“โทรศัพท์มือถือ”
ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม
นอกเหนือไปจากอวัยวะครบ 32 ประการในร่างกายคนเราแล้ว ปัจจุบันดูเหมือนว่า “โทรศัพท์มือถือ” กำลังจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของคนยุคโลกาภิวัฒน์ที่จะขาดเสียมิได้ เพียงแต่ว่าอวัยวะส่วนนี้โดยมาก จะเริ่มงอกเงยขึ้นมาในช่วงที่เป็น “วัยรุ่น” ซึ่งข้อดีของโทรศัพท์มือถือก็มีอยู่ไม่น้อย อาทิ ทำให้เราสามารถสื่อสารถึงกันและกันได้ตลอดเวลา และแทบทุกสถานที่ ทำให้เราสามารถโทรนัดสถานที่ หรือโทรเรียกช่าง/บริษัทประกันมาได้ทันท่วงที เมื่อรถเสีย รถชนบนทางด่วนหรือในบางสถานที่ที่ไม่มีโทรศัพท์สาธารณะ ฯลฯอย่างไรก็ดี สิ่งใดมีคุณอนันต์ สิ่งนั้นก็มักมีโทษมหันต์ด้วย หากผู้ใช้นำไปใช้ในทางที่ผิด หรือใช้ไม่เป็น โทษของโทรศัพท์มือถือได้ก่อให้เกิดโรคใหม่ๆ หลายประการ ดังนี้โรคทรัพย์จาง ดิ้นรนหาเงินเพิ่มหรือไปกู้หนี้ยืมสินมาซื้อมือถือ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นจากค่าโทรศัพท์และค่าบริการต่างๆ โรคขาดความอดทนและใจร้อน เพราะความสะดวกสบายในการใช้โทรศัพท์มือถือ ที่ว่าตรงไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ กดปุ๊บติดปั๊บนี่เอง ทำให้หลายๆ คนกลายเป็นคนที่ทนรอใครนานไม่ได้ หรือไม่ยอมทนแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ โรคขาดกาลเทศะและมารยาท เช่น การใช้โทรศัพท์เวลาประชุม อาจเป็นการรบกวนผู้อื่นในเวลานอน เวลารับประทานอาหาร เวลาพักผ่อน หรือเป็นวันหยุด กำลังใช้เวลาอยู่กับครอบครัว เป็นต้น โรคขาดมนุษยสัมพันธ์ หากวันไหนไม่ได้โทรศัพท์ไปหาเพื่อน ก็อาจจะเกิดอาการเฉาหรือเหงาหงอย โดยไม่คิดจะมีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนคนอื่นหรือคนที่อยู่รอบข้าง กลายเป็นคนแยกตัวออกจากสังคม นอกจากโรคดังกล่าวข้างต้นแล้ว โทรศัพท์มือถือยังมีผลข้างเคียงทำให้เสียสุขภาพในด้านอื่นๆ อีก เช่น ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น เพราะมัวแต่คุยทั้งวันทั้งคืนเลยนอนดึกนอนไม่พอ ทำให้หูตึงหรือมีโรคเกี่ยวกับหู เกิดอาการปวดหัว ไมเกรนหรือมีปัญหาทางเส้นประสาท เพราะคลื่นจากมือถือที่มีกำลังส่งแรงสูง ทำให้เกิดพวกโรคจิตเพิ่มขึ้น คือพวกที่ชอบแอบถ่าย หรือบางคนก็ถ่ายภาพหวิวของตัวเองไปลงตามอินเตอร์เน็ต เพราะทำได้ง่ายและสะดวกสบายขึ้น หลายๆ ครั้ง มือถือทำให้ขาดความระมัดระวัง ขับไปพูดไป จนทำให้เกิดอุบัติเหตุ รถชนกัน หรือชนคนอื่นนอกจากนี้ มือถือยังก่อให้เกิดอาชญากรรม ถูกคนร้ายติดตามมาทำร้ายร่างกายหรือแย่งชิงทรัพย์ได้ง่ายอีกด้วย การแผ่รังสี ของตัวโทรศัพท์มือถือ โดยสิ่งที่ได้รับการกล่าวถึง ในด้านอันตรายที่สุดก็คือ การแผ่รังสี ของตัวโทรศัพท์เอง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สิ่งมีชีวิตหากได้รับรังสีในปริมาณมากๆ ยิ่งมีความเข้มของรังสีสูงแล้ว ย่อมทำอันตรายถึงชีวิตได้ โดยโรคที่คาดว่าจะก่อให้เกิดได้จากการรับรังสีจากมือถือ ก็คือ มะเร็งในสมอง องค์การอาหารและยาของอเมริกา ยอมรับว่า คลื่นความถี่รังสีวิทยุ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งมีชีวิต (เช่น ไมโครเวฟ) และในโทรศัพท์มือถือ ก็ก่อให้เกิดรังสีประเภทนี้ แม้ในภาวะปกติ จะพบรังสีนี้อยู่น้อยมาก แต่เมื่อเกิดการสื่อสาร พูดคุย ปริมาณรังสีก็จะมากขึ้น โดยในปีหนึ่งๆ มีผู้ป่วยด้วยมะเร็งในสมองเป็นอัตรา 6 คนต่อ 1 แสนคน ถ้ามีผู้ใช้โทรศัพท์ 80 ล้านคน ก็จะมีผู้ป่วยถึง 4800 คนในแต่ละปี แต่ก็ไม่ได้ฟันธงลงไปว่า ผู้ป่วยเป็นมะเร็งเพราะใช้มือถือ ได้แต่เพียงเตือนว่า ผู้ใช้มือถือมีโอกาสเป็นมะเร็งในสมองสูงกว่าผู้ไม่ได้ใช้เท่านั้นเอง นายแพทย์สักกะ ณ ตะกั่วทุ่ง แพทย์หู คอ จมูก ประจำโรงพยาบาลพญาไท กล่าวว่า สิ่งที่วงการแพทย์สามารถยืนยันได้ถึงผลกระทบดังกล่าวในขณะนี้ก็คือ การคุยโทรศัพท์เคลื่อนที่นานๆ ผู้ใช้อาจเกิดอาการปวดศีรษะ, ผิวหนังเหี่ยวย่น, ความจำแย่ลง ขณะเดียวกัน ยังมีข้อสมมติฐานที่ว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ อาจทำให้เกิดการรั่วของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะสะสมในระบบหมุนเวียนโลหิต ส่งผลให้เกิดโรคความดันสูง นอกจากนี้ ยังทำให้เยื่อหุ้มสมองเสื่อม เป็นผลให้เกิดโรคความจำเสื่อม และอัลไซเมอร์ได้ นักวิทยาศาสตร์กล่าวแจ้งว่า มะเร็งของสมองต้องใช้เวลาก่อตัวหลายสิบปี ก่อนหน้านี้ราชสมาคมในลอนดอน ก็เคยเปิดเผยรายงานผลการศึกษาว่า ผู้ใหญ่ที่ใช้โทรศัพท์มือถือมาก่อนอายุ 20 ปีเสี่ยงกับการจะเป็นมะเร็งสมองเมื่อตอนอายุ29 ปี ยิ่งกว่าคนที่ไม่ได้ใช้ถึง 5 เท่า ดร.คาร์เปนเตอร์ ชี้ว่า“มันอาจจะเป็นกับศีรษะทางด้านที่ใช้พูดโทรศัพท์” และกล่าวว่า “เด็กทุกคนพากันใช้มันตลอดเวลา และทั้งโลกพากันใช้โทรศัพท์มือถือมากถึง 3 พันล้านเครื่องเขาเรียกร้องว่า ควรจะมีการติดคำเตือนให้กับโทรศัพท์มือถือ เหมือนกับตามซองบุหรี่เสีย นอกจากนี้ยังมีคำเตือนจากแพทย์ว่า ผู้ชายไม่ควรพกมือถือที่เอว เสี่ยงรับผลกระทบต่อไขกระดูก และอัณฑะ ส่วนกรณีโรคหัวใจไม่ควรพกใส่กระเป๋าเสื้อ แม้ไม่มีผลยืนยันชัดเจนแต่ต้องป้องกันไว้ก่อน อีกทั้งไม่ควรโทรนานเกิน 15 นาที เพราะอาจส่งผลต่อการทำงานของสมองและระบบเม็ดเลือดแดงโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ก่อให้เกิดขยะได้ คงมีน้อยคนที่รู้ว่าในแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ จะมีส่วนประกอบที่เป็นสารโลหะหนักผสมอยู่ ไส้แบตเตอรี่ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้มี 2 ชนิดคือ... ชนิด NICAD (Nickel Cadmium Cells) และชนิด HYDRIDE (Nickel Metal Hydride Cells) สารประกอบที่ใช้ในถ่านชนิด NICAD จัดเป็นขยะอันตรายที่ก่อให้เกิดโทษกับสุขภาพของคน และเกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อม เนื่องจากขั้วลบของถ่านชนิดนี้เป็น "แคดเมียม ไฮดรอกไซด์" เมื่อบรรจุไฟแล้วจะกลายสภาพเป็นแคดเมียม เป็นสารก่อพิษในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก แคดเมียมเป็นโลหะหนัก มีอยู่ในธรรมชาติแต่เป็นจำนวนน้อย ซึ่งหากร่างกายได้รับเข้าไปทีละน้อยจากการ หายใจ-กิน-ดื่ม ก็จะเกิดพิษเรื้อรัง ทีละน้อย จนที่สุดอาจก่อให้เกิดอาการ... ระบบหายใจผิดปกติ ไตอักเสบ ไตวาย ข้อเสื่อม ถุงลมโป่งพอง และทำให้เกิด มะเร็ง ในอวัยวะได้หลายชนิด "แคดเมียมที่ถูกทิ้งหรือปนเปื้อนเข้าใน ดิน-น้ำ หาก สัตว์ หรือ พืช รับเข้าไป เมื่อ คน กินสัตว์หรือพืชเข้าไปก็จะได้รับแคดเมียมสะสมเข้าไปในปริมาณที่เกิดพิษได้ง่าย" นิกเกิลกับแคดเมียมก็เป็นอีกสาเหตุ ที่ก่อให้เกิด"โรคชนิดใหม่" ขึ้นมา ซึ่งกว่าจะรู้ตัวก็อาจสายไปเสียแล้ว และแม้ว่าบางบริษัทผู้ผลิตจะบอกว่าโทรศัพท์หรือแบตเตอรี่ทำมาจาก"แมงกานีส" ซึ่งมีพิษน้อย จึงไม่เรียกคืน แต่แมงกานีสนี้ก็เป็นอันตรายต่อมนุษย์เหมือนกันสารโลหะหนักที่อยู่ในแบตเตอรี่ประกอบด้วย 1. แคดเมียม ซึ่งหากสะสมในร่างกายในปริมาณถึงระดับหนึ่งก็จะก่อให้เกิดโรคไตวายได้ และเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งโดยการสูดดม2. ตะกั่ว เป็นสารก่อมะเร็ง และมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางระบบย่อยอาหาร ไต โลหิต หัวใจ การพัฒนาของทารกในครรภ์3. ลิเธียม ก่อให้เกิดการการระเคืองต่อจมูก ลำคอ ทำให้หายใจติดขัดถ้ากลืนกินเข้าไปจะมีฤทธิ์ กัดกร่อนทำให้เกิดอาการเจ็บคอ ปวดท้องและอาเจียนได้ ถ้าเข้าตาจะทำให้เกิดการระคายเคืองและอาจทำให้ตาบอด4. ทองแดง ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจ และเป็นอันตรายหากกลืนกิน5. นิเกิล เป็นสารก่อมะเร็ง เมื่อหายใจเข้าไปอาจทำให้เกิดอาการหอบหืด หลอดลมอักเสบ หายใจติดขัดและทำให้ผิวหนังอักเสบ และถ้ากลืนหรือกินเข้าไปอาจก่อให้เกิดอันตรายได้วิธีใช้โทรศัพท์มือถืออย่างเหมาะสม 1.ใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีทุกครั้ง เพื่อให้โทรศัพท์มือถืออยู่ห่างจากสมอง2. ขณะที่มีสายเรียกเข้า ควรกดรับสายให้ห่างจากตัวสักพัก แล้วค่อยนำโทรศัพท์มาแนบหู เพราะขณะที่มีสายเรียกเข้าจะมีคลื่นแม่เหล็กจากโทรศัพท์ ซึ่งเป็นพลังแรงมากที่สุด3. อย่าติดหรือแขวนโทรศัพท์ ติดตัวไว้ตลอดเวลา เพราะคลื่นรังสีจะแผ่มาถูกอวัยวะที่สำคัญ โดยเฉพาะกระดูกซึ่งมีไขกระดูกที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดต่างๆ เช่น กระดูกเชิงกราน และกระดูกที่หน้าอก อาจทำให้มีผลกระทบต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวได้4. ควรใช้โทรศัพท์มือถือให้น้อยที่สุดและไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน5. ควรเก็บมือถือให้มิดชิด จะได้ไม่เป็นที่ล่อตาล่อใจเหล่ามิจฉาชีพ
วิธีง่ายๆ ที่ช่วยประหยัดงบไม่ให้บานปลาย
1. หากใช้บริการแบบเหมาจ่าย ควรตั้งระบบจำกัดการโทรออก ให้อยู่ในงบที่ตั้งไว้ 2. หากใช้ระบบเติมเงิน ก็ควรเติมให้อยู่ในงบที่จำกัดและจัดสรรการโทรตามเวลาที่กำหนด 3. ควรใช้มือถือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น 4. ควรรู้จักประหยัด ไม่สิ้นเปลืองเงินทองไปกับเกมส์และการโหลดริงโทน
“
การใช้มือถืออย่างถูกวิธี จะช่วยยืดอายุการใช้งานและเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง
”
เอกสารอ้างอิง
................................................................................................................................................................................................................................................... กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ผู้จัดการออนไลน์ 17 สิงหาคม 2547 17:28 น. www.fda.gov/cdrh/ocd/mobilphone.htm www2.cancer.org/zine/index.cfm?fn=001_05122000_0 www.cnet.com/electronics/0-3622-7-1520524.html news.cnet.com/news/0-1004-200-4296924.html www.zdnet.com/zdnn/stories/comment/0,5859,2675028,00.html http://www.dailynews.co.th/news/60625.html http://health.spiceday.com/viewthread.php?tid=32651 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น