Krukaroon: หลักสูตรปรับปรุงใหม่ทดลองใช้ 30 โรงเรียนปีนี้

!!!การุณย์ สุวรรณรักษา สังคมศึกษาฯ วรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา!!

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

หลักสูตรปรับปรุงใหม่ทดลองใช้ 30 โรงเรียนปีนี้

           ศธ.เดินหน้าปรับหลักสูตรใหม่ ประถมลดชั่วโมงเรียนเหลือ 5 คาบต่อวัน มัธยม 6 คาบ นำร่อง 3 พันโรงปี'57 'ภาวิช'เผยรื้อใหม่เหลือ 6 กลุ่มวิชา'ภาษา-วิทย์-ไอซีที-สังคม-โลก-ชีวิต' ระดับ'ป.1-2'เน้นคณิต-อังกฤษ-ไทย
          เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน นายภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า หลังจากที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการ ศธ. ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตร มีตนเป็นประธาน และคณะกรรมการการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ มีรัฐมนตรีว่าการ ศธ.เป็นประธาน ขณะนี้มีความคืบหน้าของการดำเนินการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปมากแล้ว โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะทำงาน 6 กลุ่ม ในวันที่ 27 มิถุนายน จะประชุมหารือร่วมกันทั้งหมดเพื่อพิจารณาหลักสูตรที่แต่ละส่วนรับผิดชอบอยู่ ก่อนจะนำมาประกอบเป็นหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรฯ ที่มีนายพงศ์เทพเป็นประธานได้พิจารณา
 
          นายภาวิชกล่าวต่อว่า สำหรับหลักสูตรใหม่จะแบ่งการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาออกเป็น 6 กลุ่มสาระวิชา ได้แก่

1.กลุ่มภาษาและวรรณกรรม

2.วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

3.เทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที)

4.สังคมและความเป็นมนุษย์

5.โลก ภูมิภาคและอาเซียน และ

6.ชีวิตกับโลกของงาน 
อย่างไรก็ตาม นอกจากจะมีคณะทำงาน 6 กลุ่มแล้ว จะมีคณะทำงานกลางมาดูความเชื่อมโยงและความซ้ำซ้อนใน 6 กลุ่มของสาระวิชา หากเจอว่าซ้ำซ้อน ก็ต้องบูรณาการให้เล็กลง
 
          ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าวว่า ในส่วนของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 จะเน้นทักษะ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ส่วนวิชาที่เหลือ จะนำ 6 กลุ่มสาระวิชามารวมแล้วแยกเป็น 4 วิชา ได้แก่ 1.บ้านของเรา โลกของเรา 2.ชีวิตกับการเรียนรู้ จะทำอย่างไรถึงจะสร้างความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียน 3.เด็กของเรา 2.ชีวิตกับการเรียนรู้ จะทำอย่างไรถึงจะสร้างความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียน 3.เด็กในวิถีประชาธิปไตย เป็นการเรียนรู้เพื่ออยู่ในสังคมแบบมีส่วนร่วม ความมีจิตสาธารณะ ศาสนา และ 4.ศิลปะและพลานามัยเพื่อชีวิต การจัดหลักสูตรดังกล่าว ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ส่วนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไปจะจัดการศึกษาออกเป็น 6 กลุ่มสาระวิชา แต่จะมีรายละเอียดที่แตกย่อยออกไปในแต่ละระดับชั้น เช่น ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จะเน้นการเรียนในทางลึกมากขึ้น จะแยกวิชาออกเป็นฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา รวมทั้งจะมีทางเลือกให้กับนักเรียนเพื่อเรียนต่อในมหาวิทยาลัย และสำหรับนักเรียนที่ไม่ต้องการเรียนต่อมหาวิทยาลัย จะให้ทางเลือกเพื่อเรียนต่อสายอาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในหลักสูตรเดิมนั้นจะมีทางเลือก ให้กับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อการเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเท่านั้น ส่วนเด็กที่ไม่ได้เรียนต่อ จะไม่ได้มีการส่งเสริมหรือให้ทางเลือกอะไร
 
หลักสูตรใหม่
          "เนื้อหาของหลักสูตรใหม่ อาจจะไม่เปลี่ยนมาก เพราะจริงๆ แล้วเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอนได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นลำดับอยู่แล้ว เพียงแต่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้ในปัจจุบันจะมี 8 กลุ่มสาระวิชา แต่ของใหม่จะเหลือเพียง 6 กลุ่มสาระ ตำราต่างๆ อาจจะต้องค่อยๆ ปรับปรุงไป โดยอาจจะต้องใช้เวลาประมาณ 3 ปีนับจากมีการประกาศใช้" นาย ภาวิชกล่าว และว่า หลักสูตรใหม่จะกำหนดทักษะจำเป็น 10 ประการของเด็กเมื่อเรียนหนังสือจบ อาทิ ทักษะด้านไอซีที การงานและอาชีพ เป็นต้น ส่วนการเรียนการสอนไม่ได้ลดการเรียนรู้ แต่จะลดการเรียนในห้องเรียน เพิ่มกิจกรรมนอกห้องเรียน โดยจะต้องเน้นประสบการณ์เรียนรู้ใน 6 ด้าน ได้แก่ 1.การอ่านเพื่อการเรียนรู้ ต่อไปครูต้องกระตุ้นให้เด็กอ่านมากขึ้น 2.การเรียนการสอนแบบโครงการ ทั้งด้านสังคม ศาสนา วิทยาศาสตร์ และจะนำไปสู่ทักษะที่พึงประสงค์ เช่น การค้นหาปัญหา การทำงานร่วมกับผู้อื่น วิทยาศาสตร์ และจะนำไปสู่ทักษะที่พึงประสงค์ เช่น การค้นหาปัญหา การทำงานร่วมกับผู้อื่น 3.ไอซีที 4.คุณธรรมและจิตสาธารณะ 5.ความเป็นประชาธิปไตย 6.อาชีพ
 
          นายภาวิชกล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม การปรับหลักสูตรใหม่จะทำให้ลดชั่วโมงเรียนในห้องเรียนลง โดยระดับประถมศึกษาจะเหลือการเรียนในห้องเรียนประมาณ 600 ชั่วโมง ต่อปี และจะให้เรียนนอกห้องเรียน 400 ชั่วโมงต่อปี จะมีผลทำให้นักเรียนเรียนในห้องเรียนเพียง 5 คาบต่อวัน จากเดิมเรียนประมาณ 6-7 คาบ ส่วนมัธยมศึกษาจะให้เหลือ 6 คาบต่อวัน ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2557 จะนำร่องใช้หลักสูตรรอบแรกในโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายของสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 30 แห่ง รวมประมาณ 3,000 โรงเรียน และจะให้โรงเรียนนำร่องสร้างเครือข่ายโรงเรียนแห่งละ 10 โรงเรียน จะทำให้ขยายโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรใหม่เป็น 30,000 กว่าแห่ง
 
          ด้านนายพินิติ รตะนานุกูล ผู้ตรวจราชการ ศธ. ในฐานะประธานคณะทำงานกลุ่มโลก ภูมิภาคและอาเซียน กล่าวว่า กลุ่มโลก ภูมิภาคและอาเซียน มีความคืบหน้าในการดำเนินงานเกือบ 100% แล้ว กลุ่มนี้จะเป็นวิชาที่เชื่อมโยงเรื่องประวัติศาสตร์ สังคม รวมถึงเรื่องอาเซียนเข้าไปด้วย โดยเฉพาะประวัติศาสตร์จะต้องเขียนขึ้นใหม่ เพราะที่ผ่านมาประเทศใดเขียนประวัติศาสตร์ ก็จะเข้าข้างตัวเอง ทำให้เกิดความขัดแย้ง แต่ในหลักสูตรใหม่จะเขียนประวัติที่สร้างความเข้าใจที่ดีร่วมกัน ทั้งนี้ หลักสูตรในกลุ่มของตนเองจะต้องมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มอื่นๆ ด้วย เพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปตามเป้าหมาย ต่อไปเยาวชนในยุคศตวรรษที่ 21 จะต้องรู้เท่าทันในเรื่องต่างๆ อย่างรอบด้าน อาทิ รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก ไอที เป็นต้น โดยในการประชุมวันที่ 27 มิถุนายนนี้ แต่ละกลุ่มจะมาดูว่าแต่ละวิชาจะมีความเชื่อมโยงกันตรงจุดใดบ้าง
- See more at: http://www.kruwandee.com/news-id6810.html#sthash.RJy8IDjm.dpuf

2 ความคิดเห็น:

  1. ide thtion for my simple attempt! I'll be looking to improve my own internet site and will certainly visit again soon!
    So the for posting this, it was very informative and helped me very much
    Tshopbymark

    ตอบลบ
  2. would comment and say great theme, did you code it for yourself? It looks excellent!
    Just thought I would comment and say great theme, did you code it yourself? It looks superb!
    I have bepm 0.1 filter
    hydrogen water machine amazon
    ionic air purifier reviews consumer reports

    ตอบลบ

นักเรียนทุกคน ช่วยตอบแบบสอบถามนี้ด้วยค่ะ

ดูทีวีครูเรียนรู้วิทยายุทธ

Subscribe Now: Feed Icon