Krukaroon: มิถุนายน 2012

!!!การุณย์ สุวรรณรักษา สังคมศึกษาฯ วรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา!!

วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พฤติกรรม 11 อย่างที่ทำให้ผู้บริหารล้มเหลว

เรียบเรียงจากหนังสือขายดี “เก่งได้...ก็ล้มได้ Why CEOs Fail” ที่แปลจากหนังสือภาษาอังกฤษชื่อ “Why CEOs Fail: The 11 Behaviors that can derail your climb to the top - and how to manage them” อีกที

ความ สำเร็จขององค์กรส่วนสำคัญส่วนหนึ่งมาจากผู้บริหารหรือ CEO ขององค์กรนั้นๆ แต่ด้วยลักษณะหรือพฤติกรรมบางประการของผู้บริหารซึ่งอาจจะรู้ตัวหรือไม่ก็ ตาม ที่ทำให้เกิดอาการสะดุด หรือนำพาให้องค์กรต้องก้าวช้าลง หรือถึงกับถอยหลัง มาดูกันว่าพฤติกรรมเหล่านั้นของผู้บริหารมีอะไรกันบ้าง มีผลเสียต่อองค์กร และจะแก้ไขได้อย่างไร

1.ผู้บริหารผู้เย่อหยิ่ง
"คุณเท่านั้นที่เป็นฝ่ายถูก คนอื่นผิดหมด"


ลักษณะ ของผู้บริหารประเภทนี้จะมีความมั่นใจตนเองมากไป เหยียดหยามความคิดคนอื่น เชื่อมั่นในความคิดตนเองโดยไม่ลืมหูลืมตา ทำให้มองความจริงผิดพลาด
ผลเสียที่จะเกิดขึ้น
  • บั่น ทอนศักยภาพการเรียนรู้ ไม่รับสิ่งใหม่ๆ แต่พยายามปรับเปลี่ยนข้อมูลให้สอดคล้องกับความคิดของตนเอง ดังนั้นจึงไม่เกิดการเรียนรู้สิ่งใดๆทั้งสิ้น
  • ปฏิเสธความรับผิดชอบ โทษผู้อื่น สิ่งแวดล้อม ไม่เห็นความผิดพลาดของตนเอง 
  • เกิดการต่อต้านความเปลี่ยนแปลงที่อยู่นอกความคิดเห็นของตน 
  • มองไม่เห็นข้อจำกัดของตนเอง อาจไปตัดสินใจในเรื่องที่ไม่ชำนาญ สร้างปัญหาให้องค์กร

การแก้ไข: วิเคราะห์ตัวเอง โดยหาคนไว้ใจได้เป็นผู้บอก และเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส


2.ผู้บริหารเจ้าบทบาท
"คุณมักจะทำตัวเป็นจุดสนใจเสมอ"


ผู้ บริหารประเภทนี้จะมีการแสดงออกทางอารมณ์หรือการกระทำที่มากกว่าปกติ เท่ากับเป็นการลดบทบาทผู้อื่น ทำให้ประเด็นสำคัญถูกเบี่ยงเบนและเสียศักยภาพในการมองเห็นความจริงที่เกิด ขึ้น ชอบแสดงมากกว่าทำ และเมื่อแสดงบ่อยเข้า ผู้คนก็จะไม่ให้ความเชื่อถือ
ผลเสียที่จะเกิดขึ้น
  • ขาด จุดสนใจที่ชัดเจนในการทำงาน ลูกน้องต้องเสียเวลาคอยปะติดปะต่อเรื่องราวทีไม่สอดคล้องกันที่ซีอีโอพูด หากเข้าใจไม่ตรงกันการทำงานก็จะไปคนละทิศทาง 
  • การพัฒนาคนในองค์กรล้มเหลว เนื่องจากลูกน้องขาดแรงจูงใจที่จะแสดงออกในที่ประชุม เพราะผู้นำแย่งบทบาทไปหมด 
  • เกิดทีมงานเจ้าบทบาทมากมายในองค์กร งานไม่เดินเนื่องจากทุกคนพยายามเอาชนะกันด้วยคำพูดและการแสดง 
  • สร้างความหวังสูงเกินจริงแล้วพังทลายในที่สุด เพราะมีแต่การสร้างภาพฝันที่ปฏิบัติจริงไม่ได้
การ แก้ไข: ควรระวังให้มีการแสดงออกอย่างฉลาด และถูกกาลเทศะ พยามยามรับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจและหาเวลาทบทวน ค้นหาสถานการณ์ที่ทำให้เกิดพฤติกรรม"เจ้าบทบาท" อาจอัดวิดีโอเทปขณะทำงานไว้ดู

3.ผู้บริหารเจ้าอารมณ์
"อารมณ์คุณนั้นเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและเอาแน่อะไรไม่ได้"


ผู้ บริหารประเภทนี้ไม่สามารถสร้างสมดุลทางอารมณ์ในเรื่องหนึ่งๆ ได้ ทำให้เกิดความล้มเหลวขึ้น ตัวอย่างเช่น โครงการหนึ่งวันหนึ่งอาจเห็นแต่ข้อดี แต่พอมาอีกวันเอามานั่งวิตกกังวล ในการประชุมลูกน้องพยายามเลี่ยงประเด็นอ่อนไหวที่จะจุดระเบิด แม้เรื่องนั้นเป็นประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณาก็ตาม
ผลเสียที่จะเกิดขึ้น
  • ผู้คนมักลังเลที่จะติดต่อด้วย เป็นเหตุให้ไม่ได้รับข้อมูลที่ควรได้รับ ทำให้ตัดสินใจผิดพลาด
  • ลูกน้องมัวแต่หาวิธีรับมือกับอารมณ์ของคุณ เสียพลังงานและไม่ได้สื่อสารกันอย่างเปิดเผย
  • ผู้คนห่างเหินออกไปทุกที
การ แก้ไข: ต้องหาคนเตือนที่ไว้ใจได้คอยให้สัญญาณเตือนเมื่อเกิดอารมณ์ ควรเรียนรู้ที่จะถอยหลังหรือก้าวไปข้างหน้า พยายามนึกทบทวนเพื่อสงบอารมณ์ จงถามตนเองว่า "เกิดอะไรขึ้น? อะไรที่ไม่เกิดขึ้น? ฉันควรสร้างให้มีการตอบสนองอย่างไร?" ถอยห่างจากการตอบโต้ และหยุดคิดว่า สิ่งที่อยากทำจริงๆ คืออะไร และสอดคล้องกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหรือไม่

4.ผู้บริหารผู้รอบคอบจนเกินเหตุ
"การตัดสินใจที่กำลังจะมาถึง อาจเป็นการตัดสินใจครั้งแรกของคุณ"


ลักษณะ ของผู้บริหารประเภทนี้จะกลัวความผิดพลาด ผัดวันประกันพรุ่งในการตัดสินใจ ทำให้ปัญหาลุกลามและพลาดโอกาสสำคัญ แต่ผู้บริหารประเภทนี้มีจุดแข็งที่รู้จักวิเคราะห์สถานการณ์ แต่ก็มีจุดอ่อนคือระมัดระวังมากเกินไป จนตัดสินใจไม่ได้หรือช้าไม่ทันกาล มัวแต่รอข้อมูล หรือมีข้อมูลมากเกินไป "ผู้ที่มัวลังเลย่อมเป็นผู้แพ้" ควรนำสัญชาตญาณและประสบการณ์มาใช้
ผลเสียที่จะเกิดขึ้น
  • ไม่ดำเนินการหรือตัดสินใจในเรื่องที่มีความเสี่ยง ไม่เต็มใจที่จะไล่ใครออก มีแต่ลูกน้องด้อยประสิทธิภาพ
  • ถอยหนีแทนที่จะก้าวไปข้างหน้า 
  • ชอบสร้างภาพลวงตาในการทำงานด้วยการเลือกทำแต่สิ่งเล็กน้อยที่ไม่มีความเสี่ยง 
  • ชอบจัดฉากวางแผนบนกระดาษ ไม่มีการดำเนินการจริง 
  • ขาดความคิดเห็นที่มั่นคงชัดเจน หรือไม่ยอมตกอยู่ในสถานการณ์โต้แย้ง ทำให้ขาดวิสัยทัศน์เรื่องทิศทางและการก้าวไปข้างหน้าขององค์กร
วิธีแก้ไข: พยายามจัดลำดับงานก่อนหลัง กำหนดวันที่ต้องตัดสินใจ และเตือนตนเองให้ทำตาม คิดว่า "ถึงเป็นการตัดสินใจที่แย่ แต่ดีกว่าไม่ตัดสินใจเลย" ลองทำสิ่งที่แปลกออกไป เพื่อให้คุ้นเคยกับการพยายามทำสิ่งใหม่ๆ ให้ตระหนักว่า ไม่มีอะไรที่เลวร้ายเกิดขึ้น ในการพยายามที่จะทำสิ่งใหม่ ยึดติดในความระมัดระวังน้อยลง มองเน้นไปที่ความสำเร็จในอดีต ลบภาพความกลัวความล้มเหลวจนเกินเหตุ คิดเสียว่าสถานการณ์ที่ยอมเสี่ยงมักคุ้มค่าเสมอ เผชิญหน้ากับสิ่งที่คุณกลัวมากที่สุดด้วยการพูดถึงกรณีที่เลวร้ายที่สุดที่ จะเกิดขึ้นกับการตัดสินใจเสี่ยงครั้งนั้น ให้คุณตระหนักว่า จะประสบความสำเร็จต้องมีความกล้าและมุ่งมั่นเพื่อเปลี่ยนแปลง ก้าวไปไวกว่านี้ และตัดสินใจเร็วกว่านี้ ไม่ควรติดอยู่ในภาพคนดี จนขัดขวางการตัดสินใจของเรา

5.ผู้บริหารผู้ไม่ไว้ใจใคร
"คุณมองแต่แง่ลบเท่านั้น"


การ ตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ของผู้บริหารประเภทนี้เป็นไปอย่างมีอคติ ไม่ตรงกับความเป็นจริง ความไม่วางใจกันจะค่อยๆ แพร่ระบาดไปทั่วทั้งองค์กร ทุกคนหวาดระแวงกันและกัน มัวแต่ระวังหลังของตนมากกว่าทำงานข้างหน้า เสียเวลาและพลังงานในการจับผิดเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ การเลือกผู้ใกล้ชิดมักจะเลือกคนที่ไว้ใจได้มากกว่ามีประสิทธิภาพ และคนที่เลือกมามักมีประสบการณ์คล้ายคลึงกัน ทำให้องค์กรขาดความคิดที่หลากหลาย "ยิ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงเท่าไรก็ยิ่งต้องวางใจผู้อื่นมากขึ้นเท่านั้น" ถ้ามีนโยบายตรวจสอบหรือบทลงโทษรุนแรงเกินความผิดมากไป จะเป็นการสร้างศัตรู แต่จุดแข็งของผู้บริหารประเภทนี้ คือความเป็นเหตุเป็นผล การคิดอย่างเป็นระบบ ความชำนาญในการวิเคราะห์ข้อมูล และการยอมรับข้อโต้แย้งได้ดี
ผลเสียที่จะเกิดขึ้น
  • คุณมีความระแวงเกี่ยวกับแรงจูงใจของผู้อื่นเสมอทำให้ผู้คนตีตนออกห่าง 
  • ลูก น้องต่อต้านคุณอย่างแรง กลัวที่จะรับผิดชอบอะไรก็ตามจนกว่าเจ้านายจะเห็นด้วย ต้องใช้พลังหมดไปกับการคาดการณ์ปฏิกิริยาตอบสนองของเจ้านาย มีลักษณะปกป้องตนเองมาก
  • คุณยากที่จะเป็นพันธมิตรกับหน่วยงานภายนอกหรือองค์กรอื่น เช่น เป็นพันธมิตรกับบริษัทคู่แข่ง
วิธี แก้ไข: วิเคราะห์สาเหตุเบื้องหลังความไม่ไว้วางใจ เพื่อให้ระวางหรือทุเลาลง พยายามปรับสัมพันธภาพของคุณ ฝึกตอบสนองต่อผู้อื่นในทางบวก คิดถึงผลที่เกิดจากความระแวง ตระหนักว่าความไม่ใจใครบ่อนทำลายอาชีพคุณ ควรวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ด้วยความมีเหตุมีผล จะช่วยลดความระแวง และรู้จักจัดการกับความระแวงสงสัย

6.ผู้บริหารผู้ตัดขาดจากโลก
"คุณไม่ยุ่งเกี่ยวกับใครและคัดขาดจากผู้อื่น"


ผู้ บริหารประเภทนี้มีลักษณะขี้อาย หลีกหนีสังคม ไว้ใจคนใกล้ชิดกลุ่มเล็กๆ มีปัญหาการสื่อสารกับผู้อื่น มักมีความสามารถในการวิเคราะห์มากกว่าความสามารถเรื่องคน ไม่ชอบยุ่งเกี่ยวการเมืองในองค์กร แต่ปัญหาคือ มักจะถอยหนีในขณะที่เกิดวิกฤตลูกน้องต้องการคำปรึกษาและกำลังใจ ตัดขาดจากความสัมพันธ์ทางอารมณ์กับผู้อื่น ทำให้ขาดแหล่งข้อมูลที่เป็นแหล่งความคิดใหม่ๆ หรือกระแสความจริงสำคัญๆ ชอบทำตนไม่ให้คนอื่นเห็น เข้าออกที่ทำงานในเวลาต่างจากคนอื่น เพื่อจะได้ไม่เจอผู้คน
ผลเสียที่จะเกิดขึ้น
  • ยามเกิดวิกฤตจะหาเหตุออกนอกที่ทำงานในเพื่อเลี่ยงคำถาม 
  • เพิกเฉยต่อความขัดแย้ง โดยหวังให้คลี่คลายไปเอง ทำให้เสียทรัพยากรบุคคล สร้างวัฒนธรรมความเป็นศัตรูในองค์กร
  • ขาด ความจงรักภักดีในบริษัท แรงปรารถนาถูกสะกัดกั้น ขาดแรงจูงใจในการทำงาน พนักงานหยุดทุ่มเทให้บริษัท ไม่มีกำลังใจทำงาน เนื่องจากไม่มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้บริหาร
  • สื่อสารผิดพลาดหรือตั้งสมมติฐานผิดๆ คนทำงานต้องต้องคาดเดาความต้องการของเจ้านาย ไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องที่จำเป็น
วิธี แก้ไข: เปิดใจให้กว้างขึ้น สร้างสัมพันธภาพใหม่ๆ วิเคราะห์ระดับความห่างเหินของคุณทั้งระดับส่วนตัวและระดับองค์กร สร้างเครือข่ายของคุณ รวบรวมผู้เชี่ยวชาญ ซักซ้อมสิ่งที่ต้องการจะสื่อสารกับผู้อื่นให้ตรงกับความต้องการของผู้รับแต่ ละคน ใส่ใจผลกระทบที่เกิดและไม่เกิดจากตัวคุณ เปิดเผยความต้องการให้ผู้อื่นทราบอย่างชัดเจน ข้อควรระวังคือ วัฒนธรรมความห่างเหิน

7.ผู้บริหารผู้ชอบออกนอกกฎ
"คุณรู้ดีว่ากฎมีไว้เพื่อแนะนำเท่านั้น"

ผู้ บริหารประเภทนี้มีความคิดสร้างสรรค์ และมุมมองที่ต่างจากคนอื่น แต่มีข้อเสียคือ หุนหันพลันแล่น โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบจากการกระทำของตน ชอบทดสอบขอบเขตอำนาจของตน ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ท้าทายมาตรฐานเดิมๆ กระทำการโดยไม่ยั้งคิดและวางแผนให้รอบคอบ ละเลยสิ่งที่เป็นธุรกิจหลักขององค์กร เบื่อง่าย ไม่ชอบรายละเอียดของงาน เป็นนักปฏิบัติที่ไม่เอาไหน ขาดความอดทน ความสนใจสั้น
ผลเสียที่จะเกิดขึ้น
  • ผู้ คนเริ่มไม่แน่ใจเกี่ยวกับสัญญาและโครงการที่เริ่มไว้ เพราะมักมีการเปลี่ยนจากโครงการหนึ่ง หรือนโยบายหนึ่ง ไปยังอีกโครงการหรืออีกนโยบาย ทั้งที่โครงการที่แล้วเพิ่งเริ่มหรือเพิ่งเปลี่ยนนโยบาย ทิ้งให้โครงการเก่าดำเนินการอย่างไร้ทิศทาง ไม่ต่อเนื่อง
  • การ เห็นเรื่องทุกอย่างเป็นสิ่งท้าทายไปหมดทำให้คนอื่นสติแตกและสับสนจากการ เปลี่ยนไปสู่นโยบายหรือโครงการใหม่ๆ ทั้งๆ ที่เพิ่งริเริ่มโครงการใหม่ หรือประกาศนโยบายไปไม่นาน
  • มัก ทำตามความพอใจตนเอง กล้าได้กล้าเสีย คาดหวังให้คนอื่นเข้าใจและทำตามความคิดตน แทนการชักจูงให้เชื่อถือ ผู้ไม่เห็นด้วยถูกเพิกเฉยต่อความขัดแย้งหรือการถูกกล่าวหา มีปฏิกิริยาทางลบโดยไม่สมควรต่อผู้อื่น ลูกน้องมักตีจาก
  • มัก ตกหลุมพรางความผิดพลาดของตนเสมอ เนื่องจากผู้บริหารใช้ทักษะการปฎิเสธ การกลบเกลื่อน และฝีปากชักจูงผู้อื่นว่าไม่ใช่ความผิดของตน หรือเบี่ยงเบนประเด็น ทำให้ปัญหาไม่ถูกจัดการอย่างจริงจัง ถูกละเลย และไม่ได้รับการแก้ไข
วิธี แก้ไข: พยายามรับผิดชอบสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ กำหนดว่ากฎเกณฑ์ใดมีความสำคัญที่ต้องทำตามนั้น ลองเป็นผู้รับผลกระทบจากการออกนอกกฎ เพื่อให้คิดถึงผู้อื่นที่ได้รับผลจากการกระทำของตน มอบความวางใจให้ที่ปรึกษา คำนึงว่า “การ จัดการกับการชอบทำตัวออกนอกกฎนั้นหมายถึง การรู้ว่าเมื่อใดควรทำตามธรรมชาติ และสามารถออกนอกกฎได้กับการรู้ว่าเมื่อใดไม่สามารถทำได้”
8.ผู้บริหารผู้ชอบทำตัวไม่เหมือนใคร
"คุณรู้สึกสนุกที่จะทำอะไรไม่เหมือนคนอื่น"

ผู้ บริหารประเภทนี้มักก้าวหน้าในสภาพแวดล้อมที่สร้างสรรค์ เน้นการใช้ความคิด มีการเปลี่ยนแปลงที่ยืดหยุ่น มีจุดแข็งคือศักยภาพในการคิด เสนอแนวทางแก้ปัญหา ฉลาดเฉียบแหลม มีมุมมองทางธุรกิจที่ต่างออกไป เห็นลู่ทางและโอกาสใหม่ๆ ที่ไม่มีใครมองเห็น แต่จุดด้อยคือไม่จัดลำดับความสำคัญของงาน ไม่สามารถนำความคิดดีๆ มาปฏิบัติจนลุล่วงหรือขาดทักษะการผลักดันงานอย่างเป็นระบบ ชอบคิดมากกว่าทำ ขาดความอดทน เปลี่ยนใจบ่อย มีพฤติกรรมประหลาดแหวกแนวที่ถูกคนอื่นมองเป็นสิ่งกวนประสาทในยามวิกฤต แปลกแยกแบบไร้การควบคุมบางครั้งถึงขั้นเพี้ยน รวมทั้งมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะไม่ควรกับผู้ร่วมงาน
ผลเสียที่จะเกิดขึ้น
  • ไม่ สามารถจัดลำดับความสำคัญของงานและกำหนดแนวทาง ทิศทางกลยุทธ์ของธุรกิจที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้ร่วมงานทุ่มเทไปยังงานนั้น ไม่ใช่ทำทุกอย่าง
  • ชอบทำงานคนเดียว ความแปลกแยกทำให้ไม่มีคนกล้าเข้าใกล้ ชอบความเป็นส่วนตัว จมกับความคิดตนเอง
  • ผู้คนมักไม่จริงใจกับผู้บริหารประเภทนี้ เพราะมักถูกมองว่าไม่จริงจัง เอาแน่นอนอะไรไม่ได้
วิธี แก้ไข: ต้องกำหนดและจำกัดสิ่งสำคัญที่สุดที่จะนำไปปฏิบัติ กำหนด 'ต้นทุน' ที่ยอมจ่ายในการเปลี่ยนแปลงตัวคุณให้เหมือนคนอื่นเพื่อบรรลุเป้าหมายได้มาก น้อยแค่ไหน พยายามหาคนแวดล้อมตัวคุณที่เป็นนักปฏิบัติ ซึ่งสามารถนำความคิดคุณไปปฏิบัติให้เกิดผลจริง ตระหนักถึงช่องว่างระหว่างความตั้งใจกับผลกระทบที่เกิดขึ้น ลองบันทึกหรือคุยกับคนที่ไว้ใจได้ว่ามุมมองของคุณกับลูกน้องในเรื่องเดียว กันแตกต่างกันอย่างไร ให้คิดเสมอว่า”ไม่ต้องการให้ผู้อื่นสับสนว่าต้องทำ อะไรบ้าง ไม่ต้องการให้ผู้อื่นคิดว่าตนไม่จริงจังในการบริหารองค์กร และไม่ต้องการจุดประกายความคิดมากมาย โดยไม่ได้เห็นความคิดใดเลยถูกนำไปขยายผลจนสำเร็จ”

9.ผู้บริหารผู้ต่อต้านความเงียบ
"ความเงียบของคุณมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการเห็นด้วย"

ผู้ บริหารประเภทนี้มีความแตกต่างกันระหว่างคำพูดกับการกระทำ มี 2 บุคลิกในตัว คือบุคลิกส่วนตัวและบุคลิกที่ปรากฏภายนอกที่ไม่สอดคล้องกัน เช่น บอกลูกน้องว่าบริษัทกำลังเติบโต ขณะเดียวกันกลับสั่งลดค่าใช้จ่าย ปลดคนงาน หรือแสดงท่าทีเห็นด้วยกับโครงการที่เสนอในที่ประชุม แต่กลับระงับการสนับสนุนต่างๆ ของโครงการ ไม่ยอมเปิดเผยสถานะแท้จริงออกมาให้ผู้อื่นทราบ มักมีความเชื่ออย่างเหนียวแน่น พยายามหาข้ออ้าง หลีกเลี่ยงข้อขัดแย้ง
ผลเสียที่จะเกิดขึ้น
  • มีแต่ลูกน้องที่สับสนและไม่พอใจคุณ ไม่มั่นใจ อารมณ์เสียบ่อยๆ (โกรธ) เนื่องจากผู้บริหารไม่ทำตามที่พูดไว้ ไม่ตรงไปตรงมา
  • ลูกน้องคุณมักแสดงอาการเยาะเย้ยถากถางมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่เชื่อคำพูดหรือลดความน่าเชื่อถือต่อซีอีโอ 
  • มีความแตกแยกระหว่างพันธมิตร ทีมงาน และความเป็นหุ้นส่วน
  • คุณสัญญาเพียงลมปาก พยายามเอาใจผู้อื่น และไม่แสดงเจตนาที่แท้จริงให้ใครเห็น ทำให้ลูกน้องผิดหวังทั้งระยะสั้นและระยะยาว
วิธี แก้ไข: ควรตระหนักถึงช่องว่างระหว่างความคิดกับการกระทำของตัวคุณเอง พยายามคิดว่าสิ่งที่แสดงออกตรงกับความรู้สึก ความต้องการที่แท้จริงหรือไม่ ลองเปรียบตัวเองเป็นคนที่คุณทำงานด้วย จัดการกับสิ่งที่เป็นข้อขัดแย้ง เปิดเผยข้อโต้แย้งในใจ ดูแบบอย่างผู้บริหารอื่นที่ประสบความสำเร็จ

10.ผู้บริหารจอมสมบูรณ์แบบ
"คุณจัดการเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เสียจนไม่มีที่ติ แต่กลับพลาดในเรื่องใหญ่ๆ"

ลักษณะ ผุ้บริหารประเภทนี้ มีความจู้จี้ผิดปกติ หมกมุ่นกับรายละเอียดเล็กๆ ที่ไร้สาระ จนละเลยภาพใหญ่ เป้าหมายแท้จริง กลัวความไม่เรียบร้อย วุ่นวาย สถานการณ์ที่ไม่ได้เป็นไปด้วยดี ทางเลือกที่ไม่ชัดเจน
ผลเสียที่จะเกิดขึ้น
  • มีความยากลำบากในการแบ่งงาน ไม่เชื่อว่าคนอื่นจะทำได้ดีเท่า
  • เน้นที่รูปแบบมากกว่าการใช้งาน ความสวยงามมากกว่าสาระ
  • เริ่มขาดความสนใจเรื่องคน และเริ่มมองข้ามสิ่งสำคัญที่มองเห็นได้ชัดเจน ไปมุ่งที่รายละเอียด ทำให้พลาดเรื่องแนวโน้มของธุรกิจ
  • ติดในวงจรความเครียดที่เลวร้าย เนื่องจากพยายามทำให้ทุกสิ่งสมบูรณ์ ซึ่งเป็นไปไม่ได้
วิธี แก้ไข: ลองตรวจสอบต้นทุนที่เกิดจากการตรวจสอบรายละเอียดของคุณ เช่น ความเครียด โอกาสที่เสียไปเนื่องจากมัวแต่วุ่นวายแก้ไขรายละเอียด หรือตรวจสอบงานผู้อื่น การระมัดระวังสิ่งเล็กน้อยให้สมบูรณ์ คิดถึงผลผลิตจากลูกน้องที่ลดลง เนื่องจาความเชื่อว่าคุณทำได้ถูกต้องกว่าจึงไม่ยอมแบ่งงานให้ หรือคุณลงลึกกับรายละเอียดของงานจนเกินจำเป็นไม่มีใครตอบได้ จัดลำดับความสำคัญของงาน เรียนรู้ที่จะอยู่กับความไม่สมบูรณ์แบบสำหรับโครงการที่ไม่สำคัญนัก และลดมาตรฐานสำหรับผู้อื่นลงบ้าง

11.ผู้บริหารนักเอาอกเอาใจ
"คุณต้องการชนะใจคนทั้งโลก"

ผู้ บริหารประเภทนี้มักหาคะแนนนิยม ด้วยการพยายามคาดคะเนและทำสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องต้องการ หลีกเลี่ยงความขัดแย้งและข้อโต้แย้ง เข้าใจเรื่องการเมืองในองค์กรอย่างดี แต่ถูกมองว่าเป็นผู้นำที่อ่อนแอเพราะยอมทำตามผู้ที่ข่มขู่ ไม่มีจุดยืนและหลักการ โดยปกติกลุ่มลูกน้องของผู้บริหารมักมีความเป็นตัวเองสูง เชื่อมั่นในตนเอง ชิงดีชิงเด่น มักสร้างความขัดแย้ง ทำให้คุณเกิดความเครียด ที่จะขจัดความขัดแย้งนั้น คุณกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้ทุกคนพอใจที่สุด ไม่ใช่เพื่อให้ได้ผลผลิตมากที่สุด
ผลเสียที่จะเกิดขึ้น
  • สูญ เสียแรงสนับสนุนและความจงรักภักดีจากผู้อื่น เนื่องจากไปสัญญากับลูกน้อง แล้วสัญญานั้นมีความขัดแย้งกันเอง จึงไม่สามารถทำตามทุกสัญญาที่รับปากไว้กับทุกคนได้ ไม่เต็มใจที่จะยืนหยัดเพื่อลูกน้อง
  • ขาด ไฟหรือความคิดสร้างสรรค์ในบรรยากาศการทำงาน เพราทุกคนถูกทำให้สงบ ไม่แสดงความรู้สึกขัดแย้งทางความคิดซึ่งช่วยจุดประกายประเด็นใหม่ๆ
  • ปฏิเสธการเผชิญปัญหายุ่งยากในเรื่องคน เช่นการตัดสินปัญหาความขัดแย้งระหว่าลูกน้อง หรืการคัดเลือกลูกน้องรับตำแหน่งสำคัญ
วิธี แก้ไข: ระบุถึงสิ่งที่คุณเชื่อมั่นและหมั่นนึกถึงบ่อยๆ เมื่อต้องตัดสินใจเรื่องคน เลือกที่จะอยู่ในความขัดแย้งบ้าง ปกป้องผู้ที่สมควรจะได้รับการป้องกัน การเป็นที่เคารพของผู้อื่น ย่อมดีกว่าการเป็นที่ชื่นชอบของผู้อื่น


บทส่งท้าย


เพราะเหตุใดซีอีโอจึงประสบความสำเร็จ ผู้บริหารบางท่านอาจมีมากกว่า 1 พฤติกรรมบ่อนทำลาย สิ่งที่ควรทำคือ
  1. พยายามค้นหาความเครียดแบบใดบ้าง ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมบ่อนทำลาย 
  2. แนวทางปรับพฤติกรรม ต้องใช้ทั้งทรัพยากรภายในและภายนอก 
  3. ต่อสู้กับความล้มเหลว การวิเคราะห์เชิงลบ ทบทวนความล้มเหลวที่ผ่านมาของตนเอง 
  4. ประเมินจากลูกน้อง 
  5. หาเพื่อนคู่คิดที่เข้าใจถึงงานของคุณ และสามารถให้ข้อคิดเห็นอย่างไม่มีอคติ  
         ข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/taoja1/2008/05/10/entry-3 

ศิษย์เก่า-ปัจจุบัน 500 ไล่ ผอ.อุดรพิทย์

อีเมล พิมพ์ PDF

ห้ามไม่อยู่ศึกภายใน รร.อุดรพิทย์ เมื่อนักเรียนมอปลายจับมือศิษย์เก่า ยกขบวนขับไล่ ผอ.พ้นจากโรงเรียน หลังครูเข้าชื่อร้องเรียนแล้วเงียบ  แม้จะมีคำสั่งย้ายแล้วก็ตาม เจ้าตัวตัดพ้ออำนาจเก่ารังแก 

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 27 มกราคม ที่บริเวณศาลาพิธีทุ่งศรีเมือง จ.อุดรธานี นักเรียนมัธยมปลาย จาก รร.อุดรพิทยานุกูล (โรงเรียนประจำจังหวัดอุดรธานี)  พร้อมศิษย์เก่ากว่า 500 คน นำโดยนายสิทธิชัย อึ้งพรหมบัณฑิต ประธานชมรมศิษย์เก่ารุ่นที่ 14 เดินทางมาร่วมชุมนุมเพื่อยื่นหนังสือถึง นายแก่นเพชร ช่วงรังษี ผวจ.อุดรธานี ผ่านนายนพวัชร สิงห์ศักดา รอง ผวจ.อุดรธานี เรียกร้องให้โยกย้ายนายวันชัย วิเศษโพธิศรี ผอ.รร.อุดรพิทยานุกูล โดยกล่าวหาว่า บริหารงานไม่โปร่งใสพฤติกรรมไม่เหมาะสม ทำให้องค์กรเสียหาย โดยมี นร. ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปราศรัย ผ่านเครื่องขยายเสียง สลับกับการร้องเพลงมาร์ทโรงเรียน


จากนั้นผู้ชุมนุมทั้งหมดได้เดินถือ ป้าย ประท้วงจากสนามทุ่งศรีเมือง ไปตามถนนอธิบดี หน้าศาลากลาง เลี้ยวซ้ายไปถนนมุขมนตรี เลี้ยวซ้ายไปถนนศรีสุข โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาอำนวยความสะดวก ก่อนเลี้ยวขวาเข้าประตู รร.อุดรพิทยานุกูล โดยมีนักเรียน ลูกจ้าง ของโรงเรียนจำนวนมาก ออกมาปรบมือให้การต้อนรับ และร้องเพลงมาร์ทปลุกใจ แกนนำได้ประกาศชักชวนนักเรียนทั้งหมด ให้ไปชุมชุมที่หน้าอาคาร 1 เพื่อแสดงพลัง แกนนำซึ่งเป็นนักเรียนปัจจุบัน ได้กล่าวโจมตีการทำงานของนายวันชัย พร้อมกับเรียกร้องให้ออกไป

ต่อ มานายคำจันทร์ รัตนอุปการ รอง ผอ.สนง.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 (สพม.เขต 20)ได้เดินทางมารับหนังสือร้องเรียน และกล่าวกับผู้ชุมนุมว่า นายปราโมทย์ ภูมิพันธ์ ผอ.สพม.เขต 20 ได้มีคำสั่งให้นายวันชัย วิเศษโพธิศรี ผอ.โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล ไปปฏิบัติหน้าที่ที่ สนง.สพม.เขต 20 ตั้งแต่เมื่อวานนี้ คือวันที่ 26 มกราคมเป็นต้นไป และได้สั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริง โดยมีตนเป็นประธานกรรมการ และนายสุรพล อินทรประเสริฐ รอง ผอ.สพม.เขต 20 และนิติกร สพม.เขต 20 เป็นกรรมการ จึงทำให้นักเรียนที่ร่วมชุมนุมโห่ร้องด้วยความดีใจ และแยกย้ายกันเข้าห้องเรียน

นายสิทธิชัย เปิดเผยว่า ในฐานะศิษย์เก่าได้ประสานงาน กับศิษย์รุ่นต่างๆจัดกิจกรรมกับคณะครู และศิษย์ปัจจุบันเป็นประจำ ได้เห็นความก้าวหน้าของโรงเรียน และเห็นความรักสามัคคีของบุคลากรในโรงเรียนเสมอมา แต่เมื่อนายวันชัยฯมาเป็นผู้บริหาร มีเหตุการณ์ไม่ถูกต้องเหมาะสม การบริหารส่อว่าไม่โปร่งใส เกิดความขัดแย้งในองค์กร ทำให้มีคณะครูทำหนังสือร้องเรียน ไปยังผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น และหน่วยงานอิสระทุกหน่วยงาน พร้อมหลักฐาน แต่เวลาล่วงไปนานกว่า 4 เดือน ผู้บังคับบัญชาอาจจะมีส่วนได้เสีย การสอบสวนจึงไม่คืบหน้า จึงเกิดการเคลื่อนไหวครั้งนี้  

“ การร้องเรียนเบื้องต้นมี 9 เรื่อง คือ ตั้งรองผู้อำนวยการขึ้นจากครูผู้สอน ขาดความรู้ ประสบการณ์ ขัดต่อกฎหมาย , จัดซื้อจัดจ้างราคาแพงส่อการผูกขาด-ไม่โปร่งใส , การปรับปรุงโรงซ่อมงานขัดต่อระเบียบ , การก่อสร้างอาคารในร่ม (โดม) 16.6 ล้าน ทำลายภูมิทัศน์ของโรงเรียน โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะครู และกรรมการสมาคมฯ , ทำให้ต้องเปลี่ยนกรรมการสมาคมฯใหม่ ที่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับเพื่อเอื้อประโยชน์ในการก่อสร้าง , การรับย้ายนักเรียนกลางเทอม 243 คน , การประมวลผลการเรียนเกิดข้อสงสัย , การพิจารณาความดีความชอบครู , การบริหารงานแบบไม่มีส่วนร่วม และใช้วาจาทำให้เกิดความแตกแยก หวาดระแวงซึ่งกันและกัน “
นายวันชัย ผอ.โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า ตนเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ผ่านโรงเรียนขนาดใหญ่มาหลายโรงเรียน โครงการต่างๆ ทำเพื่อนักเรียน แต่ผู้เสียผลประโยชน์มองว่าเป็นการตามใจเด็กนักเรียน ส่วนการที่มีศิษย์เก่าและนักเรียน ออกไปชุมนุมประท้วงขับไล่ตนนั้น เพราะตนไปขัดผลประโยชน์ของกลุ่มอำนาจเก่า ซึ่งมีผลประโยชน์อยู่ 4 กลุ่ม คือ 1 กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง , 2 กลุ่มขายวัสดุ อุปกรณ์ การเรียนการสอน , 3. กลุ่มแรงงานในโรงเรียน และ 4.กลุ่มครูสอนพิเศษ 

ส่วนการก่อสร้าง ศูนย์กีฬาในร่ม หรือโดม มีการออกแบบประมูลราคาตามกฎหมาย สมาคมผู้ปกครองและครูเป็นผู้ว่าจ้าง ส่วนตนเป็นผู้อนุญาตให้ใช้สถานที่ เพื่อเด็กจะได้มีที่เข้าแถว เล่นกีฬา ส่วนจอแอลซีดี ตนมีนโยบายติวเข้ม ม.4,5,6 เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยฟรี ม.6 จะเข้าหอประชุม ส่วน ม.4,5 จะติดในห้องเรียน ทั้งหมด 1.6 ล้าน เป็นเงินบริจาคทั้งสิ้น  ส่วนโรงฝึกงาน ในฐานะครูเก่า โรงฝึกงานสร้างมานานกว่า 35 ปี น้ำท่วมอาคารจนทรุดโทรม จึงต้องการปรับปรุงให้ดีขึ้น การปรับปรุงอาคารมีผู้บริจาคในการปรับปรุงทั้งหมด 2.7 ล้านบาท โรงเรียนซื้อดินและเหล็กเส้นเท่านั้น



ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า นายวันชัยฯ ได้รับการแต่งตั้งมาเป็น ผอ.รร.อุดรพิทยานุกูล เมื่อเดือนมกราคม 2554 หลังจากที่โรงเรียนว่าง ผอ.มานานหลายเดือน หรือมารับตำแหน่งได้เพียง 1 ปีเท่านั้น โดยเข้ามาเปลี่ยนทั้งงานบริหาร และงานวิชาการ ทำให้เกิดความไม่พอใจจากสายวิชาการ ซึ่งถือเป็นหัวใจของโรงเรียน เพราะถือเป็นโรงเรียนที่มีนักเรียนต่อมหาวิทยาลัยปิดมากที่สุดในภาคอีสาน จนเกิดกรณี “การสร้างโดม” จึงเริ่มมีการร้องเรียนขึ้น ล่าสุดเมื่อวานมีการต่อรองว่า เมื่อมีการยายนายวันชัยฯไปแล้ว ขอให้ระงับการเดินขบวน แต่กลุ่มครูผู้ร้องเรียนยืนยันระงับไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้อยู่เบื้องหลัง


ข้อมูลจาก  http://www.udon-today.com/home/index.php/all-news/allnews/215---500--
"ไม่มีองค์การเยี่ยม             แต่ผู้บริหารแย่
   และไม่มีองค์การแย่             แต่ผู้บริหารเยี่ยม"

วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เลียนาย ขายเพื่อน เฉือดเฉือนพี่


แม้เลียนาย อย่าขายเพื่อน  เฉือดเฉือนพี่ 
อย่าต่อยตี ฆ่าน้อง ๆ จนหมองหมาง 
หวังข้ามชั้น สองขั้นหมาย ที่ปลายทาง 
ทำทุกอย่าง เพื่อตัวตน คนจัญไร 
ใครมีเพื่อน เช่นที่ว่า อย่าเชื่อถ้อย 
คนใจถ่อย อาจเข่นฆ่า อย่าเผลอไผล 
ชื่อไม่เอ่ย ก็รู้หนา ว่าเป็นใคร 
แสนช้ำใจ หลงคบค้า อ้ายสารเลว

   20 มิย 55 

เต็มแหม็ดฉาดแล่วพวกนี่ ไม่โร่มาจากไหน มาผุดที่นี่จังหูแหม็ด   น่าเวทนาเหลือเกิน 
ไอหยา ละก๊ะ  อิชาด แก้พันพรือดีนิโบ้เรา ที่เหลืออยู่น้อยนิด  ที่ถือคติ "พูดไปสองไพเบี้ย
นิ่งเสียตำลึงทอง" โบ้นี่ก้าจังหูแหม็ดเหมือนกัน  ฮาโรย เวรกรรมพ่อเจ้าพระคุณเห้ย

เราอยู่นี่ตั้งแต่ 2529 นุ๊ ไม่หอนพบเลยนิ อิชาด เจ็บแบ๊ดหัวแหม็ดพี่น้องเหอ

วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ครูรุณย์เชิญชวนเพื่อนครูวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา สมัครเข้ารับการอบรม
หลักสูตรการผลิตสื่อการสอน 2 หลักสูตร โดยใช้หลักสูตรละ 1 วัน
โดยจะจัดอบรมกันในวันเสาร์ รับหลักสูตรละไม่เกิน 20 คน
ผู้เข้าอบรมต้องนำ notebook และสายไฟสำหรับต่อพ่วงมาเอง
จะจัดอบรมกันที่ห้อง 422 อาคารเรียน 4 โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา

หลักสูตรการผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์
    -สร้างบล็อกประจำวิชา สำหรับบรรจุเอกสารความรู้ต่าง ๆ ตลอดถึงรูปภาพ วีดิโอ ฯ
    -สร้างแบบทดสอบออนไลน์ สำหรับให้นักเรียนเข้าทำเป็นการทบทวน
    -สร้างแบบทดสอบสำหรับการบันทึกคะแนน และเก็บข้อมูลนักเรียนที่เข้าสอบ
หลักสูตรการผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยโปรแกรม Lecture Maker 
    -มีหลักการทำงานเหมือน powerpoint แต่สามารถสร้างแบบทดสอบได้อย่างง่ายดาย
    -สามารถแทรกไฟล์ข้อมูลที่สร้างด้วย powerpoint เข้ามาในบทเรียนได้
    -แทรกไฟล์ภาพ  วีดิโอ  เสียง  บันทึกเสียงได้ด้วยตนเอง
    -save ไฟล์ที่สร้างสำเร็จแล้วในหลายรูปแบบ โดยเฉพาะสามารถ save ไฟล์ลงไดร์ฟ หรือแผ่นซีดี
      นักเรียนนำแผ่นซีดีหรือไฟล์ exe ไปศึกษาที่บ้านได้
ท่านใดสนใจเชิญกรอกใบสมัครสั้น ๆ ด้านล่างและคลิกปุ่ม submit

โครงการอบรมการผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ Download คลิกที่นี่


โครงการอบรมการผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยโปรแกรม LectureMaker Download คลิกที่นี่

                 เชิญกรอกใบสมัครด้านล่างด้วยครับ

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พิกุลโรยร่วง

          พิกุลอีกดอกหนึ่งร่วงโรย นางสาวศุกล  ชายะพันธ์  นักเรียน ม. 4/13  ปีการศึกษา 2553  ปัจจุบัน
เพื่อน ๆ คือ ม.6/13 หลัง  ป่วยตอนขึ้น ม.5  ต้องหยุดเรียนไป 1  ปี เพื่อรักษาตัว และเสียชีวิตลงด้วยโรค
มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลัน  ชาวกรมท่าขาวทุกคน ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของศุกล  ชายะพันธ์ด้วยครับ ขอให้เธอจงไปสู่สุคตินะครับ
         เจ้าภาพตั้งศพสวดพระอภิธรรมที่บ้านสะบ้าย้อย  ยังไม่ทราบวันฌาปนกิจครับ

                            ภาพถ่ายกับเพื่อน ๆ ตอนที่กำลังเรียนอยู่ชั้น ม.  4

   
                                           พฤษภกาสร            อีกกุญชรอันปลดปลง
                                           โททนต์เสน่งคง      สำคัญหมายในกายมี
                                           นรชาติวางวาย        มลายสิ้นทั้งอินทรีย์
                                           สถิตทั่วแต่ชั่วดี        ประดับไว้ในโลกา


วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

อบรมการสร้างบล็อก

เนื่องจากยังมีนักเรียนอีกจำนวนหนึ่งที่มีความต้องการ จะเข้ารับการอบรมหลักสูตรการสร้างบล็อกเพื่อการเรียนการสอน
สำหรับนักเรียนชั้น ม.4 ได้ทำการแจ้งความประสงค์เข้ามาจึงเปิดอบรมเป็นรุ่นที่ 2 ในวันเสาร์ที่ 16  มิถุนายน 2555
ณ ห้อง 411  โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ได้บันทึกข้อความขออนุญาตหัวหน้าสถานศึกษา และมอบใบขออนุญาต
ผู้ปกครองให้กับนักเรียนจำนวนดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

                                                                          รายชื่อผู้เข้าอบรมรุ่นที่ 2
      ที่                ชื่อ-สกุล        ห้อง                     หมายเหตุ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
นายเติมศักดิ์  หอดอก
นายพีรธัช   โอเดนเบอร์เกอร์
นส.ทิพย์นรี  หมัดเหน๊ะ
นส.ชฎาพร  เฑียรฆโรจน์
นส.อรณิชา  ทองบุญยัง
นส.สุทธิพร  หนูวุ่น
นส.ศิริรักษ์  สว่างพงศ์
นส.ยนี  เปาะมะ
นส.ณัฐนันท์  อินทรอาภรณ์
นายธนพล  วงศ์เอี่ยม
นายชินกฤต  แก้วสวัสดิ์
นายไวยเทพ  แก้วทอง
นายภาณุภัทร  โภชนุกูล
นายกิตติพศ  ลูกจันทร์
นายสุกฤษฎ์  ดวงแข
นส.ณัฐกมล  สุรชิต
นส.ชญาณภัทร  เทพฉิม
นส.กนกพร  ทองคง
นส.นวรัตน์  ชมเมือง
นส.ปพิชญา  จารุวรรณโน
นส.ธนวรรณ  ดิศรพงศ์
นส.สโรชา  พลับจีน
นส.ปัทวรรณ  กิ้มแก้ว
นายไมเคิล  เจอร์ราร์ด
นส.กนกพร  ทองคง
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/14
ม.4/11
ม.4/11
ม.4/11
ม.4/14
ม.4/14

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

พิกุลร่วงโรยลา

     ผู้อำนวยการสุดี  ปุญญะ  อดีตผู้อำนวยการ โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ปี 2535-2536 ได้ถึงแก่กรรม เจ้าภาพได้ตั้งศพ สวดพระอภิธรรม ณ วัดแหลมทราย อ.เมือง จ.สงขลา  ฌาปนกิจศพ วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน  2555 เวลา 15.00 น.
    แจ้งข่าวให้ชาวกรมท่าขาวศิษย์เก่าและคณาจารย์ ได้ทราบโดยทั่วกัน

                                                                  ครูรุณย์แจ้งข่าวเพื่อทราบโดยทั่วกันนะครับ

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แจกแท็บเลตพีซี ...เครื่องมือปฏิรูปการเรียนรู้ของเด็ก หรือ เป็นความสิ้นเปลือง และการหาประโยชน์ของพรรคเพื่อไทย?




เทคโนโลยีด้านแท็บเลตพีซี(Tablet PC) ยังถือว่าเพิ่งแค่เริ่มต้นเท่านั้น รูปแบบการใช้งานของแท็บเลตพีซียังถูกใช้ เพื่อ “ทดแทนการใช้งานพีซี” เป็นหลัก เช่น การท่องเว็บ อ่านอีเมล โซเชียลเน็ตเวิร์ค ดูหนังออนไลน์ ฯลฯ   และมีข้อมูลระบุว่า เรายังไม่เห็นการนำแท็บเลตพีซีมาใช้เปลี่ยนกระบวนการทำงานแบบเดิมๆ (ที่ถูกเซ็ตโดยพีซีธรรมดา)ไปมากเท่าไรนัก  ในด้านตลาดผู้บริโภค ก็เพิ่งจะเริ่มเห็นแท็บเลตพีซีถูกใช้งานเพราะรูปแบบที่แปลกใหม่ โดยเฉพาะเกมและความบันเทิงที่ใช้วิธีการสั่งงานด้วยการสัมผัสผ่านหน้าจอได้ง่ายกว่า (ซึ่งเป็นจุดต่างสำคัญของแท็บเลตพีซีกับคอมพิวเตอร์พีซี) และในภาคธุรกิจแล้วนั้น ก็ยังไม่เห็นการใช้งานนอกเหนือจากการอ่านอีเมล อ่านเอกสาร และอ่านเว็บ  
จึงถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังต้องอาศัยการออกแบบเพื่อให้ใช้งานอย่างเกิดประโยชน์และการยอมรับจากผู้บริโภค  แม้เราจะเห็นว่ามีประโยชน์ต่อการสื่อสารและรูปแบบการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ จนทำให้พรรคเพื่อไทยนำมาชูเป็นนโยบายหนึ่งในการหาเสียงก็ตาม
ตามนโยบายด้านการศึกษาที่พรรคเพื่อไทยได้เคยหาเสียงเอาไว้นั้น  ในปีการศึกษาหน้า(๒๕๕๕) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ( ป.๑)ทุกคนจะได้รับแจกแท็บเลตพีซี (ซึ่งมีหน้าตาคล้ายๆ กับเครื่อง iPad) จำนวนราวๆ ๘ แสนคนทั่วประเทศ ใช้จำนวนเครื่องเท่ากับจำนวนเด็ก(ที่พรรคเพื่อไทยใช้คำว่า "One Tablet per Child")   โดยโครงการนี้จะใช้เงินงบประมาณประเทศราวๆ ๕,๐๐๐ ล้านบาท
แต่เมื่อจะมีการนำมาสู่การปฏิบัติจริงในเร็วๆ นี้ ก็เกิดการกังวลใจถึงความคุ้มค่าหรือประสิทธิภาพ ประสิทธิผลจากการใช้เครื่องแท็บเลตพีซี ทั้งในภาพรวมและภาพย่อยที่จะเกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศ

 ทางพรรคเพื่อไทยเคยระบุถึงแท็บเลตพีซีว่า จะเป็นเหมือนกับ “อีบุ๊ก”(E-Book)ที่มาพร้อมกับโปรแกรมการเรียนการสอน หรือ คอร์สแวร์(Courseware) สามารถใช้กับเครือข่ายไร้สายไว-ไฟ(ฟรี)  การลงทุนแจกแท็บเลตให้กับเด็กครั้งนี้ หากคิดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยจะตกอยู่ที่   ๑.๘๒ บาทต่อคนต่อวัน   แล้วก็ระบุว่า ถือเป็นการลงทุนในการพัฒนาบุคลากรที่คุ้มค่าเป็นการเพิ่มศักยภาพคน เพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน ปี ๒๕๕๘ 
โดยอาจจะมีการสั่งเครื่องแท็บเลตพีซีเหล่านี้มาจากประเทศจีนหรืออินเดียนำเข้ามาประกอบในเมืองไทยก่อนที่จะได้แจกจ่ายไปยังเด็กนักเรียนชั้น ป.๑ ทั่วประเทศ โดยราคาเครื่องที่จะสั่งมาจากอินเดียนั้นอยู่ที่ประมาณ ๑,๕๐๐ บาท แต่หากเครื่องที่นำเข้ามาจากประเทศจีนจะอยู่ที่ ๓ - ๔,๐๐๐ บาท (พรรคเพื่อไทยตั้งงบประมาณไว้เครื่องละไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท)  แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า เครื่องไม้เครื่องมือที่นำเข้าจากบางประเทศนั้นมีคุณภาพต่ำ มีความคงทนน้อย เพราะสินค้าที่ผลิตจากประเทศเหล่านั้นต่างก็เน้นการใช้ต้นทุนต่ำในการผลิต และเมื่อนำไปใช้กับเด็กๆ ที่ยังไม่สามารถดูแลรักษาเครื่องไม่เครื่องมือที่มีราคาแพงด้วยแล้ว ก็น่าจะเกิดปัญหาได้ง่าย   
ปัญหา มากมายกำลังจะตามมาทุกขั้นตอน เช่น โปรแกรมที่จะใส่ลงไปในเครื่องนั้น การเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งการสอนให้เด้กใช้งาน การเปิดปิดเครื่อง การเก็บรักษาเครื่อง การเตรียมความพร้อมของเด็กก่อนการใช้งาน ทำให้มีการใช้งานที่ไม่คุ้มค่า และครูน่าจะมี “ข้อห้าม”อีกมากมาย โดยเฉพาะการอนุญาตให้เด็กนำกลับไปใช้ทำการบ้าน เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนของลูกหลาน    แม้จะมีบริษัทเอกชนหลายแห่งเตรียมตัวเข้ามาเสนอบริการแบบ “โททัลโซลูชัน” (Total Solution) ด้วยการให้บริการครบวงจรทั้งด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์การเรียนการสอน(เนื้อหา) ซอฟต์แวร์การจัดการการเรียนการสอน การควบคุม การกระจายสื่อ   รวมถึงการบริการดูแลบำรุงรักษาเครื่องก็ตาม
แต่ดูเหมือนจะมีความกังวลใจกันมากขึ้นต่อไปอีก เมื่อต้องพิจารณาถึงประเด็นประสิทธิภาพ หรือความคุ้มค่า คุ้มทุน(Cost Effectiveness)   เพราะมิใช่เพียงแค่เด็กในเมืองเท่านั้นที่จะได้รับการแจกแท็บเลตพีซีเหล่านี้ เด็กๆ ในชนบทที่ห่างไกลก็ยังจะได้รับการแจกจ่ายเช่นเดียวกัน  ทุกๆ โรงเรียนต่างก็อยากได้เครื่องแท็บเลตพีซีมาให้นักเรียนและครูใช้ในการเรียนการสอน และเพราะว่าเป็นหน้าตาให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาอีกประการหนึ่งด้วย

 เมื่อจะทำโครงการใดๆ ที่เกี่ยวกับการลงทุนทางการศึกษา ก็ควรจะต้องมีการประเมินประสิทธิภาพของการลงทุนนั้นให้ครอบคลุมทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านปริมาณ (Quantity) ๒) คุณภาพ (Quality) ๓) เวลา (Times) และ ๔)ค่าใช้จ่าย(Expenses)จึงจะถือว่า ถูกต้อง เหมาะสม
  โครงการแจกแท็บเลตพีซีก็ควรจะต้องถูกประเมินประสิทธิภาพอย่างรอบด้านเช่นเดียวกัน จึงจะแสดงให้เห็นได้ว่าเป็นโครงการที่เหมาะสมแก่เด็กๆ ของเรา   ได้แก่ 
            ๑) ปริมาณหรือจำนวนเครื่องแท็บเลตพีซี ประเมินความครอบคลุมของเครื่องฯ ที่แจกจ่ายลงไปให้แก่เด็กๆ อย่างทั่วถึง ครอบคลุมเด็กนักเรียนตามที่พรรคเพื่อไทยเคยหาเสียงไว้ 
            ๒) คุณภาพของเครื่องแท็บเลตพีซี ซึ่งต้องพิจารณากันถึงคุณภาพทางด้านกายภาพของเครื่อง(ฮาร์ดแวร์) และซอฟท์แวร์(โปรแกรมที่ใส่ไว้ในเครื่องฯ) ผลลัพธ์จากเนื้อหาการเรียนการสอน และความคาดหวังว่าสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาในระดับ ป.๑ หรือไม่อย่างไร
 ๓) จำนวนเวลาของการใช้งาน ต้องมีการเก็บข้อมูลว่า เด็กมีจำนวนชั่วโมงการใช้งานมากน้อยแค่ไหน ใช้เวลาเหล่านั้นไปทำอะไรกับมันบ้าง และ 
๔) ค่าใช้จ่ายทางตรง ที่สามารถคิดเป็นตัวเงินได้ เช่น งบประมาณในการจัดซื้อ เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทนของผู้ที่เกี่ยวข้อง ค่าเพิ่มหรือถอดโปรแกรม ค่าซ่อมบำรุงรักษา  และระบบศูนย์รวมของการบำรุงรักษาในแต่ละพื้นที่  และค่าใช้จ่ายทางอ้อม(ได้แก่ ต้นทุนในการเสียโอกาส)
นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงการได้รับการยอมรับจากสังคมร่วมด้วย เช่น ความคาดหวังและความคิดเห็นที่ประชาชนที่มีต่อโครงการนี้ โดยเฉพาะพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็ก ซึ่งเกี่ยวข้องทั้งที่เป็นผู้ใกล้ชิดตัวเด็กและมีส่วนเป็นเจ้าของเงินภาษีนั้นด้วย
หรืออีกวิธีหนึ่ง โดยวิธีวัด “ผลิตภาพ”(Productivity)ก็ได้ โดย “ผลิตภาพ เท่ากับ ผลลัพธ์(Output + Outcome) หารด้วยปัจจัยนำเข้า(Input)”  ถ้าหาก “ผลลัพธ์”น้อยกว่าปัจจัยนำเข้าก็ถือว่า ขาดทุน หรือ ไม่คุ้มค่า  หรือถ้าเกิดผลลัพธ์สูง เด็กนักเรียนได้ประโยชน์มาก จนเกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอนอย่างมากมายขึ้นในสังคมไทย เด็กๆ มีความฉลาดมากขึ้น ไม่เพียงแค่ผู้กุมนโยบายจะได้ลงมือใช้เงินจัดซื้อ และเด็กๆ ได้รู้จักและสัมผัสเครื่องมือสุดยอดไฮเทคที่สุดเท่านั้น  
ผลิตภาพจึงหมายถึง ความคุ้มกับไม่คุ้มเท่านั้น



(ภาพ เด็กในประเทศจีนกำลังใช้แท็บเลตพีซีในการเรียน)

ด้วยวิธีการประเมินอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๒ วิธีการนี้ของกระทรวงศึกษาธิการจึงจะเป็นตัวบ่งบอกได้ว่า การแจกแท็บเลตพีซีมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดความคุ้มทุน หรือไม่เกิดความสูญเสียงบประมาณ สิ้นเปลืองทรัพยากรประเทศชาติที่ทุ่มลงไป
หากพรรคเพื่อไทยทำได้ดีในนโยบายนี้  ก็อาจหมายความได้ว่า เงินงบประมาณเพียง ๕,๐๐๐ ล้านบาทนั้นมันได้ส่งผลให้ระบบการศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงมากกว่าการปฏิรูปการศึกษาทีใช้ความพยายามมาอย่างยาวนานก็เป็นได้  ควรจะได้มีการขยายผลไปในระดับชั้นต่างๆ

(ภาพหน้าตาแท็บเลตพีซีของบริษัท Bharat Electronics ผู้ผลิตจากอินเดีย ราคา ๒,๑๐๐ บาท)

 เมื่อพิจารณาอีกด้านหนึ่ง การแจกแท็บเลตพีซีน่าจะเป็นปัญหาที่น่าหนักใจอยู่ไม่น้อย  เพราะยังไม่มีใครในพรรคเพื่อไทยการันตีได้ว่า จะเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลแค่ไหน  ได้แต่พูดไปเรื่อยเพราะไม่เคยมีตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม มีแต่นามธรรมและความคาดหวัง
 นโยบายนี้ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการแจกจ่ายแท็บเลตพีซีเป็นเด็กนักเรียนชั้น ป.๑  จึงมีคำถามว่า เมื่อให้นักเรียนชั้น ป.๑ ได้ใช้เรียนหนังสือแล้วจะเกิดผลอะไรขึ้นบ้าง?
แน่ นอนว่า เครื่องแท็บเลตพีซีนั้นหากนำเอาไปใช้กับคนรุ่นไหนก็ย่อมเกิดมีการเปลี่ยน แปลงแก่คนในรุ่นนั้น เพราะคนเหล่านั้นก็จะได้ใช้เครื่องมือการเรียนรู้ที่สามารถเข้าถึงแหล่ง ข้อมูลที่มีทั้งสาระและบันเทิงอยู่ในตัวครบครันอย่างง่ายดายในรูปแบบที่ทัน สมัย
 ในโจทย์เดียวกันนี้ หากเราปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายกันเสียใหม่ ด้วยการนำเอาเครื่องแท็บเล็ตพีซีมาใช้กับเด็กนักเรียนอีกกลุ่มหนึ่ง ลองเปลี่ยนระดับของสติปัญญาของเด็ก ก็ย่อมได้รับผลลัพธ์แตกต่างกันออกไปอย่างไม่ต้องสงสัย เช่น  หากนำเครื่องแท็บเลตพีซีเครื่องเดียวกันนี้ไปให้เด็กนักเรียนในช่วงชั้นที่ ๒ (ชั้น ป. ๔ )ได้ใช้เรียน ย่อมได้รับผลลัพธ์ที่ "ต่างออกไปในทางบวก" ซึ่งหมายความว่า น่าจะได้ผลดีกว่าเด็กชั้น ป.๑  เพราะอย่างน้อยๆ เด็กก็มีความพร้อมในการเรียนรู้มากกว่า ใช้งานได้เป็นผลมากกว่า
เช่น เดียวกัน หากรัฐบาลลงทุนในจำนวนเครื่องต่อหัวเท่าๆ กัน แล้วนำไปให้เด็กนักเรียนในช่วงชั้นที่ ๓ (ม.๑ )ก็ย่อมได้รับผลลัพธ์ดีกว่าการใช้งานกับเด็ก ป.๔ และ ป.๑ อย่างแน่นอน หรือถ้าหากเรานำเครื่องแท็บเล็ตพีซีไปให้เด็กนักเรียนช่วงชั้นที่ ๔ (ม.๔) ได้เกิดการเรียนรู้และค้นหาวิทยาการความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความงดงามที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ของวัฒนธรรมไทย ก็ย่อมเกิดภูมิปัญญาได้มากมายแก่เด็กนักเรียนเหล่านั้น "มากกว่า ๓ กลุ่มแรกนั้นเสียอีก"
ทำไมพรรคเพื่อไทยจึงไม่ทำเช่นนั้น...?



ใน เรื่องนี้จึงไม่มีอะไรสะท้อนมากเกินไปกว่า ความต้องการเอาชนะในการเลือกตั้งมากกว่าการใช้เหตุผลในการคิดหาวิธีการเพิ่ม สติปัญญาให้แก่เด็กนักเรียน การใช้คำโฆษณาซึ่งมีลักษณะเกินตัว(เช่นเดียวกับการใช้คำว่า "๓๐ บาทรักษาทุกโรค") แล้วยังสะท้อนลึกไปถึงนิสัยของคนไทยที่ต้องการ “การได้หน้า”กันเสียมากกว่า และก็เชื่อเหลือเกินว่า เมื่อนโยบายแจกแท็บเลตพีซีออกมาใช้เป็นการจริงจังแล้ว ปัญหาจะเกิดขึ้นตามมาอย่างมากมาย แล้วคนที่ทำนโยบายนี้มาใช้ก็ต้อง “รักษาหน้า”ตัวเอง 
เกรงก็แต่ว่าจะมีการแก้ผ้าเอาหน้ารอดกันอีก เหมือนหลายๆ โครงการที่แล้วๆ มา
เรากำลังพูดถึงเรื่อง  "คุณค่าทางเศรษฐกิจของการศึกษา"   ซึ่งหมายถึง การที่ประเทศมีเศรษฐกิจดี อันเนื่องจากประชาชนมีการศึกษาที่ดี  ถึงแม้ว่าจะมีการลงทุนในมนุษย์คิดเป็นรายหัวสูงแล้วก็ตาม  แต่ก็ได้ส่งผลให้ประชาชนเป็นพลเมืองดี มีทักษะที่ดีในการทำงาน ได้แรงงานที่มีคุณภาพ มีสินค้าบริการที่เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจสืบเนื่องต่อๆ กันไป ประชาชนได้รับการบริการที่สะดวกสบาย มีประสิทธิภาพ จนกระทั่งมีคุณภาพชีวิตที่ดี เกิดการผลิตเองในประเทศมากกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ จนกระทั่งประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง เราจึงจะเชื่อได้ว่า นโยบายนี้มี “คุณค่าทางเศรษฐกิจของการศึกษา”
  เพื่อให้เรื่องแท็บเลตพีซี จะไม่ใช่เพียงเพื่อเอาเงินภาษีของเรา ไปซื้อ “ของเล่น”แจกให้แก่เด็กๆ  เป็น “เครื่องทดลองให้แก่คนออกนโยบาย” และเป็นช่อทางใน   “การหาประโยชน์จากการจัดซื้อเครื่องแท็บเลตพีซีของนักการเมือง”


ข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=740203 

นักเรียนทุกคน ช่วยตอบแบบสอบถามนี้ด้วยค่ะ

ดูทีวีครูเรียนรู้วิทยายุทธ

Subscribe Now: Feed Icon