Krukaroon: กรกฎาคม 2010

!!!การุณย์ สุวรรณรักษา สังคมศึกษาฯ วรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา!!

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

นักเรียน ม.5 สอบเก็บคะแนนตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2553 เป็นต้นไปสอบในคาบเรียนปกติ

 ประกาศนักเรียน ม.5 ที่เรียนวิชาประวัติศาสตร์กับครูการุณย์ สุวรรณรักษา       ทุกห้องทราบ  ่จะทำการสอบเก็บคะแนนกันตั้งแต่วันที่  28 กรกฎาคม 2553  เป็นต้นไป โดยสอบในคาบเรียนของนักเรียน เนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบที่เรียนมาแล้วนะครับ  แจ้งให้ืทราบโดยทั่วกัน

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

8 สาเหตุเรียนไม่จบ



          ในโอกาสได้จัดกิจกรรมน้องเฟรชชี่นี้ จึงขอนำเสนอแนวคิดที่ได้จากประสบการณ์จริงทั้งที่ประสบและเห็น มาฝากน้องๆ เฟรชชี่รวมทั้งน้อง ๆ ชั้นปีอื่นที่เรียนในมหาวิทยาลัยทุกคนด้วยความตั้งใจอยากให้น้องทุกคนได้ดี ครับ

สำหรับข้อเตือนใจที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เรียนไม่จบมหาวิทยาลัย มีทั้งสิ้น 8 ข้อครับ ลองดูทีละข้อน่ะครับ ค่อย ๆ อ่านแล้วนึกตาม

1. อ่านหนังสือใกล้สอบ

จำได้ว่าเทอมแรกในรั้วมหาวิทยาลัยเป็นช่วงที่ รู้สึกสบาย และยังดีใจไม่ทันหมดที่สอบได้เรียนมหาลัย แต่พอเห็นเกรดแทบจะเป็นลมเพราะได้แค่ 1.96 ซึ่งเกิดมาไม่เคยได้เกรดต่ำขนาดนี้ ตอนที่เรียนม.ต้น ได้อย่างต่ำ 3.54 เรียกม.ปลายได้อย่างต่ำ 2.8 แต่พอเข้ามหาลัย(คณะวิศวฯ) กลับได้แค่ 1.96 และถ้าเป็นอย่างนี้ซักสองสามเทอมคงบ๊ายบายจากมหาลัยแน่

พอเห็นเกรด ต่ำดังนั้นแล้ว ก็เลยคิดว่าเกิดจากอะไรบ้าง และปัจจัยหลัก ๆ คงเกิดจากสองสาเหตุ คือ หนึ่ง มักจะโดดเรียนหรือเข้าเรียนสายเป็นประจำ อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ อ่านหนังสือไม่ค่อยทัน เพราะใช้เวลาแค่ซักสัปดาห์เดียวเหมือนตอนอยู่มัธยม

แต่ที่มหาลัย นี่ ต้องยอมรับว่าเนื้อหาเยอะจริง ๆ อ่านสัปดาห์สองสัปดาห์ไม่ค่อยทัน ถ้าอ่านลวก ๆ หน่ะทัน แต่ถ้าอ่านเพื่อไปตอบแบบเขียนบรรยายเป็นหน้า ๆ หรือต้องทำโจทย์คณิตศาสตร์แบบแสดงวิธีทำ แทบทำไม่ได้เลย เพราะไม่มีเวลาทำโจทย์มาก่อน ดังนั้น ตั้งแต่เทอมสองเป็นต้นมาจึงพยายามอ่านก่อนสอบซักสามสัปดาห์ เท่านี้ ก็อ่านทันแล้ว และถ้าให้แจ๋วก็อ่านมาตลอดทั้งเทอมยิ่งสบายใหญ่

2. โดดเรียนบ่อย

เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้ได้เกรดไม่ค่อยดี อย่างพี่เองใช้วิธีเรียนผิด ๆ ในเทอมแรก เห็นอาจารย์ไหนไม่เช็คชื่อก็มักจะโดดเรียนบ่อยแล้วค่อยไปให้เพื่อนติวกัน ใกล้สอบ แล้วก็รู้เรื่องเร็วจริงแต่มักจะไม่ค่อยตรงกันที่อาจารย์สอนเท่าไหร่ เทอมต่อมาจึงพยายามไม่โดดเรียน และต่อมาก็ค้นพบว่ายิ่งช่วงใกล้สอบเท่าไหร่ อาจารย์ก็มักจะเผยให้เห็นแนวข้อสอบเสมอ และถ้าเด็กบางคนถามเก่ง ๆ อาจารย์ก็มักจะเผยให้เห็นแนวข้อสอบชัด ๆ เลย ลองดู

3. นอนดึก

เรื่องนอนดึกมักเป็นของคู่กันกับโปรแกรมเมอร์หรือเด็กชอบเที่ยว แต่ผลเสียสุดท้ายเหมือนกันคือ เช้าวันต่อมามักจะไปเรียนสายหรือโดดเรียน และการนอนดึกเพราะอ่านหนังสือนั้น หากมองเผิน ๆ จะเห็นเหมือนว่าเป็นเด็กตั้งใจเรียน แต่พี่มองว่าเกิดจากการไม่อ่านหนังสือแต่เนิ่น ๆ แล้วอ่านไม่ทันมากกว่า และหลายครั้งลองสังเกตดูดีดีว่าคนที่อ่านหนังสือแล้วนอนดึกมักจะเริ่มต้น อ่านหนังสือสาย อย่างบางคนจับกลุ่มอ่านหนังสือก็นัดกันซักสองทุ่ม เจอกันก็เมาท์กันเกือบชั่วโมง เริ่มจริงซักสามทุ่ม พอ ห้าทุ่มเศษก็เลิกอ่านแล้วไปกินหมี่ไก่หรือกินกาแฟกันต่อ สรุปแล้ว ใช้เวลาอ่านแค่สองชั่วโมงกว่า

ลองดูอีกคนที่เริ่มอ่านหนังสือเร็ว (ในกรณีที่กลางวันเรียนหนังสือ) เช่น อ่านตั้งแต่ห้าโมงเย็นซักชั่วโมง แล้วไปกินข้าว กลับมาอ่านต่อตั้งแต่หนึ่งทุ่มถึงสี่ทุ่ม แล้วเข้านอน รวมทั้งหมดได้อ่านสี่ชั่วโมง เห็นความแตกต่างมั๊ยครับ

และผลเสีย ของการนอนดึกแล้วไปสอบยิ่งแย่ใหญ่ พี่จำได้ว่า มีวิชานึงที่อ่านไม่ทัน คืนก่อนสอบจึงต้องอ่านหนังสือทั้งคืน พอตอนเช้าก็นำซากติดวิญญาณไปสอบนิดนึง มือไม้สั่น แค่อ่านโจทย์ก็งงแล้ว จะให้สอบได้คะแนนดีได้ไง ก็อย่าลืมน่ะครับ อ่านแต่เนิ่น ๆ อย่านอนดึก
ครั้งนี้ ขอต่อจากตอนก่อนที่กล่าวไว้ 3 ข้อถึงสาเหตุที่ทำให้เรียนไม่จบ ที่ได้จากประสบการณ์จริงที่ผมพบมา และจากการพูดคุยหรืออ่านจากแหล่งต่าง ๆ เอาหล่ะครับ ดูอีก 5 ข้อที่เหลือครับ


สาเหตุที่ 4 บ้าเกมหนัก


เรื่องเกมเป็นอีกสาเหตุหลักที่ทำให้นักศึกษาเสียการเรียนมานักต่อนัก แล้ว อย่างบ้านเรายังไม่เห็นจะจะซักเท่าไหร่ แต่ที่ต่างประเทศ คนบ้าหนักขนาดปิดห้องนอนเล่นกันข้ามวันข้ามคืน หรืออย่างที่ญาติห่าง ๆ ผมเคยเจอแค่เป็นเด็กมัธยม แต่บ้าเกมขนาดหนีเรียนไป 3 วันเพื่อไปเล่นเกมอย่างเดียวก็เคยทำมาแล้ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกมออนไลน์มีอานุภาพสูงในการทำให้หลงใหลใช้เวลาเป็นหลายชั่วโมงโดยไม่รู้ตัว รู้ตัวอีกที อ่านหนังสือไม่ทัน รู้ตัวอีกที โดนรีไทร์แล้ว


สาเหตุ ที่ 5 เมาแล้วขับ


จำได้ว่าสมัยที่เรียนมหา’ลัย อยู่นั้น แทบทุกเทอมจะมีข่าวคราวของนักศึกษาร่วมมหา’ลัย ที่เมาเหล้าแล้วขับรถไปชนจนทำให้เสียชีวิต อย่างคนที่เมาแล้วขี่มอเตอร์ไซค์ไปชนเสาไฟฟ้าก็หลายราย เมาแล้วขับรถเร็วขึ้นเนินแล้วตีลังกาหัวฟาดพื้นตายก็มี คนที่ฉลองสอบเสร็จแล้วดื่มเหล้าเมาไปชนรถคนอื่นจัง ๆ จนตายก็มี ผมเข้าใจว่าคนส่วนใหญ่ก็คงนึกว่าเรื่องอย่างนี้ไม่น่าจะเกิด แต่ก็เกิดมาแล้วนักต่อนัก


สาเหตุที่ 6 หลงมากกว่ารัก


ชีวิตนักศึกษาเป็นช่วงที่ก้ำกึ่งความเป็นวัยรุ่นกับผู้ใหญ่ ดังนั้น หลายคนจึงมีอิสระและคิดว่าตัวเองมีวิจารณญาณในการมีแฟนแล้ว แต่ในความเป็นจริง ผมพบว่า ส่วนใหญ่มักจะเป็นการหลงมากกว่าความรักที่แท้จริง และความหลงนี่เอง ถ้าแปรเป็นความรักได้ก็จะเป็นพลังในการเล่าเรียน อย่างเพื่อนของผม ไม่รีไทร์ก็เพราะใช้พลังแห่งความรักนี่แหละ ฝ่าฟันจนรอดพ้นมาได้ โดยการอ่านหนังสือกับแฟนตลอดทั้งเทอม แต่ส่วนใหญ่ที่หลงรักแล้วเสียคนก็มีให้เห็นเยอะ อย่างหลงจนท้องต้องดร็อปแล้วเลิกเรียนก็มีให้เห็นอยู่ถมไป หรือคนที่ผิดหวังจากความรักก็แทบไม่มีใจจะเรียนอะไร เฮ้อ ต้องระวังให้เยอะ


สาเหตุที่ 7 ฟุ่มเฟือย เงินไม่พอ


จาก ประสบการณ์และการพูดคุยหรืออ่านจากที่ต่าง ๆ สรุปว่า ชีวิตนักศึกษามักจะฟุ่มเฟือยแยกกันสองอย่างใหญ่ โดยผู้ชายมักจะฟุ่มเฟือยเรื่องของเทคโนโลยี แต่ก็ยังไม่เท่าไหร่ แต่ที่เท่าไหร่ก็คือ ผู้ชายชอบเล่นพนันบอล ซึ่งมีเงินเท่าไหร่ก็ไม่พอ หรือเกิดฟลุ๊คได้เงิน แป๊บเดียวก็คืนกลับไปให้เจ้ามือ ส่วนผู้หญิงเองก็มักจะฟุ่มเฟือยเกี่ยวกับความงาม เสื้อผ้า หรือมือถือใหม่ ๆ และที่จะไม่พอหนักก็คือไปเที่ยวกลางคืน ซึ่งทั้งผู้ชายผู้หญิงเองพอเงินไม่พอก็จะเป็นสาเหตุให้ต้องหาเงินโดยผิดวิธี หรือกู้หนี้ แล้วต้องหนีหนี้หัวปักหัวปำ หรือถ้าผู้หญิงก็ร้ายหน่อยต้องหาเงินโดยขายตัวก็มีให้เห็นอยู่ถมไป จนเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เรียนไม่จบ


สาเหตุที่ 8 คบเพื่อนเลว

ทั้งนั้น ทั้งนี้ สาเหตุทั้ง 7 ข้อ ก็มักจะมีสาเหตุมาจากเพื่อนเลว ๆ ทั้งหลายแหล่ เช่น เป็นต้นเหตุของการพากันไปเมาเหล้า พนันบอล เที่ยวหัวราน้ำ ขายตัวหาเงินซื้อของฟุ่มเฟือย เพราะฉะนั้น ห่าง ๆ เพื่อนเลว ๆ แล้วก็จะทำให้เรียนจบได้ปริญญาสมใจครับ

     และสุดท้าย ขอให้น้อง ๆ ที่ได้อ่านบทความนี้ จงห่างไกลสาเหตุทั้งหมดนี้ และขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายจงดลบันดาลให้ทุกคนเรียนหนังสือได้ความรู้ ได้ปัญญา เพื่อนำไปใช้ในการทำงานและสร้างอนาคตต่อไป

เบญจกัลยาณี

















              *ดั่งพระชินสีห์มุนีปราชญ์                   อาขยาตเทศน์พร่ำเป็นคำสอน
              อรรถชาดกสอนสั่ง ควรสังวรณ์            งามทุกตอนเบญจ-กัล-ยาณี

             *คือหนึ่งงามด้วยเส้นผมดำคมเข้ม         ปลายผมเต็มเอนอ่อนงอนเกศี
              ถึงบั้นเอวอวดอ้าไร้ราคี                     งามดั่ง ที่หางนกยูงจำรุงตา

            *สองริมฝีปากแดงดุจวิสุทธิ์ชาด             ยิ้มละมาดละไม ชวนใฝ่หา
              เปรียบดั่งตำลึงสุกลูกโอชา                 ไม่แดงกว่าเกินนั้นเช่นบรรยาย

              *สาม ฟันขาวขอบเรียบดูเพียบพร้อม     ไม่ขัดย้อมจนเกิดความเฉิดฉาย
              ประดุจสังข์ ขาวขัดจัดเรียงราย             ส่องประกายเรียบชิดงามติดตา


              *สี่ผิวพรรณ บริสุทธิ์ผุดผ่อง                ไม่เป็นสองรองใครทั่วในหล้า
               เหมือนแสงจันทร์วันเพ็ญ เด่นโสภา      ผิวกายาลอออ่อนพอดี

              *ห้าวัยงามงามเลิศประเสริฐศักดิ์           วัย ประจักษ์แจ้งสุขไร้ทุกขี
              ทุกอย่างพร้อมสมบูรณ์พูนทวี               ถึงร้อยปีสวย เด่นเน้นธรรมา

             *เบญจ-กัล-ยาณีสตรีไหน                     สมบูรณ์ได้ว่าเลิศประเสริฐ หนา
              ดั่งกล่าวไว้ในธรรมพระสัมมา                 วิสาขากายสวยด้วยใจงาม

             *อันคน งามงามใจใช่ใบหน้า                  โบราณว่าควรตรองอย่ามองข้าม
              แม้นรูปลักษณ์พักตร์ ผ่องอาจมองทราม    หากไม่งามภายในจิตใจตน

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยรัชกาลที่ 5-7

รัชกาลที่ 5

รัชกาลที่ 5 มีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ” เป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ 4 กับสมเด็จพระเทพ ศิรินทราบรมราชินี (พระองค์เจ้ารำเพยภมาภิรมย์)ในระยะแรก พระองค์ยังไม่บรรลุนิติภาวะ มีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยงวศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และได้สถาปนาโอรสองค์ใหญ่ ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า เจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล นามว่า กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ

พระราชลัญจกร เป็นรูป พระจุลมงกุฎเปล่งรัศมี บนพานแว่นฟ้า
เป็นสัญลักษณ์ของ พระบรมนามาภิไธย    "จุฬาลงกรณ์"
มีฉัตรตั้งขนาบข้าง ริมขอบสองข้าง มีแว่นสุริยกานต์ข้างหนึ่ง กับสมุด
ตำราข้างหนึ่งวางอยู่บนพานแว่นฟ้า


-วัดราชบพิธสถิตมหา สีมาราม ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5



ด้านการปกครองตั้งสภาแผ่นดิน 2 สภาได้แก่
1. รัฐมนตรีสภา Council of State ประกอบด้วยขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ ชั้นเจ้าพระยาทั้งหมด 12 คน มีพระองค์ท่านเป็นประธาน รัฐมนตรีสภามีหน้าที่ถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดิน รวมทั้งพิจารณาพระราชบัญญัติ พระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ ด้วย เหมือนสภานิติบัญญัติในปัจจุบัน
2. องคมนตรีสภา Privy Council ประกอบด้วยสมาชิก 49 คน มีเชื้อพระวงศ 13 พระองค์ ทำหน้าที่เป็นสภา ที่ปรึกษา ราชการในพระองค์และมีหน้าที่ปฏิบัติราชการแผ่นดินตามแต่จะมีพระราชดำรัส
    ปฏิรูปองค์การบริหารในส่วนกลางใหม่ดังนี้
เดิมมีอยู่ 6 กรม ได้แก่ กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมเมือง กรมวัง กรมท่า และกรมนา
ตั้งขึ้นใหม่ 6 กรม ได้แก่ กรมพระคลัง กรมยุติธรรม กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ กรมยุทธนาธิการ และ กรมมุรธาธร รวมเป็น 12 กรม ต่อมายกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง

      การปกครองส่วนภูมิภาค
       ให้ยกเลิกเมืองพระยามหานคร ชั้นเอก โท ตรี จัตวา และหัวเมืองประเทศราช โดยจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียว ปรากฎว่าในปี พ.ศ. 2449 ได้จัดแบ่งพระราชอาณาจักรออกเป็น 18 มณฑล

       ในปี พ.ศ. 2440 ทรงตราพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ขึ้น สำหรับจัดการปกครองในเขตอำเภอ ตำบลและหมู่บ้าน ตามแผนภูมิดังนี้
 องค์กร  ผู้บังคับบัญชา
กระทรวงมหาดไทย
มณฑลเทศาภิบาล
เมือง    
แขวง (อำเภอ)  
ตำบล   
หมู่บ้าน
เสนาบดี
ข้าหลางเทศาภิบาลหรือสมุหเทศาภิบาล
ผู้ว่าราชการเมือง
หมื่น (นายอำเภอ)
พัน (กำนัน)
ทนาย (ผู้ใหญ่บ้าน)

 ด้านการศาล
      โปรดฯให้ตราพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ขึ้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2451 โดยแบ่งศาลออกเป็น 3 แผนก คือ
3.1 ศาลฎีกา
3.2 ศาลสถิตย์ยุติธรรมกรุงเทพฯ
3.3 ศาลหัวเมือง

      -ยกเลิกกฎหมายตราสามดวง
      -ยกเลิกตำแหน่ง พระมหาอุปราช หรือ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เสีย แล้วตั้งตำแหน่ง มกุฎราชกุมาร ขึ้นแทน ผู้ได้รับการสถาปนาให้เป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พระองค์แรกคือ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (สิ้นพระชนม์ เมื่อพระชันษาได้เพียง 17 ปี) ต่อมาจึงโปรดให้สถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (ต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 6)

      ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวง ยุติธรรมเป็นผู้อำนวยการ ด้วยเหตุนี้ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ จึงได้รับการว่าเป็น พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย

      พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จบจากอังกฤษ เป็นนักเรียน นายเรือพระองค์แรก ของไทยและเป็นพระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย




      ด้านวรรณกรรม
  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน ไกลบ้าน พระราชวิจารณ์ทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ลิลิตนิทราชาคริต บทละครเรื่องเงาะป่า กวีนิพนธ์เบ็ดเตล็ด กลอนไดอารีซึมทราบกับตามเสด็จไทรโยค โคลงรามเกียรติ์ พระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำ พระราชวิจารณ์เทียบลัทธิพุทธศาสนาฝ่ายหินยานกับมหายาน พระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน และพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสตามที่ต่าง ๆ ตลอดจนพระราชหัตถเลขาที่ทรงมีถึงเจ้านายและบุคคลสำคัญต่าง ๆ อีกมากมาย



ประวัติการเสียดินแดน 14 ครั้งของประเทศไทย คลิกที่นี่


รัชกาลที่ 6
 มีพระนามเดิมว่า “เจ้า ฟ้ามหาวชิราวุธ” เป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ 5 กับ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ (พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี)

   เรียกว่าพระราชกัญจกรพระวชิระ เป็นรูป วชิราวุธ ยอดมีรัศมีประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า ตั้งอยู่เหนือดั่ง มีฉัตรกลีบบัวตั้งอยู่สองข้าง เป็นสัญลักษณ์ของ พระบรมนามาภิไธยว่า "วชิราวุธ" ซึ่งหมายถึงศาสตราวุธของพระอินทร์.



- เปลี่ยนชื่อกระทรวง ธรรมการเป็น กระทรวง ศึกษาธิการ
-สร้างสนาม บินดอนเมือง 

การปรับปรุงการระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
   -โปรดให้รวมมณฑลที่อยู่ใกล้กันจัดตั้งเป็น
ภาค



   การสร้างเมืองจำลอง
จัดสร้างนครจำลองขึ้นเพื่อฝึกฝนให้ข้าราชบริพารของ พระองค์ ให้ได้รู้จักและเข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในวันข้างหน้า นครจำลองนี้ได้พระราชทานนามว่า ดุสิตธานี เพราะเดิมตั้งอยู่ในเขตพระราชวังดุสิต ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่ พระราชวัง พญาไท (โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า) ภายในดุสิตธานี จะจำลองสถานที่สำคัญต่าง ๆ ไว้ อาทิ ที่ทำการรัฐบาล วัดวาอาราม บ้านเรือนราษฎร ที่ทำการไปรษณีย์ การไฟ้า ประปาและมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานครบทั้งหมด ในนครจำลองนี้จัดให้มีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีประชาชนที่อาศัยอยู่ในนครดุสิตธานี เรียกว่า ทวยนาคร โดยทวยนาคร จะทำหน้าที่เลือกตั้ง ผู้แทนราษฎร เข้าไปเป็นกรรมการในคณะนคราภิบาล เรียกว่า เชษฐบุรุษ ซึ่ง เชษฐบุรุษ จะเลือกตั้งคณะรัฐบาลบริหารนครนี้ เรียกว่า คณะนคราภิบาล มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ทวยนาครในดุสิตธานี ซึ่งเรียกว่า ธรรมนูญลักษณะปกครองคณะนคราภิบาล พระพุทธศักราช 2461 และมีการประกาศใช้ กฎธานิโยปการ ในนครนี้ด้วย กฎธานิโย ปการเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการเก็บภาษีอากร ภาษีที่ดิน ค่าน้ำประปา ค่าไฟ ฯลฯ เพื่อนำไปทำนุบำรุงนครดุสิตธานี

-เกิดกบฎ ร.ศ.130

   เหตุการณ์ ร.ศ. 130
เมื่อรัชกาลที่ 6 ขึ้นครองราชย์ มีคณะบุคคลกลุ่มหนึ่ง ประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย โดยมี
ร.อ. ขุนทวยหาญพิทักษ์ (นายแพทย์ เหล็ง ศรีจันทร์ ) เป็นหัวหน้า คณะปฏิวัติรุ่นนี้มีชื่อเรียกกันในเวลาต่อมาว่า คณะปฏิวัติ ร.ศ. 130
คณะปฏิวัติได้กำหนดจะทำการปฏิวัติใน
พระ ราชพิธีสัจปานกาลถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตาม ธรรมเนียม ที่เคยปฏิบัติมาทุกปี แต่ทำไม่สำเร็จเพราะมีสมาชิกในคณะปฏิวัตินำข่าวมาบอกแก่รัฐบาล ทำให้ คณะปฏิวัติ ถูกจับกุม เหตุการณ์ครั้งนี้จึงเรียกว่า กบฎ ร.ศ. 130 ผู้นำข่าวมาแจ้งรัชกาลที่ 6 คือ ร.อ. หลวงสินาดโยธารักษ์ (ยุทธ หรือ แต้ม คงอยู่) ภายหลังได้เลื่อนขึ้นเป็น พ.อ. พระยากำแพงรามภัคดี ต่อมาภายหลังผูกคอตายในห้องขังเมื่อคราวถูกจับกุมในคดีกบฏบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2476 ผู้นำในคณะปฏิวัติ ร.ศ. 130 ถูกศาลตัดสินให้ประหารชีวิต รวม 3 คน แต่รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานอภัยโทษ และถูกปล่อยตัวทั้งหมดภายหลัง


รัชกาลที่ 7



เป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ 5 กับ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ( พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ) มีพระนามเดิมว่า “เจ้า ฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา” ทรงเป็นพระ อนุชาร่วมพระราชบิดาและพระมารดาเดียวกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว

เป็นรูปพระแสงศร ๓ องค์ คือ พระแสงศรพรหมมาสตร์ พระแสงศร ประลัยวาตและ พระแสงศรอัคนีวาต บนราวพาดพระแสง เหนือขึ้นไปเป็น ดวงตรามหาจักรีบรมราชวงศ์ ภายใต้ พระมหาพิชัยมงกุฎ ด้านซ้ายและขวา ตั้งบังแทรก มีลายกนกแทรกอยู่ บนพื้นตอนบนของ ดวงตรา พระแสงศร ๓ องค์ นี้เป็นพระราชสัญลักษณ์ของพระบรม นามาภิไธย
"ประชาธิปกศักดิเดชน์" "เดชน์" แปลว่า ลูกศร



มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการ ได้แก่
อภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการทั้งปวงในพระองค์ สมาชิกของสภานี้ล้วนเป็นพระบรมวงศา นุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ สภานี้กำหนดให้มีการประชุมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในวันศุกร์ โดยมี รัชกาลที่ 7 เป็นประธาน


องคมนตรีสภา จัดตั้ง เมื่อ 2 กันยายน 2470 มีคณะกรรมการจำนวน 40 คนเรียกว่า สภากรรมการองคมนตรี เปิดประชุมสภาครั้งแรกเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2470 โดยมี กรมหมื่น พิทยาลงกรณ์เป็นประธานสภา องคมนตรีสภานี้กล่าวกันว่าจะโปรดให้ทำหน้าที่เป็น รัฐสภา เพื่อสถาปนาระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา

เสนาบดีสภา สภานี้เดิมเคยมีอยู่แล้ว ประกอบด้วยสมาชิกผู้เป็นเสนาบดีบังคับบัญชาราชการกระทรวงต่าง ๆ มีหน้าที่สำหรับทรงปรึกษาหารือราชการ อันกำหนดไว้ให้ เป็นหน้าที่ในกระทรวงนั้น ๆ ในการประชุม รัชกาลที่ 7 ทรงเป็นประธาน 

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ 24 มิถุนายน 2475
มูลเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอ ประชาธิปไตย
        1. ความไม่พร้อมในการเป็นพระมหากษัตริย์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะพระองค์ไม่ได้เตรียมตัวมาเพื่อเป็นพระมหากษัตริย์ จึงไม่กล้าตัดสินใจ ทั้งที่มีอำนาจสิทธิ์ขาด โดยสมบูรณ์แบบในการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่อำนาจต่าง ๆ ตกอยู่กับคณะอภิรัฐมนตรีสภา อาทิ การยับยั้งการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ให้แก่ประชาชน แล้วเปลี่ยนการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย เนื่องในโอกาสกรุงเทพมหานคร มีอายุครบ 150 ปี ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2475
        2. ราษฎรมีการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ได้รับข่าวสาร ความรู้ แนวคิดจากชาติตะวันตก ที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ ในรูปแบบประชาธิปไตย โดยเฉพาะผู้ที่ไปศึกษามาจากทวีปยุโรป อาทิ พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน) สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารจากประเทศเยอรมัน หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตะสังคะ) สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารปืนใหญ่จากประเทศฝรั่งเศส หลวงสินธุ์สงคราม (ร.ท. สินธุ์ กมลนาวิน) สำเร็จการศึกษาวิชาการทหารเรือจากประเทศเดนมาร์ก หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ( ปรีดี พนมยงค์ ) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางกฎหมายจากประเทศฝรั่งเศส หลวงโกวิท อภัยวงศ์ ( ควง อภัยวงศ์ ) สำเร็จการศึกษาวิชาวิศวกรรมจากประเทศฝรั่งเศส นายประยูร ภมรมนตรี สำเร็จการศึกษาวิชาการเมืองจากประเทศฝรั่งเศส
        3. ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อการบริหารประเทศ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สาเหตุภายในประเทศสืบเนื่องมาจากมีการใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 6 รัฐบาลหารายได้ไม่พอกับการใช้จ่ายทำให้ขาดดุลงบประมาณ ถึงแม้ว่าพระองค์จะตัดทอนรายจ่ายของรัฐที่เป็นเงินเดือนของพระองค์ ลดจำนวนมหาดเล็ก ยุบมณฑล ยุบจังหวัด เพื่อลดจำนวนข้าราชการลง ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ การแก้ปัญหาต่าง ๆ แบบนี้ทำให้ฐานะการเงินดีขึ้นบ้าง แต่ก็มีผู้ไม่พอใจโดยเฉพาะข้าราชการที่ถูกปลด หรือแม้แต่ข้าราชการที่ไม่ถูกปลด แต่ก็มีการเก็บภาษีเงินเดือนข้าราชการ จากมูลเหตุดังกล่าวทีนำไปสู่เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบ ประชาธิปไตย โดย คณะราษฎร์
ขณะที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแปรพระราชฐาน ณ พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
“คณะ ราษฎร์” ทำการปฏิวัติประกาศยึดอำนาจ โดยนำกำลังทหารและพลเรือน เข้ายึดสถานที่สำคัญของทางราชการและควบคุม บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ เจ้านายชั้นสูงและข้าราชการฝ่ายรัฐบาล ไปไว้ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เพื่อเป็นตัวประกัน

มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ที่หนีไปได้คือ พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน โดยหนีขึ้นรถไฟไปแจ้งให้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ เหตุการณ์การปฏิวัติ
เมื่อคณะราษฎร์ยึดอำนาจได้แล้ว จึงประกาศใช้หลัก 6 ประการบริหารประเทศได้แก่ หลักเอกราช หลักความปลอดภัย หลักเศรษฐกิจ หลักเสมอภาค หลักเสรีภาพ หลักการศึกษา
        1. จะต้องรักษาความเป็น
เอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชทางการเมือง ทางการศาล ทางเศรษฐกิจของประเทศ ไว้ให้มั่นคง
        2. จะต้องรักษาความ
ปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันให้น้อยลงมาก
        3. จะต้องบำรุงความสุขสบายของราษฎรในทาง
เศรษฐกิจ โดยรัฐบาลจะจัดหางานให้ราษฎรทำและจัดวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
        4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิ
เสมอภาคกัน
        5. จะต้องให้ราษฎรมี
เสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อมีเสรีภาพไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการดังกล่าวข้างต้น
        6. จะต้องให้
การศึกษาแก่ราษฎรอย่างเต็มที่

บุคคลสำคัญของคณะราษฎร์ฝ่ายทหารบกประกอบด้วย
   พ.อ. พระยาพหลพลพยุหเสนา ( พจน์ พหลโยธิน ) เป็นหัวหน้าใหญ่
 
 อำมาตย์ตรี หลวง ประดิษฐ์มนูธรรม ( นายปรีดี พนมยงค์ ) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นมันสมองของ คณะราษฎร์ ผู้คิดการปฏิวัติในครั้งนี้ เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของเมืองไทย    

พระราชทาน พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว ในวันที่ 27 มิถุนายน 2475

-สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชั่วคราวจำนวน 70 นาย โดยมีเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร์คนแรก และพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็น ประธานกรรมการราษฎร ( นายกรัฐมนตรี ) และเลือกคณะกรรมการราษฎร ( คณะรัฐมนตรี ) 14 นาย ทำหน้าที่บริหารประเทศ และ เลือกสมาชิกในคณะราษฎร์อีก 9 นาย ทำหน้าที่ร่าง รัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อร่างเสร็จแล้วรัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานคืนมาให้เมื่อ 10 ธันวาคม 2475



หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญแล้วได้มีการตั้งคณะรัฐบาลบริหารประเทศ โดยมีมหาอำมาตย์โท พระยามโนปกรณ์นิติธาดา (
นายก้อน หุตะสิงห์) เป็นนายกรัฐมนตรี มีคณะรัฐมนตรี จำนวน 20 นาย  
-ได้เกิดการขัดแย้งกันระหว่างรัฐบาล กับรัฐสภา อันเนื่องมาจากเค้าโครงเศรษฐกิจของหลวง ประดิษฐ์มนูธรรม ได้เขียนไว้ในสมุดปกเหลืองซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นเค้าโครงเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ของรัสเซีย ซึ่งตรงกับพระราชวินิจฉัย ในสมุดปก ขาวของรัชกาลที่ 7 รัฐบาลจึงสั่งปิดสภา พระยามโนปกรณ์ฯ ได้ขอร้อง ให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเดินทางออกไปอยู่ ณ ประเทศฝรั่งเศส 

-20 มิถุนายน 2476 พระยาพหลพลพยุหเสนา ทำการปฏิวัติแล้วแต่งตั้งตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีพร้อมกับเชิญหลวงประดิษฐ์มนู ธรรม กลับมาช่วยกันบริหารประเทศ ต่อมาสมาชิกของคณะราษฎร์บางคนละทิ้งสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน รัฐบาลปล่อยให้ประชาชนฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
     21 ตุลาคม 2476
“คณะกู้บ้านเมือง” ภายใต้การนำของพลเอกพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช กฤดากร ได้นำกำลังทหารจากนครราชสีมา สระบุรี อยุธยา เข้ามาทำการปฏิวัติเพื่อให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขอย่างแท้จริง กองทหารของคณะกู้บ้านเมืองได้ต่อสู้กับทหารของ รัฐบาลบริเวณดอนเมือง ผลปรากฏว่าทหารของฝ่ายรัฐบาลชนะ พระองค์เจ้าบวรเดชต้องลี้ภัย ไปอยู่ที่ อินโด จีน เหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า “กบฏบวรเดช”
     12 มกราคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปรักษาพระเนตรที่ประเทศอังกฤษ ขณะที่ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษมีเรื่องไม่สบพระราชหฤทัยบางประการ จึงประกาศสละราชสมบัติ เมื่อ
2 มีนาคม 2477 รัฐบาลจึงได้อัญเชิญ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เป็น รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี  

ทำแบบทดสอบคลิกวิชาประวัติศาสตร์ที่นี่ 

ขอขอบคุณ Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
Tel; 089-200-7752 mobile
http://www.sainampeung.ac.th

สรุปเนื้อหาวิชาก้าวทันโลกศึกษา 1 รหัส ส 31221 ครั้งที่ 1

  เพื่อเป็นการสรุปประเด็นอันเป็นสาระสำคัญ สำหรับเนื้อสาระของบทเรียนวิชาก้าวทันโลกศึกษา 1 รหัส ส 31221 หรือ รายวิชาการปกครองของไทยเดิม นั่นเอง  ผู้สอนขอสรุปสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. การปกครองสมัยกรุงสุโขทัย  
    -ระบบการปกครองราชาธิปไตย แบบพิเศษเรียกว่า ระบบพ่อปกครองของ (Paternalism Goverment)
    - ปัจจัยเอื้ออำนวยให้ปกครองระบบนี้ได้ เพราะพลเมืองมีน้อยนั่นเอง
    - สุโขทัยมีกษัตริย์ปกครองรวม 8  พระองค์
    - พ่อขุนรามฯ ประดิษฐ์อักษรไทย  รับพุทธศาสนาหินยานมาประจำอาณาจักรเป็นครั้งแรก
      ประเทศไทยย่างก้าวเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ในสมัยนี้ เพราะมีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก
     - พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท) แต่งเรื่อง
ไตรภูมิพระร่วงหรือเตภูมิกถา และบวชในขณะครองราชย์เป็นพระองค์แรกของไทย
     - ตั้งแต่สมัยนี้เป็นต้นไป กษัตริย์จะได้สมญานามว่า "ธรรมราชา"  มีที่ 1-4





                                   จากhttp://upload.wikimedia.org2. กรุงศรีอยุธยา
     -ปกครองด้วยระบบราชาธิปไตย แบบสมบูรณาญาสิทธิราช ที่มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า
ระบบ"ข้ากับเจ้า"หรือ "บ่าวกับนาย" (Autocratic Government)
     - รับลัทธิเทวราชามาจากอินเดีย (ผ่านทางเขมร) ทำให้ฐานะของกษัตริย์ เปรียบเสมือน
เทพเจ้าโดยสมมติหรือสมมติเทพ  เรียกกษัตริย์ว่า พระเจ้า  มีคำราชาศัพท์เกิดขึ้น มี่ระบบศักดินา  มีระบบมูลนาย เกิดขึ้นในสังคมไทยเป็นครั้งแรก
     - กฎหมายที่ใช้ตลอดสมัยนี้คือ พระราชศาสตร์ กับ พระธรรมศาสตร์ (รับจากอินเดีย)
พระราชศาสตร์ คือพระราชวินิจฉัยของกษัตริย์ของเราพระองค์ก่อน ๆหรือองค์ปัจจุบัน
     - รับหลักการปกครองแบบ "จตุสดมภ์"มาจากขอม
     - สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ทรงตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี คือสมุหนายก ฝ่ายซ้าย
สมุหกลาโหมฝ่ายขวา   ทรงเปลี่ยนชื่อจตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา เป็น นครบาล ธรรมาธิกร
โกษาธิบดีและเกษตราธิการ
     -เสียกรุงฯครั้งแรกสมัยพระมหินทราธิราช  ทำสงครามแพ้แก่กษัตริย์บุเรงนองของพม่า(สาเหตุสำคัญเพราะไทยเราแตกสามัคคี พระมหาจักรพรรดิ กับพระมหาธรรมราชาแตกแยกัน พระมหาธรรมราชาฝักใฝ่ฝ่ายพม่า) พระนเรศวรฯทรงกู้เอกราชกลับคืนมา ซึ่งเราตกเป็นเมืองขึ้นอยู่ 15 ปี
     -เสียกรุงฯครั้งที่ 2 สมัยพระเจ้าเอกทัศน์ เพราะเกิดความไม่ลงรอยกันระหว่าง "ทวิราชา
" คือพระเจ้าเอกทัศน์ กับพระเจ้าอุทุมพร ซึ่งเป็นโอรสของพระเจ้าบรมโกศ ต่างมารดากัน
เอกทัศน์เป็นพี่ อุทุมพรเป็นน้อง แก่งแย่งบัลลังก์กัน อุทุมพรต้องไปบวช จนได้ชื่อว่า "ขุนหลวงหาวัด"
       กษัตริย์ที่ยกทัพมาตีกรุงศรีฯแตกครั้งที่สองคือ พระเจ้ามังระ  และพระเจ้าตากสิน
ได้กู้เอกราชกลับคืนมา  อยุูธยาเป็นเมืองหลวง 417 ปี มีกษัตริย์ 34 องค์  5 ราชวงศ์ ได้แก่
1. ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
3. ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
4. ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 องค์

3. กรุงธนบุรี เป็นราชธานี 15 ปี มีกษัตริย์เพียงพระองค์เดียวได้แก่ พระเจ้าตากสิน
การปกครองในสมัยกรุงธนบุรีนั้น ยืดถือแบบการแบบกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
การ ปกครองส่วนกลาง
กรุงธนบุรีเป็นศูนย์กลาง มีอัครมหาเสนาบดีตำแหน่ง " เจ้าพระยา " จำนวน 2 ท่าน ได้แก่
  • สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งในราชการฝ่ายทหารและพลเรือน ในฐานะเจ้าเสนาบดีกรมมหาดไทย ผู้เป็นจะมียศเป็น "เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์" หรือที่เรียกว่า "ออกญาจักรี"
  • สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร เป็นผู้ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งปวง ยศนั้นก็จะมี "เจ้าพระยามหาเสนา" หรือที่เรียกว่า "ออกญากลาโหม"
ส่วนจตุสดมภ์นั้นยังมีไว้ เหมือนเดิม มีเสนาบดีตำแหน่ง " พระยา " จำนวน 4 ท่าน ได้แก่

การ ปกครองส่วนภูมิภาค

  • หัวเมืองชั้นใน จะมีผู้รั้งเมือง เป็นผู้ปกครอง จะอยู่รอบๆไม่ไกลจากราชธานี
  • เมืองพระยามหานคร จะแบ่งออกได้เป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครอง
การศาลสมัย กรุงศรีอยุธยาตอนต้น
เกี่ยวกับการพิจารณาคดีในสมัยพระจ้าอู่ทองนั้น ได้อยู่ในอำนาจของเสนาบดีจตุสดมภ์ดังนี้
1. เสนาบดีกรมเมือง พิจารณาพิพากษาคดีอุกฉกรรจ์ที่จะทำให้เกิดความไม่สงบขึ้นภายในแผ่นดิน
2. เสนาบดีกรมวัง พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทของราษฎร
3. เสนาบดีกรมคลัง พิจารณาพิพากษาเกี่ยวกับพระราชทรัพย์
4. เสนาบดีกรมนา พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับ ที่นา โคกระบือ เพื่อระงับข้อพิพากของชาวนา

    4. รัตนโกสินทร์ตอนต้น ร.1-ร.4
                                      วัดประจำรัชกาลที่ 1 (วัดโพธิ์ )
    รูปภาพจาก   http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit4/chapter4/chapter4_1/Ram1_7_history.htm
     
    เหตุผล ในการย้ายราชธานี
           1. ราชวังเดิมไม่เหมาะสมในแง่ยุทธศาสตร์ เพราะมีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ยาก แก่การป้องกันรักษา 
           2. ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยามีชัยภูมิดีกว่า เพราะเป็นด้านหัวแหลม มีลำน้ำเป็นพรมแดนกว่าครึ่ง
           3. เขตพระราชวังเดิมขยายไม่ได้ เพราะมีวัดกระหนาบอยู่ทั้งสองข้าง ได้แก่วัดแจ้งและวัดท้ายตลาด เพิ่มเติม วัดอรุณราชวราราม ( วัดแจ้ง ) และ วัดโมฬีโลกยาราม ( วัดท้ายตลาด )
    -วันจักรี 6 เมษายน 2325   เวลาในการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ 2325-2328 รวม 3 ปี
    -รับเลี้ยงดูองค์เชียงสือ (ญวน)และนักองค์เอง(เขมร)ภายหลังกลับไปครองราชย์ทั้ง 2 องค์
    -จัดทำกฎหมายใหม่ เรียกว่า กฎหมายตราสามดวง คือ ตราราชสีห์ ตราประจำตำแหน่ง
    สมุหนายก  ตราคชสีห์ ตราประจำตำแหน่ง สมุหกลาโหม และตราบัวแก้ว ตราประำจำตำแหน่งของโกษาธิบดี กฎหมายนี้ได้ยกเลิกเมื่อมีประมวลกฎหมายเล่มแรกของไทยใน พ.ศ. 2451 สมัยรัชกาลที่ 5

    รูปภาพจาก    http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/units/unit4/chapter4/chapter4_1/Ram1_3_history.htm รายละเอียดเพิ่มเติมด้านกฎหมายและการศาล ไทย
    กฎหมายไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียที่เรียกว่า คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ หรือคัมภีร์ธรรมสัตถัมของอินเดีย ซึ่งไทยได้รับการถ่ายทอดมาจากมอญอีกต่อหนึ่ง ในการตัดสินคดีความนั้นจะมีพราหมณ์ ที่เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง จำนวน 12 คนไปผู้ชี้ตัวบทกฎหมายว่าใครผิดใครถูก จากนั้นจึงส่งเรื่องไปให้ตุลาการบังคับคดี หรือ ลงโทษผู้กระทำผิดตามที่ลูกขุนตัดสิน
    พระธรรมศาสตร์ เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิหน้าที่ของบุคคลทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งเทียบได้กับกฎหมายแม่บทของไทยในปัจจุบันคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์จะตราพระราชกำหนดกฎหมายใด ๆ ต้องคำนึงถึงพระธรรมศาสตร์ จะทรงตรากฎหมายให้ขัดกับพระธรรมศาสตร์ไม่ได้ กฎหมายที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศอีกประเภทหนึ่งคือ พระราชศาสตร์ เป็นพระราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ เป็นบทบัญญัติปลีกย่อย จากพระธรรมศาสตร์ เรียกว่า สาขาคดี
    ในการไต่สวนพิจารณาคดีในสมัยโบราณ เนื่องจากยังขาดความรู้ในเรื่องการสอบสวน จึงนิยมใช้วิธีการแบบจารีตนครบาล โดยการทรมานผู้ต้องหาให้รับสารภาพ เช่น ตอกเล็บ เฆี่ยนตี ลุยเพลิง เสี่ยงเทียน บีบขมับ
    การแก้ไขกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ชำระกฎหมาย อันเนื่องมาจาก อำแดงป้อมฟ้องหย่า นายบุญศรีผู้เป็นสามี มีอาชีพเป็นช่างเหล็กหลวง ซึ่งอำแดงป้อมมีชู้ แต่กลับมาฟ้องหย่าสามี ในสมัยนั้นถ้าภรรยาฟ้องหย่าตามกฎหมายภรรยาจะได้ทรัพย์สินก่อนแต่งงานเป็นของ ตน รัชกาลที่ 1 เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงโปรดให้ชำระกฎหมายใหม่ โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดข้าทูลละอองธุลีพระบาท ประกอบด้วยอาลักษณ์ 4 นาย ฝ่ายลูกขุน 3 นาย ฝ่ายราชบัณฑิต 4 นาย รวม 11 นาย ร่วมกันชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการในแผ่นดิน ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์ลงมา โดยจัดเป็นหมวดหมู่และปรับปรุงให้ยุติธรรมยิ่งขึ้น เมื่อชำระเสร็จ เรียบร้อยแล้ว ได้โปรดให้อาลักษณ์คัดลอกไว้รวม 3 ชุด โดยเก็บรักษาไว้ที่ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง ศาลหลวงชุดหนึ่ง โดยให้ประทับตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และตราบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญทุกเล่ม ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง หรือ ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1


    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีผลงานที่พระราชนิพนธ์
    คำกลอนบทละครเรื่องรามเกียรติ์
    คำกลอนบทละครเรื่องอิเหนา มีทั้งอิเหนาใหญ่ ( ดาหลัง ) และอิเหนาเล็ก ( อิเหนา )
    คำกลอนบทละครเรื่องอุณรุท
    กลอนเพลงยาวนิราศเรื่องรบพม่าที่ท่าดินแดงหรือที่เรียกว่า นิราศท่าดินแดง
    พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม )



    -รัชกาลที่ 2


    เป็นโอรสองค์ที่ 4 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับสมเด็จพระอมรินทรา
    บรมราชินี
    พระราชลัญจกร เป็นรูปครุฑยุดนาค เป็นพระราชสัญลักษณ์ ของพระบรมนามาภิไธยว่า "ฉิม" อันหมายถึงพญาครุฑ ในวรรณคดีไทย ซึ่งอยู่ที่วิมานชื่อ "ฉิมพลี"
     
    ทรงฟื้นฟูพิธีวิสาขบูชา มาจนถึงปััจจุบันนี้
    วัดอรุณราชวราราม ซึ่งถือว่าเป็นวันประจำรัชกาลที่ 2 เดิมชื่อ วัดบางมะกอก

    ด้านกวีและวรรณกรรม
    ในสมัยรัชการที่ 2 นี้จัดว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรม จนกล่าวได้ว่า “ถ้าใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด”
    กวีที่สำคัญ ได้แก่
    1 . รัชการที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์ อิเหนา รามเกียรติ์ บทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ไกรทอง คาวี มณีพิชัย สังข์ทอง
    2 . สุนทรภู่ หรือพระสุนทรโวหาร แต่งเรื่อง พระอภัยมณี ลักษณะวงศ์ สิงหไตรภพ โคบุตร พระไชยสุริยา นอกจากนี้ ยังมีนิราศ เช่น นิราศเมืองแกลง นิราศเมืองสุพรรณ นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา
    นิราศเมืองเพชรบุรี นิราศพระประธม นิราศทั้งหมดล้วนเป็นคำกลอน ยกเว้นนิราศเมืองสุพรรณเป็นโคลงสี่สุภาพ
    3 . พระยาตรัง แต่ง โคลงนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย
    4 . นายนรินทร์ธิเบศร์ (อินทร์) แต่งโคลงนิราศนรินทร์
     

    รัชกาลที่ 3



    รัชกาลที่ 3 มีพระนามเดิมว่า “พระองค์เจ้าทับ” เป็นพระราชโอรสของรัชกาลที่ 2 กับเจ้าจอมมารดาเรียม ( กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย )


    พระราชลัญจกรเป็นรูปปราสาท เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย ว่า "ทับ" อันหมายถึง ที่อยู่ หรือ เรือน

                              วัดราชโอรสาราม ถือว่าเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3
     

    การทำสัญญาทางการค้าของตะวันตก


    -ไทยกับอังกฤษตกลงกันได้จึงทำสัญญาต่อกันนับ เป็นสัญญาโดยสมบูรณ์ฉบับแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีชื่อเรียกว่า “สัญญา เบอร์นี่”
    -ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาได้ มีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2376 โดยประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจ๊คสัน ได้ส่ง เอ็ดมันด์ โรเบอร์ต Edmund Roberts คนไทยเรียก “เอมินราบัด” เป็นทูตเข้ามาทำสัญญาการค้ากับไทย


    ด้านวรรณกรรมพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มิได้สนพระทัยในด้านการประพันธ์มากนัก ในสมัยรัชกาลที่ 2 พระองค์ได้พระราชนิพนธ์ วรรณคดีไว้ ที่สำคัญ ได้แก่ บทละครนอกเรื่องสังข์ศิลป์ชัย เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนช้างตามนางวันทอง โคลงปราบดาภิเษก เมื่อขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ก็ทรงสนับสนุนวรรณคดีที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ส่วนใหญ่เป็นผลงานของ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส  

    รัชกาลที่ 4
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า “เจ้าฟ้ามงกุฎ” เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

    พระราชลัญจกร
    ป็นรูปพระ มหาพิชัยมงกุฎ ในกรอบรูปกลมรี เป็นพระราชสัญลักษณ์์ ของพระบรมนามาภิไธยว่า "มงกุฎ" มีฉัตรตั้งขนาบพระมหาพิชัยมงกุฎทั้งสองข้างมีพานทองสองชั้นวางแว่นสุริยกาล หรือเพชรข้างหนึ่งวางสมุดตำราข้างหนึ่ง พระแว่นสุริยกาลหรือเพชร มาจาก ฉายา เมื่อทรงผนวช ว่า "วชิรญาณ" ส่วนสมุดตำรามาจากการที่ได้ทรง ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญในด้าน อักษรศาสตร์และดาราศาสตร์


    -โปรดให้ ตั้งโรงพิมพ์หลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังนามว่า โรง อักษรพิมพการ เพื่อใช้พิมพ์เอกสารต่าง ๆ ของทางราชการ โดยพิมพ์ออกมาในรูปหนังสือพิมพ์แถลงข่าวของทางราชการ โดยพระราชทานนามว่า “ราชกิจจานุเบกษา
    -มีการ จัดตั้งศาลกงสุลขึ้นเป็นครั้งแรก โดยจัดตั้งขึ้นอันเนื่องมาจากการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตก เมื่อเกิดกรณีพิพาทระหว่างคนไทยกับคนในบังคับของชาวต่างชาติหรือชาวต่างชาติ แล้ว ถ้าเป็นความอาญาและคนในบังคับของชาวต่างชาติหรือชาวต่างชาติเป็นผู้กระทำผิด กงสุลประเทศนั้น ๆ จะเป็นผู้พิจารณาพิพากษาโทษ ตามกฎหมายของเขาเอง ลักษณะอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยไม่มีเอกราชในทางศาลหรือที่เรียกกัน ว่า ไทยเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต


    วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2407 พระราชทานถวายเป็นพระอารามสำหรับพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกาย ซึ่งวัดนี้ เป็นพระอารามประจำ รัชกาล 4 
                                       วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

    สนธิสัญญาเบาว์ริง
    พระราชินีวิคตอเรียของอังกฤษได้ส่ง เซอร์ยอห์น เบาว์ริง Sir John Bowring ซึ่งเป็นผู้ตรวจการค้าของอังกฤษจากฮ่องกง เป็นทูตเข้ามาเจรจาทำการค้ากับไทย

     
    ส่งคณะทูตสยาม ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศส โดยมีพระยาศรีพิพัฒน์ ( แพ บุนนาค ) เป็นราชทูต เจ้าหมื่นไวยวรนาถ เป็นอุปทูต พระณรงค์วิชิตเป็นตรีทูต เชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้านโปเลียนที่ 3 ในปี พ.ศ. 2404 โดยขบวนเรือของกองทัพฝรั่งเศส
            ทำแบบทดสอบสาระประวัติศาสตร์คลิกที่นี่                  http://www.sainampeung.ac.th/chalengsak/work/work.html

                     ขอขอบคุณ Chalengsak Chuaorrawan Sainampeung School
    186 Sukhumwit 22 Sukhumwit RD Khlongtoei Khlongtoei Bangkok Thailand
    e-mail address : chalengsak.ch@hotmail.com
    Tel; 089-200-7752 mobile

    วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

    ครูนักเรียนต้องมีความเข้าใจต่อกัน ทำให้ห้องเรียนมีบรรยากาศสนุกและมีความสุขที่จะเรียน

       บางทีครูมีความตั้งใจที่จะประสิทธิประสาทวิชาความรู้ให้กับบรรดาศิษย์มากจนเกินไป
    ในขณะที่ศิษย์ยังอยู่ในวัยเด็กวัยรุ่น ยังมีความทะเล้นทะลึ่งตึงตัง ทำให้เกิดความขัดแย้ง
    บรรยากาศในห้องเรียนอาจตึงเครียด ด้วยความไม่เข้าใจกันระหว่างครูกับศิษย์ ซึ่งมีอยู่บ่อย ๆ
    ในทุกระดับชั้น และในทุกโรงเรียน ดังนั้นครูก็ต้องทำใจไว้ให้มาก ๆ ศิษย์ของเราจะมีความพร้อม ที่จะรับที่จะเรียนให้เหมือนกันทุก ๆคนนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้
         นักเรียนต้องการให้ครูสอนน้อย ๆ จดบันทึกน้อย ๆ  ในขณะที่ครูต้องการสอนให้จบตาม
    แผนการสอนที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เพราะถ้าสอนไม่ทัน ครูต้องสอนเสริมอีก เป็นภาระในการนัดหมายให้นักเรียนหาเวลาว่างมาเรียนชดเชยหรือเรียนเพิ่มเติมเสริมในส่วนที่สอนไม่ทัน
          ยิ่งปัจจุบันนี้ นักเรียนแทบไม่มีเวลาว่างเลยในแต่ละวัน เวลาในการเข้าสืบค้นในห้องสมุด
    ก็หาเวลาได้ยากยิ่ง แล้วเวลาในการเรียนเสริมจะเอาเวลาไหนมาชดเชย ดังนั้นหนทางแก้ไข
    ก็คือการที่ครูผู้สอนต้องใช้สื่อการสอนที่นักเรียนสามารถ เรียนชดเชยได้ด้วยตนเอง ทุกที่ทุกเวลา นั่นคืออีเลินนิ่งหรืออีบุ๊ค หรือเว็บบล็อคประจำวิชา แต่ก็อีกนั่นแหละครูผู้สอนยังไม่ค่อยมีใครสามารถผลิตสื่อดังกล่าวเหล่านี้ได้ เพราะการสนับสนุนในด้านนี้ของโรงเรียนเราัยังมีน้อยมาก ครูส่วนใหญ่ก็ยังคงใช้วิธีการสอนแบบเดิม ๆ แบบฉายแผ่นใสไร้สีสรรค์ หรือแบบ
    เขียนกระดาน ประกอบการบรรยาย
          จากปัญหาของผู้สอน จึงอยากขอความร่วมมือจากบรรดาศิษย์ทั้งหลาย ว่า
          - ควรตั้งใจเรียน
          - อย่าเข้าห้องสายโดยไม่จำเป็น
          - ทำกิจกรรมในชั้นเรียนตามที่ครูมอบหมายให้เสร็จให้ทันเวลา
          - อย่ากระทำการใด ๆ ที่ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนเกิดความตึงเครียด
    ในด้านครูผู้สอนก็ควรอะลุ่มอะล่วยบ้าง ตามสมควร เพราะนักเรียนของเราเดินเรียน ซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินจากตึกหนึ่งไปอีกตึกหนึ่ง อีกทั้งไม่มีคาบเบรคให้นักเรียนพักเล็ก ๆ เหมือนแต่ก่อน ก็ยิ่งต้องยืดหยุ่นให้นักเรียนบ้าง  ยกเว้นนักเรียนที่เจตนาหนีเรียนหรือไม่สนใจเรียน
    นั่งเรียนคุยตลอด หรือเสียบหูฟังเพลงตลอด หรือเล่นเกมในมือถือ เหล่านี้เป็นต้น ก็ควร
    บันทึกพฤติกรรมลงในสมุดบันทึกรายคาบให้ละเอียดทั้งชื่อเลขที่และพฤติกรรมที่นักเรียน
    กระทำ หรือแจ้งให้หัวหน้าระดับทราบโดยเร็ว ไม่ควรปล่อยไว้ให้นักเรียนทำพฤติกรรมเดิม ๆ
    แบบซ้ำซาก จนก่อให้เกิดความวุ่นวายในห้องเรียน
    การผลิตสื่อด้วยตนเองสำหรับคุณครู

    อึ้งเด็กป.3 อ่านไม่เป็น-เขียนไม่ได้

    Pic_92823
    ที่ประชุม สพฐ. รับทราบรายงาน การประเมินการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พบ นักเรียนชั้น ป.3 หลายหมื่นคน อ่านออกเสียงและเขียนไม่ผ่านเกณฑ์  เร่ง สพท. ทำแผนรณรงค์เสริมทักษะ...

    ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อ ประกันคุณภาพผู้เรียนในระดับชั้น ป.3 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนสังกัด สพฐ. เมื่อเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา โดยประเมิน 3 ด้าน ได้แก่ การอ่านออกเสียง การเขียน และการคิดคำนวณ มีนักเรียนเข้ารับการประเมินทั้งสิ้น 523,469 คน ผลประเมินพบว่า ความสามารถทางการอ่านออกเสียงของนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 37,813 คน คิดเป็นร้อยละ 7.22 ลดลงจากปีการศึกษา 2551 ซึ่งมีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 49,499 คน คิดเป็นร้อยละ 8.82 ปัญหาที่พบมากที่สุดคือ คำที่มีตัวการันต์ ความสามารถทางการเขียน มีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 93,880 คน คิดเป็นร้อยละ 17.74 ซึ่งตัวเลขยังคงที่เท่ากับในปี 51 ที่มีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์99,558 คน คิดเป็นร้อยละ 17.74 ความสามารถทางการคิดคำนวณ มีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 119,374 คน คิดเป็นร้อยละ 22.29 ลดลงจากปี 51 เล็กน้อยจากเดิมที่มีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ 141,929 คน คิดเป็นร้อยละ 25.29

    ข้อมูลจาก http://www.thairath.co.th/content/edu/92823

    การศึกษาไทยล้มเหลว เด็กเครียดเกิน

    Pic_93536
    นักวิจัยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เผยระบบการศึกษา ไทยล้มเหลว เด็กไทยออกจากรร.กลางคันปีละ9แสน-ใช้เวลาใน ห้องเรียนมากที่สุดในโลก ระบุแอดมิสชั่นผลักดันเด็กต้องเรียนกวดวิชาจนกดดันเครียด.....
    เมื่อ วันที่ 3 ก.ค.นายยุทธชัย เฉลิมชัย นักวิจัยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ เปิดเผยผลการศึกษาการใช้เวลาในห้องเรียนของเด็กไทยกับประเทศอื่นๆ ว่า เด็กไทยเป็นชาติที่เด็กถูกบังคับให้เรียนในห้องเรียน โดยใช้ชั่วโมงเรียนในแต่ละวันมากที่สุดในโลก เปรียบเทียบกับเด็กจีนที่มีความเครียดสูงด้วย ประชากรที่เยอะ การแข่งขันจึงมีสูง ก็ยังใช้เวลาเรียนในห้องเรียนในแต่ละวันน้อยกว่าเด็กไทย โดย ปัจจุบันมีเด็กนักเรียนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ต้องออกจากสถานศึกษากลางคันประมาณปีละ 9 แสนคนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ด้วยสาเหตุที่ต่างกัน เช่น ครอบครัวยากจน ไร้สัญชาติ ไม่อยากเรียนหนังสือเพราะเบื่อหน่าย ทนรับสภาพความกดดันจากระบบการเรียนการสอนที่เน้นการแข่งขันกันเป็นเลิศทาง วิชาการไม่ไหว

    นักวิจัยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กนักเรียนในเมืองและชนบทมีความทุกข์จากระบบการศึกษาไม่ต่างกัน คือใช้เวลาเรียนในห้องเรียนมาก แถมต้องเรียนกวดวิชาตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนเกิดความเครียดและเบื่อหน่าย ซึ่งการเปลี่ยนระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย มาเป็นแบบแอดมิสชั่น ส่งผลให้เด็กวิ่งเข้าหาโรงเรียนกวดวิชามากขึ้น รวมถึงนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่เน้นให้เด็กต้องเก่งวิชามาตรฐาน ทำให้ครูต้องสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วย ภาษาอังกฤษ โดยให้ขยายผลให้ได้ 2,500 โรงเรียนในปีการศึกษาหน้า ทั้งที่ยังไม่รู้ว่าครูจะสอนกับผู้เรียน จะรับไหวหรือไม่ อาจจะยิ่งเป็นการเพิ่มความกดดันให้กับเด็กมากกว่าเดิม

    "ผมคิดว่ามี เด็กจำนวน ไม่น้อยอยากลุกขึ้นตะโกนบอกว่า อึดอัด ทุกข์จากความเครียดกับระบบการศึกษามากเพียงใด เปรียบเทียบกับเด็กนักเรียนในจีน ยังมีเวลาว่าง ให้ผ่อนคลายจากการเรียนในแต่ละวัน ดูได้จากตารางเรียนที่เน้นเรียนวิชาการในตอนเช้า และพักกลางวันเวลา 11โมง จากนั้น โรงเรียนจะให้เด็กออกนอกโรงเรียน กลับไปกินข้าวที่บ้าน หรือไปพักผ่อน ถึงบ่าย 2 ค่อยกลับมาเรียนใหม่ และวิชาในช่วงบ่ายจะเป็นวิชาเบาๆ ไม่เครียด เป็นวิชาที่เน้นพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิต ที่พัฒนาคุณภาพของเด็กทางด้านอารมณ์และสังคม"นายยุทธชัย กล่าว

    นาย ยุทธชัย กล่าวด้วยว่า ระบบการศึกษาไทย อาจจะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ โดยลดจำนวนชั่วโมงเรียนในห้องเรียนลง เพิ่มการเรียนการสอนที่เน้นการใช้ทักษะ พัฒนาคุณภาพชีวิตมากขึ้น เป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้เรียน ที่สำคัญต้องยกเลิกการเรียนการสอนด้วยวิธีบังคับควบคุม เพราะจะทำให้เด็กขาดความมั่นใจ ขาดความคิดสร้างสรรค์ และไม่กล้าแสดงออก ทั้งนี้ถึงเวลาแล้วที่การศึกษาไทยจำเป็นต้องปฏิรูปเปลี่ยนแปลง เพื่อหนีออกจากความล้มเหลวในปัจจุบัน ไม่เช่นนั้น ก็อาจจะไม่สามารถเดินหน้าพัฒนาการศึกษาให้ไปสู่เป้าหมายที่เป็นสากลได้.

    ข้อมูลจาก http://www.thairath.co.th/content/edu/93536

    นักเรียนทุกคน ช่วยตอบแบบสอบถามนี้ด้วยค่ะ

    ดูทีวีครูเรียนรู้วิทยายุทธ

    Subscribe Now: Feed Icon