชการที่
มีคนล้นงาน เพราะจะทำให้เหลืองบประมาณไปพัฒนาด้านอื่นเพิ่มขึ้น
แต่หากเป็นหน่วยงานที่มีปริมาณงานมากจำนวนบุคลากรยังขาดแคลนอยู่อย่างเช่น
กระทรวงศึกษาธิการแล้ว
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคุณภาพการศึกษาของเด็กก็คงหนีไม่พ้น
ด้วยการศึกษาต้องจัดให้กับเด็กทุกคนในทุกพื้นที่
เมื่อต้องมาเจอโครงการนี้เข้าไปหลายรอบทำให้ครูขอออกจากระบบไปแล้วเป็นแสน
ราย
ครูขาดแคลนจึงเกิดขึ้นตามมาโดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมากจะเกิดปัญหาครู
ไม่พอสอนครบทุกชั้นส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่ครูจะไม่พอสอนครบทุกสาระวิชา
แม้ว่าปัญหานี้ในช่วงหลัง ๆ ทาง กพร.จะคืนอัตราเกษียณของครูมาให้ครบทั้ง
100 เปอร์เซ็นต์แล้วก็ตาม
แต่ด้วยปัญหานี้ถูกสะสมมานานทำให้จำนวนครูขาดแคลนจึงยังมีอยู่อีกมากเช่น
เดิม
หากถามว่า ทำไม? ครูไทยถึงอยากเออร์ลี่รีไทร์กันมากนัก
ทั้งที่เงินเดือนในปัจจุบันก็ได้รับในอัตราสูงพอสมควร
คำตอบส่วนใหญ่ที่ได้รับก็คงจะตอบว่า “อยากออกเพราะเหนื่อย”
ซึ่งความเหนื่อยที่ว่านี้น่าจะมีสาเหตุมาจากหลายประการ
คงนำมาแจกแจงในที่นี้ไม่หมดแน่จึงขอนำเสนอเฉพาะประเด็นสำคัญบางส่วน ดังนี้
เหนื่อยแรก คงหนีไม่พ้นภาระงานที่มีมากจนเกินกำลัง
ทั้งงานจากต้นสังกัดต่างสังกัดที่ถูกส่งไปให้ครูทำโดยไม่คำนึงว่ากิจกรรม
โครงการหรืองานที่หน่วยเหนือคิดให้นั้นจะสามารถตอบโจทย์แก้ปัญหาถึงความต้อง
การของแต่ละพื้นที่ได้แท้จริงหรือไม่
เพราะด้วยความเป็นจริงแล้วเด็กในแต่ละพื้นที่จะมีความต้องการพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตแตกต่างกันไปการกำหนดให้ทำในแนวทางเดียวกันทุกพื้นที่นั้นคงไม่ได้ผล
ทุกพื้นที่ แต่เมื่อถูกสั่งมาแล้วก็จำเป็นต้องทำ
แม้รู้ว่าประโยชน์ที่เกิดขึ้นจะคุ้มค่ากับการลงทุน ลงแรง
และเวลาที่ใช้ไปหรือไม่ ผลสุดท้าย
การปรุงแต่งตัวเลขสวยหรูกับการรายงานผลเพื่อมิให้ถูกตำหนิจึงเกิดขึ้น
ภาระงานที่ว่านี้ยิ่งไปรวมกับงานตรวจสอบ
การประเมินผลคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอกด้วยแล้ว ยิ่งหนักไปกันใหญ่
เพราะการประเมินที่ว่านี้
แม้ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบจะบอกว่าประเมินที่คุณภาพเด็กแต่ด้วยมีการสร้าง
มาตรฐานการประเมินเกี่ยวข้องกับหลายส่วนในหลายมาตรฐานการขอดูร่องรอยหลักฐาน
จึงยังคงมีอยู่ท้ายสุดก็ลงที่งานเอกสารอยู่ดี
จึงกลายเป็นภาระหนักของครูอย่างยิ่งที่ต้องมาจัดเตรียมเอกสาร
หลักฐานจำนวนมาก
ปัญหาที่ว่านี้หากเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่มีบุคลากรและงบประมาณมาก
ก็พอกล้อมแกล้มไปได้ แต่สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีครูและงบประมาณน้อยแล้ว
ความสาหัสที่เกิดขึ้นกับครูคงไม่ต้องพูดถึง เมื่องานอื่น ๆ
มีมาให้ทำแทบจะกลายเป็นงานหลัก เลยทำให้งานสอนกลายเป็นงานรองไปในที่สุด
เมื่อครูเสียเวลาไปกับงานอื่นมากมายเช่นนี้เวลาที่จะเหลือไปคิดเตรียมการ
พัฒนาสื่อหรือวิธีการสอนเด็กให้เกิดคุณภาพก็หมดไป
เหนื่อยต่อมาก็น่าจะเกี่ยวข้องกับตัวครูเองที่ต้องโดนถูกตรวจสอบอย่างต่อ
เนื่องว่าเป็นครูมีคุณภาพหรือไม่
ซึ่งคุณภาพที่ว่านี้หากดูกันที่ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนก็ถือว่าถูก
ต้องแต่นี่กลับไปคิดว่าครูขาดคุณภาพเพราะขาดความรู้
เมื่อโจทย์ผิดวิธีคิดแก้ปัญหาจึงผิดไปด้วย การนำครูไปอบรม
สัมมนาจนแทบไม่มีเวลาอยู่โรงเรียน
หรือบังคับให้ครูเรียนรู้ตามหลักสูตรกำหนดผ่านสื่อเทคโนโลยีโดยที่ผู้ดำเนิน
การเองก็มิเคยรับรู้ว่าระบบที่ใช้มีปัญหามากน้อยเพียงใด
ผลที่เกิดขึ้นนอกจากจะไม่ได้ทำให้ครูเกิดคุณภาพเป็นครูมืออาชีพอย่างแท้จริง
แล้วยังพลอยเกิดความเครียดเพราะเกรงว่าจะไม่ผ่านหลักสูตรอีกด้วย
อีกความเหนื่อยหนึ่งของครูซึ่งน่าจะถือเป็นประเด็นหลักเลยก็ว่าได้นั่นก็
คือ ความเหลื่อมล้ำในความก้าวหน้าทั้งด้านเงินเดือนและวิทยฐานะ
ที่ยังไม่ได้วัดกันที่ศักยภาพความสามารถ จากการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง
แต่ส่วนใหญ่ยังเน้นอยู่ที่ผลงานวิชาการเป็นหลัก
ยิ่งไปเจอกับมาตรฐานการประเมินของคณะกรรมการที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงของ
แต่ละสำนักงานเขต
แต่ละกลุ่มวิชาที่บางคณะก็รู้จักผ่อนคลายเข้าใจงานของครูแต่บางคณะก็สุด
เขี้ยวยึดแต่หลักการหรืออัตตาของตนเองหรือคำนึงอยู่แค่ว่าต้องมีผลงาน
วิชาการเป็นเลิศเป็นหลัก
ทั้งที่งานวิชาการที่ว่านี้ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานก็ไม่ถนัดและไม่สอด
คล้องกับงานที่ปฏิบัติจริง
ด้วยครูที่ส่งผลงานก็เพื่อขอวิทยฐานะไม่ใช่ขอตำแหน่ง ผศ. รศ. หรือ ศ.
แต่อย่างใดจึงไม่น่าจะเน้นงานวิชาการมากขนาดนั้น
ทำให้การได้มาซึ่งวิทยฐานะของครูจึงยากมากหรือมีบางส่วนได้มาก็เกิดการ
เปรียบเทียบของครูด้วยกันเองทั้งในและต่างโรงเรียนจนถึงระหว่างเขตพื้นที่
การศึกษา ทำให้เห็นความเหลื่อมล้ำในมาตรฐานการประเมิน
ยิ่งมีการนำแท่งเงินเดือนไปยึดติดอยู่กับวิทยฐานะด้วยแล้ว
ทำให้ครูที่ไม่ได้รับวิทยฐานะเพิ่มขึ้นเงินเดือนต้องตันอยู่กับแท่งเดิม
เรียกว่าเงินเดือนก็ชนเพดานวิทยฐานะก็ต่ำ ความน้อยเนื้อต่ำใจจึงเกิดขึ้น
สาเหตุความเหนื่อยหน่ายของครูที่นำมายกตัวอย่างเพียงบางส่วนนี้เชื่อว่า
ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทราบกันดีจนอาจเห็นเป็นเรื่องปกติไปแล้ว
แต่สำหรับครูที่ได้รับผลกระทบถือว่าเป็นตัวบั่นทอนขวัญกำลังใจที่สำคัญยิ่ง
เพราะเป็นตัวส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงไปด้วย
เมื่อทุกฝ่ายอยากให้ครูได้ช่วยกันเพิ่มคุณภาพเด็ก
ก็น่าจะต้องหันมาเสริมขวัญ สร้างกำลังใจให้กับครูให้ได้ก่อน
ด้วยการปลดล็อกปัจจัยที่สร้างความเหนื่อยล้าของครูทั้งหลายนี้ให้เหลือน้อย
ที่สุดหรือหมดไปเลยได้ยิ่งดี
การปลดล็อกที่ว่านี้คิดว่าทำได้หากมีความตั้งใจจริงที่จะช่วยเหลือครู
กรณีตัวอย่างความสำเร็จของการแก้ไขก็มีเกิดขึ้นให้เห็นบ้างแล้ว เช่น
การคลายล็อกเรื่องเงินเดือนเต็มเพดานที่ตอนนี้ ก.ค.ศ. ได้ออก กฎ ก.ค.ศ.
ว่าด้วยการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ได้รับเงินเดือนสูงกว่าหรือต่ำกว่าขั้นต่ำหรือสูงกว่าขั้นสูงของอันดับ
(ฉบับที่...) พ.ศ..ซึ่งจะสามารถช่วยครูที่มีเงินเดือนเต็มเพดานแท่ง คศ. 2 ,
คศ. 3 คศ. 4
ได้เลื่อนไหลไปรับในแท่งที่สูงขึ้นได้เมื่อเงินเดือนขยายได้เพิ่มขึ้นความ
เหลื่อมล้ำด้านเงินเดือนและความเครียดจากปัญหาวิทยฐานะก็น่าจะลดน้อยลง
ครูก็จะมีกำลังใจ เหลือเวลามาสอนเด็กได้มากขึ้น
ปัจจัยต่อมาที่ควรปลดล็อกก็คือ น่าจะลดจำนวนการประเมิน
การทดสอบให้น้อยลงหรือไม่ก็ยกเลิกไปเลยแล้วใช้วิธีการนิเทศ ช่วยเหลือ
สนับสนุน เข้าไปทดแทน
เพราะเท่าที่ผ่านมาการประเมินหรือการทดสอบแม้จะรู้ปัญหาแล้วก็ตามแต่ก็ไม่
ได้เข้าไปช่วยเหลือโรงเรียนกันอย่างจริงจัง
พอสิ้นปีก็มีการทดสอบหรือประเมินกันใหม่อีกเมื่อเป็นเช่นนี้คุณภาพของเด็กจะ
ดีขึ้นได้อย่างไรเมื่อทุกฝ่ายทำหน้าที่แต่ตรวจสอบหาปัญหา
แต่ไม่เข้าไปร่วมแก้ปัญหาและพาทำอย่างจริงจังสักที
อีกล็อกหนึ่งที่จะต้องเร่งแก้ไข คือ ควรบูรณาการลดกิจกรรม โครงการ
ที่หน่วยเหนือคิดขึ้นเพื่อให้เหลือที่สำคัญจริง ๆ
จะได้ไม่สร้างภาระให้กับครู และเหลือเวลากับการสอนเด็กมากขึ้น
หรือหากจะให้ดีก็ควรใช้วิธีจัดสรรงบประมาณส่งไปให้โรงเรียนคิดแก้ปัญหาและ
พัฒนาเองน่าจะทำให้ตรงกับบริบทความต้องการแต่ละพื้นที่มากยิ่งขึ้น
หากทำได้เช่นนี้งานด้านเอกสารต่าง ๆ
หรือกิจกรรมที่ทำให้ครูต้องทิ้งโรงเรียนเพื่ออบรม สัมมนาก็จะลดลงไปด้วย
หากหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวได้ช่วยกันปลดล็อกสาเหตุทั้งหลายที่ทำให้ครู
เสียเวลา เสียขวัญกำลังใจ
ให้หมดไปได้พร้อมทั้งหาทางเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้เกิดขึ้นกับครูพร้อมไป
ด้วยแล้ว
เชื่อว่าจิตวิญญาณของความเป็นครูคงไม่มีใครไม่อยากเห็นศิษย์ของตนเองมี
คุณภาพตกต่ำเป็นแน่ การพัฒนาคุณภาพเด็กจึงอย่ามัวหลงประเด็น
คิดอยู่แค่ครูขาดความรู้ เพราะปัญหาใหญ่ไม่ใช่อยู่ตรงนั้น
ซึ่งความเชื่อส่วนตัวยังเชื่อว่าหากครูมีขวัญ กำลังใจดี
ประสิทธิภาพการทำหน้าที่การเรียนการสอนก็ต้องดีตามไปด้วย
คุณภาพการศึกษาของเด็กก็คือผลลัพธ์ที่จะตามมาทั้งหมดไม่ใช่เป็นแค่หลักการ
แต่เป็นข้อเท็จจริงนะครับท่าน.
กลิ่น สระทองเนียม
http://www.dailynews.co.th/education/137400