นายวิทยา บริบูรณ์ทรัพย์ ผอ.รร.โยธินบูรณะ ในฐานะนายกสมาคมครูมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย เปิดเผยความคืบหน้าการแบ่งเขตพื้นที่การประถมศึกษาและเขตพื้นที่การมัธยม ศึกษาว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะให้มีการปรับปรุงรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเสนอแก้ไขกฎหมาย 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษานั้น ขณะนี้ได้ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติไปแล้ว รอเพียงนายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย
นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาใหม่จะแบ่งเป็นเขตพื้นที่การประถมศึกษา และเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา โดย 185 เขตเดิม จะเป็นเขตพื้นที่การประถมศึกษาทั้งหมด ส่วนเขตมัธยมจะเกิดขึ้นตามความเหมาะสมตามความเห็นของสภาการศึกษาที่จะเสนอ ต่อ รมว.ศธ. ซึ่งศธ.ได้เตรียมความพร้อมที่จะตั้งเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา โดยตั้งศูนย์ประสานงานการจัดการมัธยมศึกษาทั่วประเทศ 41 ศูนย์ ส่วนจะมีกี่เขตต้องรอประกาศอีกครั้งโดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน
“สำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เราจะใช้สำนักงานเดิมที่มีอยู่ เช่น สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัด สำนักงานประถมศึกษา หรือสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด เป็นต้น โดยจะไม่มีการลงทุนจัดสร้างสำนักงานใหม่ ส่วนบุคลากรก็จะเกลี่ยในพื้นที่เดิมที่ดูแลโรงเรียนมัธยมศึกษา สำหรับตำแหน่งผอ.เขตพื้นที่ฯจะมีการสรรหาโดยควรเป็นผู้ที่มาจากสายมัธยม ศึกษา เพราะจะรู้บริบทของโรงเรียน และวัฒนธรรมขององค์กรมากกว่าสายประถมศึกษา อีกทั้งในสายของประถมศึกษาก็มีถึง 185 เขตแล้ว” นายก สบมท.กล่าว.
ข้อมูลจาก http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=71116&categoryID=42
ในทรรศนะของผู้เขียน มีความเห็นว่าคุณครูของพวกเราล้วนศึกษาจบปริญญาตรี โท กันมาและผ่านชีวิตความเป็นครูมาหลายปีดีดัก การย้ายครูที่สอนในระดับประถมศึกษา มาสอนในระดับมัธยมศึกษา หากเป็นกรณี 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็นับว่าเป็นที่น่าเห็นอกเห็นใจเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้าหากย้ายเข้ามาจากส่วนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว ผู้เขียนมีความเห็นว่า เมื่อเราเปิดโอกาสให้ครูประถมมากเกินไป ก็เท่ากับว่าเราปิดกั้นครูมัธยมด้วยกันเอง ไม่ให้มีโอกาสย้ายเข้ามาที่นี่ได้นั่นเอง
เรื่องของประสบการณ์ในการสอนมัธยม ครูสามารถทำการสอนอย่างต่อเนื่องได้เลย ไม่มีโอกาสหยุดชงัก หรือแม้กระทั่งการควบคุมชั้นเรียน ที่ครูประถมต้องใช้เวลาในการปรับตัว
อย่างน้อยก็สักระยะเวลาหนึ่งอย่างแน่นอน ยิ่งถ้าหากครูประถมย้ายเข้ามามากเท่าไร ก็ต้อง
อาศัยเวลาปรับตัวปรับตน เมื่อให้สอดคล้องสัมพันธ์กับวิถีมัธยมศึกษา ดังนั้นในช่วงเวลาแห่งการปรับตัวนี้เอง ทำให้นักเรียนเสียโอกาสโดยเราอาจไม่นึกคิดในประเด็นนี้ก็เป็นได้
แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าถ้าเป็นครูประถมแล้วจะไม่ดีเสียทั้งหมด ก็ไม่ได้หมายความเช่นนั้น ครูประถมที่มีฝีมือ เข้ามาปุ๊บก็สามารถเตรียมการสอนและทำการสอนได้ปั๊บเป็นที่ยอมรับของนักเรียนก็ยังมีอยู่ เพื่อนพ้องพี่น้องประถมที่ย้ายเข้ามาอย่าได้น้อยเนื้อต่ำใจนะครับ
เป็นเพียงทรรศนะของผู้เขียนเพียงคนเดียวเท่านั้น
ประเด็นคำถามคือ ทำไมในเมื่อมีครูมัธยม ทำเรื่องย้ายเข้ามามากมาย แล้วทำไมเราต้องปิดโอกาสพวกเขา แต่กลับไปเปิดโอกาสให้กับครูประถมศึกษา มากกว่ามัธยมศึกษา
ประเด็นนี้ชวนให้เป็นที่น่าสงสัยอยู่ไม่น้อย
ถ้าถามท่านผู้ปกครองว่า "ท่านต้องการครูที่ย้ายมาจาก โรงเรียนประถม หรือโรงเรียนมัธยม มาทำหน้าที่สอนกุลบุตรกุลธิดาของท่าน" ท่านช่วยตอบหน่อยได้ไหม และนั่นคือ
คำตอบที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนจริง ๆ
ขอค้านครับ
ตอบลบครูบางคนอยากผม ไม่มีทางเลือก เพราะตอนผมบรรจุ มีแต่โรงเรียนประถม ทั้ง ๆ ที่ตอนเป็นอัตราจ้างผมสอนมัธยมปลายด้วยซ้ำ ไป มันไม่ยุติธรรมสำหรับคนที่สอบแล้วไม่มีทางเลือกต้องเลือกประถมอย่างพวกผมนะคราฟ
ู
ดิฉัน จบ ป.ตรี วท.บ.(เคมี)/ จบ ป.โท เทคโนฯ (ทุนสควค.รุ่น5)
ตอบลบสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยม ในรร.ขยายโอกาส
ไม่ได้ใส่ใจให้ความสำคัญ และไม่เห็นว่า ครูมัธยม จะแตกต่างจากครูประถมตรงไหน เพราะบรรจุมา 7 ปี เงินเดือนมากกว่าครูมัธยมที่บรรจุมา 10 ปี
"จึงไม่เห็นความสำคัญ และความจำเป็นที่พวกครูมัธยมทั้งหลายเรียกร้องและอ้างเหตุผลเพื่อแบ่งแยกคำว่า (ครูประถม ครูมัธยม) "
น่าเศร้าแทนเด็กๆที่ครูมัวแต่หลงในหัวโขนของตน
แทนที่จะนำเวลามาเอาใจใส่ และพัฒนานักเรียน...
ไม่เข้าใจว่าทำไปต้องแบ่งแยกกัน ทั้ง ๆ ที่ทั้งประถมและมัธยม เราก็มีหน้าที่ครูเหมือนกัน เราทำเพื่อลูกศิษย์ เหมือนกัน การแบ่งแยกทำให้เกิดปัญหาปิดกั้นโอกาสสำหรับครูบางท่าน
ตอบลบและถ้าหากมีปัญหาในกรณีใด เช่น เรื่องงบประมาณ หรือ อื่น ๆ เราก็น่าสามารถจะแก้ไขเฉพาะส่วนนั้น โดยไม่ต้องทำให้เกิดความวุ่นวายทั้งระบบ
อย่างไรก็ต้องดูความสามารถเฉพาะบุคคล.......
ตอบลบผมเองเป็นครู ทุน สควค. ร่น 5 ฝึกสอน นักเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์ อัตราจ้าง ครูชีว ม. ปลาย สุดท้ายบรรจุ ในฐานะครูประถม สอบบรรจุใหม่ได้คนเดียวในจังหวัด แต่มี่โรงเรียนประถมขอตำแหน่งที่จะบรรจุใหม่ ก็ต้องลงประถมอีก... ตอนนี้จบ ป. โท วิทย์ชีวะอีกนั่นแหละ..... แต่ระบบไม่เปิดโอกาสให้ผมเลย ....ครูประถมที่มีความสามารถมีอีกตั้งเยอะ ..... โปรดอยู่คิดว่าคุณเก่ง เมือคุณได้สอนระดับชั้นที่สูงกว่า... หลายครั้งที่ได้ยินคำดูถูกครูประถม....จากครูมัธยม ถ้าให้คุณสอนประถม คุณทำได้หรือเปล่า ...
เคยมีโอกาสเป็นครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัด และโรงเรียนประถมศึกษาด้วย
ตอบลบในทรรศนะของครูมัธยมศึกษามักจะดูถูกศักยภาพของครูประถมศึกษา
คิดว่าไม่สามารถสอนมัธยมศึกษาได้ พยายามแบ่งแยกองค์กรของครู
ให้เป็นประถมศึกษากับมัธยมศึกษา เพื่อให้ใครบางคนที่เคยเรืองอำนาจในกรมสามัญศึกษากลับมามีอำนาจอีกครั้ง
สำหรับศักยภาพการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา แตกต่างจากครูโรงเรียนมัธยมศึกษานั้นเป็นเรื่องจริง เนื่องจากครูประถมศึกษาต้องทำหน้าที่ในการสอน การดูแลเด็กนักเรียน งานในฝ่ายงานต่างๆของโรงเรียน การตอบสนองความต้องการของเขตพื้นที่การศึกษาในการรายงานผลหรือร่วมกิจกรรมต่างๆของเขตฯ ซึ่งงานเหล่านี้เท่ากันทุกโรงเรียน แต่โรงเรียนมัธยมมีบุคคลากรมากกว่า เมื่อแบ่งงานแล้วจึงมีปริมาณงานน้อยกว่า ส่วนครูประถมที่มีโรงเรียนละไม่ถึง 10 คน ปริมาณงานมากกว่า ถึงแม้ทำงานจนเกือบเช้าก็ยังไม่เสร็จ ในขณะที่ครูมัธยมกลับบ้นตั้งแต่โรงเรียนยังไม่เลิก
ครูมัธยมบางท่านมีอ่อนด้อยประสิทธิภาพในการทำงานและการสอนมากกว่าครูประถมเสียด้วยซ้ำ สอนไม่รู้เรื่อง แต่ที่เด็กนักเรียนได้คะแนนสอบระดับชาติสูงเพราะไปเรียนพิเศษ ผู้เขียนเองเป็นครูโรงเรียนประถมที่สอนพิเศษให้เด็กมัธยมครับ อย่างนี้เหรอที่บอกว่าครูประถมย้ายไปมัธยมแล้วต้องปรับตัว คนเราเลือกบรรจุไม่ได้นี่ครับ
อย่าเหก็ฯแก่พวกพ้องแล้วไม่ดูความเป็นจริงปล่อยให้อคติเข้าครอบงำจิตใจจนไม่เหลือไว้ซึ่งความยุติธรรมนะครับคุณครูมัธยม
ถูกต้องค่ะดิฉันในฐานะครูเคมี ที่ดันบรรจุครูในโรงเรียนขยายโอกาส แต่ก็ยังมีความหวังที่ยังอยากจะได้สอนวิชาเอกเคมีที่ตนเรียนมา
ตอบลบดิฉันเป็นคนหนึ่งที่อยากเป็นครู...
ตอบลบแต่พอรู้ว่าเขาไม่ค่อยต้องการครูประถมก็คิดหนัก....
ไม่รู้จะเรียนอะไรดี เอกประถม/เอกสังคม
การแยกประถมมัธยมเป็นเรื่องที่ดี เพราะนักเรียนแต่ละระดับจะได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพและอยู่ในวัยที่เดียวกัน คือ เด็กอยู่ส่วนเด็ก (ในระดับประถม) เด็กวัยรุ่นก็อยู่อีกกลุ่มหนึ่ง เป็นเรื่องที่ดี แต่ะในฐานะครูในโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มนี้ใครจะแก้ปัญหาให้ จะให้โรงเรียนขยายโอกาสรองรับปัญหาการเข้าไปเรียนในเขตพื้นที่มัธยมศึกษาไปอีกนานแค่ไหน หรือว่าจะแยกเป็นสำนักงานเขตขยายโอกาสอีก ถึงจะถูกใจนักคิดเบื้องบน
ตอบลบการแยกประถมมัธยมเป็นเรื่องที่ดี เพราะนักเรียนแต่ละระดับจะได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพและอยู่ในวัยที่เดียวกัน คือ เด็กอยู่ส่วนเด็ก (ในระดับประถม) เด็กวัยรุ่นก็อยู่อีกกลุ่มหนึ่ง เป็นเรื่องที่ดี แต่ในฐานะครูในโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มนี้ใครจะแก้ปัญหาให้ จะให้โรงเรียนขยายโอกาสรองรับปัญหาการเข้าไปเรียนในเขตพื้นที่มัธยมศึกษาไม่ได้ไปอีกนานแค่ไหน ให้พัฒนานักเรียนระดับประถมดีแค่ไหนแต่เด็กนักเรียน ม1-3 ขยายโอกาสที่เข้าเรียนเขตพื้นที่มัธยมไม่ได้ก็ฉุดลงมาเพราะเด็กกลุ่มนี้เหลือมาจากที่เขตมัธยมไม่ต้องการ ล้วนแล้วแต่มีปัญหาทั้งนั้น หรือว่าจะแยกเป็นสำนักงานเขตขยายโอกาสอีก ถึงจะถูกใจนักคิดเบื้องบน
ตอบลบเรื่องการย้ายครูประถมเข้ามัธยมไม่เห็นต้องแบ่งแยกเลย ตัวผู้บริหารเองไม่มีดุลพินิจหรือไรว่าใครสามารถทำในที่ใดได้ ..ตอนคุณไม่มีครู เบื้องบนบอกให้รวมกันเป็นเขตพื้นที่เพื่อแก้ปัญหา เอาครูที่จบสาขามัธยมลงมาช่วยสอนในประถมตั้งเยอะแยะ แล้วตอนนี้จะมาแยกประถมมัธยมความผิดของใคร..สรุปการแบ่งแยกเด็กเห็นด้วย แต่ไม่น่าจะแบ่งแยกเรื่องครูควรให้ครูได้มีการพัฒนาตนเอง พิสูจน์ความสามารถของตนเอง ไม่ใช่จำกัดความสามารถของเขาไว้แค่ระดับประถมศึกษา...นี่แหละหนาการศึกษาไทย...
ตอบลบดิฉันสอนโรงเรียนขยายโอกาส สอนตั้งแต่ประถม 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จบป.ตรี Eng ป.โท หลักสูตรและการสอน คิดว่าตอนนี้โรงเรียนขยายโอกาสทำงานหลักมากมีทั้วประถมและมัธยม ลองคิดดูว่าควรสังกัดแบบลูกครึ่งหรือเปล่า เป็นความผิดพลาดที่น่าขำ แล้วยังบอกว่าครูประถมต้องปรับตัวมากเมื่ออยู่มัธยม ที่จริงแล้วครูที่สอนให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ อย่างครูประถมเป็นคนที่มีความสามารถมากกว่าครูมัธยมเสียอีก น่าสงสารครูประถมที่ถูกดูถูกความสามารถเช่นนี้ ในทางตรงข้างถ้าครูมัธยมมาสอนเด็กประถมต้องปรับตัวอย่างมาก
ตอบลบไม่มีใครดูถูกครูประถมหรอกอย่าคิดมากส่วตัวสอนมัธยมมา14ปีแต่ชื่นชมครูประถมเก่งที่มีความอดทนขยันสามารถสอนเด็กอ่านออกเขียนได้และส่วนตัวเองถ้าไม่ได้ครูประถมก็เรียนต่อไม่ได้แต่ระบบการทำงานธรรมชาติของเด็กมัธยมและปฐมก็ต่างกันการรวมกันบางทีมันก็มีปัญหา
ตอบลบเฮ้อจะปิดกั้นอะไรกันนักหนา ครูมัธยมจบจาก Oxford หรือ Cambridge รึ จบจากสถาบันเดียวกันในเมืองไทยนั่นแหละ เพียงแต่เมื่อรวมกันเป็น สพฐ ทำให้หลายคนไม่มีทางเลือกเพราะมันปนกันหมด สอบได้ที่ 1 ดันได้ลงประถม สอบได้ที่ 40 แล้วได้ลงมัธยม ครู Karoon แห่งวรนารีเฉลิมช่วยบอกหน่อยสิว่าครูสองคนนี้ใครสมควรได้สอนในโรงเรียนมัธยม ชุมชนควรจะเลือกใคร ส่วนตัวสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษครั้งล่าสุดได้คะแนนน้อยกว่าครูมัธยมคนเดียวทั้งเขตพื้นที่ มีความสามารถพิเศษด้านการแปลและล่าม สามารถสอนนักเรียนโดยใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารทั้งชั่วโมงได้ ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์เพียบพร้อม และกำลังศึกษาภาษาสเปนอยู่ ได้ทุนเรียนปริญญาโทจากสถาบันภาษาอังกฤษ.......... มีคุณสมบัติพอที่จะเป็นครูมัธยมหรือไม่ครับ เปิดใจกว้างหน่อยคุณ Karoon
ตอบลบถ้าพวกคุณมัวแต่เถียงกันอยู่อย่างนี้มันไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้นมาหรอกคะ....แน่จริงก็ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุดดีกว่าเอาเวลามาเถียงไร้สาระแบบนี้.....เพราะทุกคนก็ต่างเถียงเพื่อผลประโยชน์ของตนทั้งนั้น........เฮ้อน่าสงสาร
ตอบลบประเทศไทย ประถม มัธยม ก็ครูเหมือนกัน
ตอบลบผมเป็นเคยเป็นครูเอกชน สอน มัธยม มา 6 ปีกว่า จบปริญญาตรี และจบปริญญาโท วิชาภาษาอังกฤษ บังเอญสอบบรรจุได้ โรงเรียนที่ได้บรรจุสังกัดประถม ทุกวันนี้สอน ป.5 ป.6 และอยากกลับมาสอน มัธยม
ก็ย้ายแสนยากเย็น นี่แหละประเทศไทย ที่คนไม่กี่คนคิด การศึกษาไทยจึงไม่ค่อยเจริญเท่าไร
ผมบรรจุมัธยมแต่ย้ายไปประถมไม่เคยน้อยใจเลยเพราะทุกวันนี้ผมเอาชนะครูมัธยม(ภรรยา)ได้ ผมว่าวิชาเอกเราก็ถนัดทุกคนละครับแต่ดวงคนเราไม่เหมือนกัน ข้อดีของครูประถมคือมีโอกาสเรียนรู้งานมากทำได้ทุกอย่างต้งแต่หน้าที่ภารโรงไปจนถึง ผอ. ส่วนมัธยมก็สอนสนุกเพราะได้สอนตรงเอก เรื่องขั้นพิเศษจะช้าหน่อย สรุปแล้วผมว่ามาสอบแข่งกันดูไหม ผมไม่ได้จบเมืองนอก แต่เรียนภาคเสาร์อาทิตย์ ตั้งแต่ ป.ตรียัน ป. โท สอบบรรจุผมก็ได้แค่ที่ 2 และที่ 3 ของ ประถมและมัธยม โอกาสของคนเรามันไม่เหมือนกัน และกรุณาอย่าดูถูกคนอื่น เพราะมันมิใช่วิสัยของครู
ตอบลบ